โครงการประตูสู่เมืองยะลา แนวคิดในการสร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่
ดำเนินการภายในพื้นที่วงเวียนบริเวณ บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418 พื้นที่ประมาณ 28 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากศาลหลักเมืองยะลา ประมาณ 6 กิโลเมตร
ภายใต้โครงการประตูสู่เมืองยะลา
ซึ่งในการดำเนินโครงการฯ จังหวัดยะลาเปิดโกาสให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนและบุคคลทั่วไปมีส่วนในการนำเสนอแนวความคิดการออกแบบภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมอาเซียน สู่แนวความคิดที่ว่า
โดยจังหวัดยะลา มีความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข คือ ความสมดุลที่พร้อมจะเคลื่อนเป็นพลวัต โดยนำเอาหลักการของลูกข่าง ภาษามาลายูเรียก ฆาชิง
ซึ่งเป็นการละเล่นในดินแดนมลายูครั้งอดีตกาล ที่ยอด จุดแหลมช่วยในการหมุน สะท้อนให้เห็นถึงความสมดุลของสังคมพหวัฒนรรม” และมอบหมายให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองยะลา นำผลงานที่ได้รับการคัดเลือกนำไปสูการพัฒนารูปแบบก่อสร้างประติมากรรมประตูสู่เมืองยะลาและออกแบบภูมิศน์ให้สดคล้องกับพื้นที่จุดเริ่มต้นของโครงข่ายผังเมืองยะลา

โครงการประตูสู่เมืองยะลา ได้ถูกบรรจุเข้าในแผนพัฒนาจังหวัดยะลาเพื่อการก่อสร้าง โดยดำเนินการออก เป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 ปิ้งบประมาณ พ.ศ.2563 ใช้งบประมาณ 37,400,000 บาท ดำเนินการก่อสร้างในส่วนของ งานปรับพื้นที่ งานโครงสร้างหลัก และงานประติมากรรม
ส่วนในระยะที่ 2 จะดำเนินการในปิงบประมาณ พ.ศ.2564 ใช้งบประมาณ 42,800,000 บาท โดยดำเนินการในส่วน
ของงานปรับภูมิทัศน์พร้อมส่วนประกอบ”ประตูสูเมืองยะลา” เป็นจุดสังเกตใหม่ของเมืองยะลา ( Yala’s New Land mark) ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่การสงเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของเมือง อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงความสมดุลของการอยู่ร่วมกันแบบสังคมพหุวัฒนธรรม สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวยะลา
สมกับคำขวัญจังหวัด “ยะลา ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน ”

อ้างอิง : สวท.ยะลา