ม.อ. ร่วมจับมือการไฟฟ้านครหลวง ลงนาม Smart University วันนี้ (12 มี.ค.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ณ ห้องประชุมดงยาง 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด และเป็นผู้ลงนามในฝั่งมหาวิทยาลัย และนายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง เป็นผู้ลงนามในฝั่งการไฟฟ้านครหลวง
โดยทั้ง 2 หน่วยงานจะร่วมกันสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา ด้านการวิจัย การใช้ประโยชน์ด้านข้อมูลการใช้พลังงาน ความต้องการด้านการบริการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้งานในการพัฒนาระบบการบริการด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เพื่อรองรับการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University)
ซึ่งทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และการไฟฟ้านครหลวง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร การแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดความรู้ความสามารถในการพัฒนางานด้านการวิจัย ด้านเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นการพัฒนา และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่
ทั้งนี้ในพื้นที่ภาคใต้มีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยหลัก มีรากฐานในงานด้านวิศวกรรมมาเป็นเวลานาน มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเป็นจำนวนมาก เหมาะสมที่จะนำความรู้ ความสามารถของบุคลากรมาทำการวิจัย เพื่อช่วยเหลือ และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค และประเทศต่อไป
HATYAITODAYNEWS
ภาพ: การไฟฟ้านครหลวง
อ้างอิง: mgronline.com
Fri Mar 13 , 2020
รมว.สุวิทย์ เตรียมสั่งมหาลัยช่วยลดค่าเทอมนักศึกษา จากพิษโควิด-19 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ขยายวงกว้างทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม อว.เล็งเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบุคลากร นิสิต นักศึกษา ประชาชน และผู้ประกอบการในสถานศึกษา ดังนั้นจึงได้ออกประกาศกระทรวงขอความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด อว.ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากพิษเศรษฐกิจในช่วงนี้ ดร.สุวิทย์กล่าวต่อว่า 1.ให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาลดค่าเช่าพื้นที่แก่ผู้ประกอบการรายย่อยลง ระยะเวลา 6 เดือน 2.ให้สถาบันอุดมศึกษาลดค่าธรรมเนียมต่างๆที่เรียกเก็บจากนักศึกษาในภาคการศึกษาที่จะถึงนี้ เป็นกรณีพิเศษ 3.ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาปรับลดค่าตอบแทน ค่าเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายอื่นๆในการบริหารลง เพื่อนำงบฯ ดังกล่าวไปเพิ่มการจ้างงานนักศึกษา และบุคคลทั่วไปในกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นระยะเวลา 6 เดือน 4.ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ช่วงภาวะวิกฤติ 5.ให้อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค รวมทั้งเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย และเมืองนวัตกรรมอาหาร พิจารณาปรับลดค่าบริการต่างๆที่เรียกเก็บจากเอสเอ็มอี สตาร์ตอัพและประชาชนทั่วไปเป็นกรณีพิเศษ และ 6.ให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา พิจารณากำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมตามความเหมาะสมต่อไป ด้านนายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวว่า สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพเกี่ยวกับบริษัทเดินเรือ หรือเป็นพนักงานสายการบินที่เดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าเด็กกลุ่มนี้อาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่นั้น […]