พี่น้องชาวจะนะยืนยัน เดินหน้าไม่เอาโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ
วันที่ 7 ธ.ค. 63 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทาง รมช.ธรรมนัส พรหมเผ่า และคณะได้ลงพื้นที่จะนะไปเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 63 วันนี้กลุ่มคัดค้านโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะได้สรุปบทเรียนการต่อสู้ และคุยเรื่องการก้าวเดินไปข้างหน้าสู่เป้าหมาย คือ จะนะต้องพัฒนาบนเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนความผิดปกติที่ผ่านมาในการผลักดันโครงการมีหลายเรื่องที่ต้องตรวจสอบ ทั้งเรื่องเวทีรับฟังที่จัดโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย
และเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 63 ทางเจ้าหน้าที่ ศอ.บต.ได้เดินทางมาพบปะทั้งสองคนที่บ้าน ถามไถ่ถึงสิ่งที่ทั้งสองคนได้พูดคุยในวันก่อน สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ รวมทั้งเรื่องปัญหาที่ดินที่มีการร้องเรียน
อย่างไรก็ตามทางชาวบ้านจะนะรักษ์ถิ่นยังยืนยันที่จะเดินหน้าคัดค้านการสร้างโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะและไม่ยอมให้ใครมาเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาวบ้าน
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
Thu Jan 7 , 2021
จังหวัดสงขลา พิจารณาปรับปรุงคำขวัญประจำจังหวัด เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงไป วันที่ 6 ม.ค. 64 เวลา 13.30 น. นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขคำขวัญประจำจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 1 /2564 เพื่อร่วมหารือและพิจารณา แนวทางรูปแบบในการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขคำขวัญประจำจังหวัดโดยมี นายจรัญ จันทรปาน ปลัดจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งจังหวัดสงขลาได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าคำขวัญประจำจังหวัดสงขลาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้ นั้นไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม และบริบทของจังหวัดในปัจจุบัน เนื่องจากคำขวัญประจำจังหวัดที่ใช้ อยู่ในปัจจุบันนั้น ขาดการปรับปรุง และแก้ไขมานาน ดังนั้นเพื่อให้คำขวัญประจำจังหวัดสงขลา มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม และบริบทของจังหวัดในปัจจุบัน จึงได้ร่วมหารือกับหน่วยงานอื่น ๆกำหนดแนวทาง และรูปแบบในการปรับปรุง เพื่อแก้ไขคำขวัญจังหวัด ทั้งนี้ได้มีการเสนอการกำหนดทิศทางและรูปแบบในการพิจารณาคำขวัญประจำจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 1) การจัดการประกวดคำขวัญในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม โดยต้องมีการกำหนดกรอบ และหลักเกณฑ์ ในการประกวดอย่างชัดเจน 2)หากต้องปรับปรุงคำขวัญ จะต้องมีความกระชับ สื่อถึงอัตลักษณ์และความต้องการของจังหวัดได้ชัดเจน และต้องเป็นอัตลักษณ์ที่ยั่งยืน 3) หากเป็นไปได้ไม่ควรปรับปรุงคำขวัญประจำจังหวัด แต่ควรคิดสโลแกน หรือคำจำกัดความอื่นขึ้นมาแทน 4) ควรสอบถามประชาชนในพื้นที่ก่อน ว่าต้องการให้มีการปรับปรุงคำขวัญหรือไม่ เนื่องจากคำขวัญประจำจังหวัดเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อประชาชนบางกลุ่ม ทั้งนี้ มติที่ประชุมของคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขคำขวัญประจำจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 1/2564 คือ เห็นควรแต่งตั้งผู้มีความสามารถ อาธิ นักกวีนิพนธ์ นักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดสงขลา ร่วมเป็นทีมร่างคำขวัญ ตามกรอบแนวคิดที่กำหนด เพื่อนำมาเสนอคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขคำขวัญประจำจังหวัดสงขลา ให้ร่วมกันพิจารณา และเสนอให้ประชาชนชาวจังหวัดสงขลาได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือก (โหวต) ทางสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อเลือกคำขวัญที่เหมาะสมที่สุดให้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดสงขลาต่อไปHATYAITODAYNEWS อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine