กำหนดการวันทอดกฐิน ปี 2564 ของวัดในพื้นที่จังหวัดสงขลา
กำหนดการการทอดกฐินวัดในจังหวัดสงขลา ประจำปี 2564 มีดังนี้
วันที่ 26 ต.ค. 64 วัดไทรงาม
วันที่ 30 ต.ค. 64 วัดหัวป้อมใน , วัดควนเจดีย์
วันที่ 31 ต.ค. 64 วัดดอนแย้ , วัดเขาบ่อ , วัดน้ำกระจาย
วันที่ 5 พ.ย. 64 วัดชัยมงคล , วัดเลียบ
วันที่ 6 พ.ย. 64 วัดศาลาหัวยาง , วัดดอนรัก , วัดทุ่งหวังนอก
วันที่ 7 พ.ย. 64 วัดแช่มอุทิศ , วัดบางดาน , วัดทรายขาว , วัดโคกเปี้ยว , ที่พักสงฆ์ทุ่งเลยเทย
วันที่ 9 พ.ย. 64 วัดเพชรมงคล
วันที่ 13 พ.ย. 64 วัดโพธิ์ปฐมาวาส , วัดแจ้ง , วัดอุทัยธาราม , วัดอ่างทอง , วัดภูเขาหลง
วันที่ 14 พ.ย. 64 วัดโรงวาส , วัดทุ่งหวังใน , วัดนาป๋องเจริญธรรม
วันที่ 15 พ.ย. 64 วัดมัชฌิมาวาส
วันที่ 18 พ.ย. 64 วัดยางทอง , ที่พักสงฆ์เขากุฏิ
วันที่ 19 พ.ย. 64 วัดแหลมพ้อ , วัดหัวป้อมนอก , วัดเกาะถ้ำ , วัดสามกอง

โดยการทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงแล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบันการทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเองก็จัดเป็นงานเอิกเกริก เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกันเป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดาก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์โดยในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว
ผ้ากฐิน ความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึงนิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้ซึ่งการทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

อ้างอิง : สำนักงานเจ้าคณะอำเภอเมืองสงขลา