เปิดมุมมองของ “คุณช่อ พรรณิการ์ วานิช” ร่วมพูดคุยกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ หัวข้อการเมืองผ่านหนัง the kingmaker
เมื่อวานนี้ (3/9/63) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ นักศึกษาและกลุ่ม iLaw ได้จัดกิจกรรมเสวนา ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยในกิจกรรมกับมีการนำเสนอ ภาพยนตร์เรื่อง the kingmaker เป็นหนังสารคดีความยาว 1 ชม 40 นาที และมีการเสวนาความคิดเห็นหลังจากดูภาพยนต์เสร็จ เปรียบเทียบความเหมือนและต่างของการเมืองไทยและฟิลิปปินส์ผ่านทางภาพยนต์ที่ได้รับชม ซึ่งมี คุณช่อ พรรณิการ์ วานิช คณะก้าวหน้า, คุณเป๋า ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw และอาจารย์ธีรวัฒน์ ขวัญใจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ในการร่วมเสวนากับนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ
จากภาพยนตร์เรื่อง the kingmaker ผลงานล่าสุดของ Lauren Greenfield ที่สะท้อนเหตุการณ์ของการเมืองประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมี Imelda Marcos อดีตสุภาพสตรีหมายหนึ่งของฟิลิปปินส์ ภริยาของอดีตประธานาธิบดี Ferdinand Marcos ผู้นำเผด็จการที่ฉาวโฉ่เรื่องคอร์รัปชั่นและการกำจัดคนเห็นต่าง บอกเล่าเรื่องราวของอิเมลดา มาร์กอส อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษ 2010 ที่เธอหวนคืนสู่เวทีการเมือง และนั่นรวมถึงการพยายามผลักดันให้ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนเพียงคนเดียวที่ชื่อบองบอง เจริญรอยตามผู้เป็นพ่อ อดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ผู้ล่วงลับ สารคดีเรื่องนี้ย้อนสำรวจความเป็นมาอันน่าพรั่นพรึงจนถึงวันเวลาปัจจุบันของอีเมลดา ผู้กำลังพยายามเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการลบล้างอดีตที่เต็มไปด้วยความฉ้อฉลโหดร้าย แล้วแทนที่ด้วยภาพลักษณ์ของ “แม่ผู้แผ่ความรักอันไพศาลแก่ประเทศชาติ”
ซึ่งเหตุผลว่าทำไม ทางกลุ่ม iLaw จึงหยิบยกนำหนังเรื่อง the kingmaker นี้มาเปรียบเทียบกับการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบันและที่ผ่านมา จากความคิดเห็นทางคุณช่อ พรรณิการ์ วานิช คณะก้าวหน้าและคุณเป๋า ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw
- ดูหนังสารคดีเรื่องนี้แล้ว รู้สึกอย่างไร และชอบฉากไหนที่สารคดี
– คุณเป๋า ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw กล่าวว่า ในขณะที่ชมภาพยนต์ก็สะเทือนใจในบางฉากบางตอนว่าทำไมเมือนเหตุการณ์ที่เกิดในประเทศไทยแต่ก็ต้องยอมรับว่า ทางฟิลิปปินส์มีการบริหารที่โหดร้ายกว่ารัฐบาลชุดนี้ ซึ่งฟิลลิปปินส์สั่งฆ่ากันแบบไร้เหตุผลในตัวเลขที่ออกมาเด่นชัด ประชาชนที่มีชีวิตความเป็นอยู่ก็ลำบาก คนไร้บ้านนอนข้างถนนเยอะมาก สลัมกับเมืองที่เจริญอยู่ร่วมกันแบบเห็นได้ชัดไร้ระเบียบ ประชาชนหรือตำรวจข้าราชการเอง เดินถือปืนเป็นบรรยากาศปกติ ทำให้ประชาชนต้องการผู้นำที่พึ่งได้เปรียบเสมือน พ่อ-แม่ของแผ่นดิน /คุณเป๋า ชอบฉากที่นายนินอย เบนิกโน อําคิโน จูเนียร์(Benigno Aquino) (สามีนางคอราซอนอาคีโน)อดีตผู้นําฝ่ายค้านถูกลอบสังหารที่สนามบิน เป็นฉากที่สะเทือนใจในการลอบสังหารที่เห็นได้ชัดเจนว่าใครสั่งฆ่าแต่ไม่สามารถต่อต้านทำอะไรในคดีนี้ได้
– คุณช่อ พรรณิการ์ วานิช คณะก้าวหน้า กล่าวว่า ไทยกับฟิลิปปินส์ เหมือนกันมากกรุงมะลิลาเทียบกับกรุงเทพที่สลัมกับเมืองอยู่รวมกันจริงๆ สลัมอยู่สลับกับคอนโดมากมาย ดัชนีชี้วัดความเหลื่อมล้ำเห็นได้ชัดเจนติดอันดับโลก ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนไม่ว่าจะเป็นรายได้ การถือครองที่ดินมีการผูกขาด แถมที่เหมือนฟิลิปปินส์อีกอย่าง คือ อำนาจนิยม นั้นคือความเป็นแม่ของอีเมลดา ในคำจำกัดความความเป็นแม่คือ อำนาจ นั้นจะเห็นได้จากอีเมลดาที่เป็นสัตว์การเมือง 100% จากที่ลูกชายกล่าว แล้วเทียบได้กับประเทศไทยที่ชอบพึ่งพายึดเหนี่ยว พ่อ-แม่ของแผ่นดิน ที่อย่างให้มีใครสักคนมาช่วยเหลือให้รอดพ้นความยากลำบากในชีวิตเหมือนในประเทศฟิลิปปินส์ /คุณช่อ ชอบฉากที่ประชาชนถามคนในสลัมว่าชอบใคร ผู้หญิงในสลัมตอบว่า ชอบ Imelda Marcos เพราะเป็นคนสวยที่ต่อให้มีอายุมามากขึ้นก็ยังสวยอยู่ และชอบคำพูดที่อีเมลดาที่กล่าวว่า ยิ่งฉันไปสลัมฉันยิ่งต้องแต่งตัวสวย เพราะว่า คนจนย่อมมองหาดวงดาวในค่ำคืนที่มืดมิด นั้นถึงต้องตั้งคำถามว่า ทำไมคนจนถึงชอบเผด็จการทั้งที่เวลาเกิดเหตุการณ์บ้านเมือง คนจนนั้นแหละที่ซวยรับเคราะห์ก่อน ที่ช่อชอบฉากนี้เพราะว่าเราได้รับถึงความคิดเห็นผู้หญิง 2 คนที่อยู่คนละชนชั้นที่เขามองกันและกัน อีเมลดาเธอกล่าว่า เธอเป็นแม่ของแผ่นดิน เป็นเป็นของโลก เป็นแม่ผู้เป็นผู้ให้
ตลอดทั้งการเสวนาครั้งนี้ ยังมีความคิดเห็นมากมายทั้งความเหมือนและความต่างของการเมืองประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย ทั้งนักศึกษา ประชาชนที่เข้าร่วมการดูภาพยนตร์และการเสวนาในครั้งนี้ ก็มุมมองสะท้อนการเมืองที่เป็นจุดสนใจของคนรุ่นใหม่ที่อยากเห็นรูปแบบการเมือง สิ่งที่คนรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมาสนใจประเทศ สนใจการเมืองนั้น ต้องการและจะสื่ออะไร..? ไม่ว่าจะการพัฒนาประเทศในรูปแบบที่ต่างออกไปจากเดิม ล้างข้อปฎิบัติเก่าที่นิยมขจัดปัญหาความไม่โปร่งใสของการเมือง และหันความกลับมามองที่ประชาชน ว่าประชาชน คือ ชาติ และ ชาติ คือ ประชาชานอย่างแท้จริง
กล่าวโดยสรุปจากหนังเรื่อง The Kingmaker จึงให้คำตอบกับเราเป็นนัยว่า ปัญหาสังคมตั้งแต่ความเหลื่อมล้ำ จนถึงวิกฤตสภาพแวดล้อมไม่สามารถแก้ไขจากการล้างผลาญผู้ทำนาบนหลังคนออกจากอำนาจ ไม่มีเฟอร์ดินาน มาร์กอสก็ยังมีอิเมลดาและลูกชายของเธออย่างบองบอง มาร์กอส หรือพันธมิตรทางการเมืองอย่าง โรดริโก ดูเตอร์เต การเยียวยาประชาธิปไตยในขั้นแรกคือ การถามคำถามที่ซ่อนคำตอบในตัวว่า เราต้องการเห็นประชาธิปไตยแบบใด? เราจะเติมสารัตถะอะไรให้กับระบอบที่เรากำลังเรียกร้อง? และดังที่ Kingmaker บอกเรา ว่าทุนนิยมไม่ใช่คำตอบ – อย่างแน่นอน
HATYAITODAYNEWS