(ชมคลิป ) พบ ฉลามวาฬ ว่ายน้ำเผยโฉมจำนวน 2 ตัว บริเวณทะเลฝั่งอ่าวไทย จังหวัดชุมพร
เมื่อวันที่ 18/07/63 ที่ผ่านมา บริเวณทะเลฝังอ่าวไทย จังหวัดชุมพร พบ ฉลามวาฬ ว่ายน้ำเผยโฉมจำนวน 2 ตัว ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างใกล้ชิด ตามความเป็นจริงแล้วฉลามวาฬ เป็นอะไรที่หาชมได้ยากมาก
ซึ่งฉลามวาฬว่าที่สัตว์ป่าสงวนของไทย เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2558 คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติให้เสนอชื่อสัตว์น้ำ 4 ชนิด ได้แก่ 1. วาฬบรูด้า (Bryde’s whale) 2. วาฬโอมูระ (Omura’s whale) 3.ฉลามวาฬ (Whale Shark) 4. เต่ามะเฟือง (Leatherback turtle) เพื่อจัดทำเป็นร่างพระราชกฤษฎีกาเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศให้สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ป่าสงวนต่อไป
ปลาฉลามวาฬ (Whale Shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhincodon typus ปลาฉลามวาฬเป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนกับปลาทั่วไปคือมีอุณหภูมิร่างกายใกล้เคียงกับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่และเป็นปลากระดูกอ่อนคือกระดูกทั้งตัวยกเว้นขากรรไกรและฟันเป็นกระดูกแข็ง กระดูกอ่อนเป็นกระดูกอ่อนแบบเดียวกับกระดูกใบหูของคน
และฉลามวาฬยังได้จัดอันดับให้เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่ใช่ปลาวาฬเพราะปลาวาฬหรือวาฬเป็นสัตว์เลือดอุ่นซึ่งมีอุณหภูมิร่างกายคงที่ไม่ใช่ปลา) ฉลามวาฬโตเต็มที่มีขนาดความยาวประมาณ 12.5 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 21.5 ตัน
ฉลามวาฬพบแพร่กระจายในทะเลในเขตร้อนและเขตบอุ่น ประเทศไทยของเราพบฉลามวาฬได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลอันดามันเคยพบฉลามวาว่าเข้ามาในอ่าวป่าตองจังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ.2540-2542 ซึ่งสันนิษฐานว่าว่ายเข้ามาหาอาหารหรือจับคู่ผสมพันธุ์ ส่วนที่อ่าวไทยเคยพบฉลามวาฬที่เกาะมันนอกจังหวัดระยอง ที่เกาะรังจังหวัดชุมพรและที่เกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี
ฉลามวาฬแม้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแต่อาหารที่มันกินนับได้เป็นอาหารเกือบจะมีขนาดเล็กที่สุดคือมันกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ฉลามวาฬจะกินอาหารโดยการว่ายน้ำอ้าปากให้น้ำไหลเข้าปากแล้วใช้ซี่เหงือกกรองแพลงก์ตอนจำพวก โคพีปอด (copepods) คริลล์ (krill) ไข่ปลา ตัวอ่อนสัตว์น้ำ ละลุกหมึกและปลาขนาดเล็ก
ปัจจุบันสถานภาพฉลามวาฬได้รับการประเมินสถานภาพเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Red List of Threatened Species) ของ IUCN ล่าสุดได้ปรับให้ฉลามวาฬซึ่งมีสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) และได้ขยับเป็น ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) แล้ว
และสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฉลามวาฬลดจำนวนลงคือจากการทำการประมง แม้ว่าตัวฉลามวาเองจะไม่ใช่เป้าหมายหลักแต่มันก็ติดเครื่องมือประมงบ่อยและครีบของมันก็มีขนาดใหญ่และราคาดี อีกสาเหตุหนึ่งคือการนิยมดำน้ำดูฉลามวาฬซึ่งทำให้เรือเข้าไปใกล้ฉลามวาฬและถูกเรือชนเป็นประจำ นอกจากนี้แล้วปัญหาเรื่องไมโครพลาสติกที่ติดมากับแพลงก์ตอน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารพิษที่สะสมอยู่ในไมโครพลาสติกจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางชีวภาพ และส่งผลเสียต่อชีววิทยาการสืบพันธุ์ของฉลามวาฬได้
อ้างอิง : Onthira Ardhannarong , phuketaquarium