ผู้ว่าฯยะลา ออกมาตรการกำชับการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฎอน

ผู้ว่าฯยะลา ออกมาตรการกำชับการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฏอน

ผู้ว่าฯยะลา ออกมาตรการกำชับการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฎอน

     มาตรการคุมเข้มคัดกรองโควิด-19ช่วงถือศีลอด งดกิจกรรมที่มัสยิดตามกรอบและระเบียบที่ทางสำนักจุฬาราชมนตรีได้กำหนดไว้ ซึ่งผู้ว่าฯ จ.ยะลา ออกคำสั่งจังหวัด มาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

    เมื่อวานนี้(22/04/63) ศาลากลางจังหวัดยะลา นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดยะลา ออกคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 จังหวัดยะลา ที่ 49/2563 เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ว่า ด้วยการให้จำหน่ายอาหารในเดือนรอมฎอน จำนวน 6 ข้อ คือ

1.ให้ผู้ขายสามารถจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มได้เฉพาะหน้าร้านของตัวเอง
2.ห้ามใช้บาทวิถีจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มในลักษณะหาบเร่ แผงลอยโดยเด็ดขาด
3.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดสถานที่จำหน่าย จัดระเบียบให้ผู้ขายอาหารหรือเครื่องดื่ม โดยให้แต่ละผู้ขายเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และจัดการลงทะเบียนผู้ขาย
4.สามารถจำหน่ายได้เฉพาะอาหารสำเร็จรูป หรือเครื่องดื่มเท่านั้น (ห้ามขายสินค้าประเภทอื่นๆ)
5.สำหรับสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้จำหน่ายได้ตั้งแต่เวลา 14.00-20.00 น.
6.ขอความร่วมมือแต่ละครอบครัวในการออกไปซื้ออาหารไม่เกินครอบครัวละ 2 คน และห้ามมิให้นำบุตรหลานที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ออกไปซื้อหาอาหาร

  หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท และมีความผิดตามมาตรา 52 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายนนี้เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

 

ผู้ว่าฯยะลา ออกมาตรการกำชับการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฏอน
ผู้ว่าฯยะลา ออกมาตรการกำชับการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฏอน

HATYAITODAYNEWS

ภาพ / อ้างอิง : จังหวัดยะลา

Next Post

สสวท.เผย PCR เทคนิคตรวจโควิด-19 ไวขึ้น 5 เท่า

Thu Apr 23 , 2020
สสวท.เผย PCR เทคนิคตรวจโควิด-19 ไวขึ้น 5 เท่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นำเสนอเทคนิคการตรวจแบบรวมกลุ่ม (Pooled Sample Testing) โดยใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ช่วย พบว่า เทคนิคง่ายๆ นี้จะช่วยให้สามารถตรวจคนได้มากกว่าเดิมประมาณ 5 เท่า ซึ่งจะทำให้สามารถขยายวงการตรวจไปสุ่มตรวจประชากรทั่วไปได้ โดยการตรวจใช้ทรัพยากรและงบประมาณแทบไม่เพิ่มขึ้น ยังคงมีประสิทธิภาพ และผลที่ได้มีความแม่นยำแทบไม่แตกต่างจากเดิม “เทคนิคที่เสนอนี้ เป็นการตรวจแบบรวมกลุ่ม โดยแบ่งตัวอย่างที่จะตรวจออกเป็นกลุ่มๆ เมื่อแบ่งกลุ่มแล้วก็นำสารคัดหลั่งตัวอย่างในกลุ่มนั้นมารวมกัน และตรวจครั้งเดียว หากตรวจผลเป็นลบก็แสดงว่าทั้งกลุ่มไม่มีผู้ใดติดเชื้อ หากเป็นบวกค่อยตรวจตัวอย่างในกลุ่มนั้นรายคน ก็จะได้ผู้ติดเชื้อ วิธีนี้จะช่วยให้ตรวจคนได้มากขึ้น ดีกว่าการต้องเสียชุดตรวจตรวจทีละคน” ตัวอย่างเช่น สมมุติว่า ใน 100 คน ที่มาตรวจมีอยู่ 1 คนที่ติดเชื้อ หากเราแบ่งเป็นกลุ่มละ 10 คน จะได้ 10 กลุ่ม แล้วเอาสารคัดหลั่งของคน 10 คนใน 1 […]
ปกข่าวสำหรับเว็ป [recovered] 01