พยากรณ์อากาศบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก(สงขลา) ระหว่างวันที่ 1-6 เมษายน 64

 พยากรณ์อากาศบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก(สงขลา) ระหว่างวันที่ 1-6 เมษายน 64

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

167174249 4178065168912994 714584331583394979 n HATYAITODAY

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในวันที่ 31 มี.ค. – 2 เม.ย. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 – 6 เม.ย. 64 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

165121272 4178305292222315 800560213099496708 n 1 HATYAITODAY

ภาคใต้ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ส่วนในช่วงวันที่ 3 – 6 เม.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

 

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก

Next Post

สงขลา ศูนย์ดำรงธรรมจับมือหน่วยงานลงพื้นที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ อ.บางกล่ำ

Thu Apr 1 , 2021
สงขลา ศูนย์ดำรงธรรมจับมือหน่วยงานลงพื้นที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ อ.บางกล่ำ วันที่ 1 เม.ย. 64 เวลา 10.00 น. ณ บ้านท่าท้อน หมู่ที่ 8 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา พร้อมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย โครงการชลประทานสงขลา อำเภอบางกล่ำ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และตัวแทนกลุ่มผู้ร้อง ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง และพัฒนาคุณภาพน้ำ สำหรับกรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่โดยรอบ ที่มีการก่อสร้าง และพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ เรียกว่า หนองทอง ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่กว่า 7 ไร่ เป็นที่รองรับน้ำช่วงหน้าฝน และแหล่งน้ำสำรองช่วงหน้าแล้ง ตลอดจนเป็นแหล่งอาหารที่มีสัตว์น้ำชุกชุม แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะช่วงน้ำหลากเกิดการท่วมขัง และสภาพน้ำที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งในกรณีนี้จำเป็นจะต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม อาทิ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา […]
ปกข่าวใหม่ [recovered] 01