วิเคราะห์ปัจจัย เหตุใดไทยจึงขึ้นเป็นเบอร์ 1 ประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19
หลังจากที่ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ได้นำเสนอข้อมูลจาก The Global COVID-19 Index (GCI) จัดอันดับประเทศไทยเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ได้ดีที่สุดของโลก โดยสัดส่วนคะแนนเพิ่มขึ้นจากเดิม 81.15 24 กรกฎาคม เป็น 82.55 25 กรกฎาคม และล่าสุด 28 กรกฎาคม ที่ผ่านมาคะแนนขึ้นเป็น 82.06
จากสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในด้านการฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีปัจจัยอันนำไปสู่อันดับ1 โดยปัจจัยแรกที่เราจะมาเล่าสู่กันนั้นคือ การปรับตัวอย่างรวดเร็วในวิถีการใช้ชีวิตใหม่ New normal ของคนไทย ในช่วงแรกที่ Covid-19 ระบาดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการทำ Self-Protection หรือการดูแลตัวเองผ่านการใส่หน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่างทางสังคม Social Distancing เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อจากคนอื่น
ปัจจัยในเรื่องของการปรับตัวขององค์กร Working Transformation แน่นอนว่าหลายหน่วยงาน หลายองค์กร ต่างปรับความคิด พฤติกรรม และวิถีการทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น จากเดิมคนทำงาน มักให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance สร้างสมดุลที่เหมาะสมระหว่างชีวิตงานและชีวิตส่วนตัวเป็นสำคัญ แต่ปัจจุบัน ที่เราทุกคนต่าง Work from Home มีสัดส่วนเวลาของการทำงานและชีวิตส่วนตัวเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน สลับสับเปลี่ยนกันไปตลอดทั้งวัน เกิด Work-Life Integration ที่ชีวิตการทำงานหลอมรวมกับชีวิตส่วนตัวเป็นหนึ่งเดียว จนเราต้องสร้างวินัยในการทำงาน ท่ามกลางอิสระและความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นจาก Work from Home
ปัจจัยในด้านการแสวงหาโอกาสจากวิกฤตโควิด-19 ในช่วงที่หลายๆคนอยู่บนโลกโซเชียลมีเดียนานขึ้นกว่าช่วงปกติ ส่งผลให้เรื่อง Digital Transformations หรือการปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี ที่จากเดิมใช้เวลายาวนานและเกิดขึ้นช้ามาก กลับถูกขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น โอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ปรับตัวเข้าสู่ตลาด e-Commerce มากขึ้น ทั้งในแง่ของ B2B (Business-to-Business) และ B2C (Business-to-Consumer) หากจะมองตัวอย่างจากบางธุรกิจ ที่ชัดเจนที่สุดคือ ธุรกิจดิลิเวอรี่ ที่การเป็นหมุดหลักในการสร้างดีมานด์อย่างมหาศาล เพราะเมื่อประชาชนไม่ต้องการออกจากบ้าน การเรียกใช้บริการจัดส่งสินค้า/อาหารบนแฟลตฟอร์มจึงเกิดความต้องการสูงขึ้นมากรวมถึงเป็นการสร้างอาชีพให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้กลับมามีรายได้อีกครั้ง
ปัจจัยจากภาครัฐบาล แม้จะโดนกระแสโจมตีอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่าน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านโยบายบางส่วนของรัฐบาลสามารถช่วยกระตุ้นให้คนไทยสามารถออกมาใช้ชีวิตปกติจับจ่ายใช้สอยได้เกือบจะกลับมาเหมือนในช่วงปกติ รวมถึงการออกแคมเปญในภาคท่องเที่ยวให้กลับมาครึกครื้นอีกครั้ง
ไม่เพียงเท่านั้นสำนักข่าว The New York Times ได้ลงข่าวเพื่อพูดถึงสถานการณ์ในประเทศไทยโดยพาดหัวข่าวว่า No one knows exactly why Thailand has been spared หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า ไม่รู้ว่าประเทศไทยทำอะไร แต่อย่างไรก็ตามมันได้ผล ในย่อหน้าหนึ่งได้มีการกล่าวว่า
Is it the social distancing embedded in Thai culture the habit of greeting others with a wai,
a prayer-like motion, rather than a full embrace
that has prevented the runaway transmission of the coronavirus here?
มันเป็นสังคมที่มีการเว้นระยะห่างในวัฒนธรรมไทย – นิสัยของการทักทายคนอื่นด้วยการไหว้การเคลื่อนไหว
แทนที่จะเป็นการโอบกอดอย่างเต็มที่ – ที่ขัดขวางการแพร่เชื้อโคโรนาไวรัสที่นี่หรือไม่?
“I don’t think it is about immunity or genetics alone,” said Dr. Taweesin Visanuyothin,
the Covid-19 spokesman for Thailand’s Ministry of Public Health.
“It has to do with culture. Thai people do not have body contact when we greet each other.”
จากคำที่เกิดขึ้นนายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธินได้ตอบว่า“
ผมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันหรือพันธุศาสตร์เพียงอย่างเดียว
ซึ่ง มันเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของคนไทยที่ไม่มีการสัมผัสร่างกายเมื่อเราทักทายกัน
จากข้อความดังกล่าวทำให้เราเห็นได้ว่าปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้อง กลับเป็นเสมือนพื้นฐานที่เราชาวไทยมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยกว่าประเทศที่มีวัฒนธรรมที่มีการสัมผัสซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามคะแนนที่ขึ้นก็สามารถมีวันลดลงได้เช่นกัน ถ้าหากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งล้มลง
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติมจาก
-กระทรวงเศรษฐกิจและดิจิตอล
-The New York Times