ไทยเสี่ยงแค่ไหนที่จะมีผู้ป่วย Super Spreader และ โควิด-19 ระลอก2
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยว่า ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งในประเทศและในสถานที่กักตัวของรัฐ ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,216 ราย หายป่วยสะสม 3,088 ราย ซึ่งไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดสะสมคงที่ 58 ราย และไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศติดต่อกันกว่า 47 วัน ในขณะที่สถาการณ์ภาพรวมของประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ร้านค้าที่เคยปิดไปเรื่มกลับมาขายของได้อย่างเต็มที่ ประชาชนได้ออกจากบ้านได้ออกจากบ้านใช้ชีวิตในแบบวิถีปกติใหม่ New normal
แต่ สิ่งที่ไม่คาดคิดอันเกิดจากความหละหลวม รวมถึงความผิดพลาดที่ส่งผลต่อความรู้สึกของประชาชนในประเทศ นั้นคือการปล่อยให้กลุ่มคนที่มาจากประเทศเสี่ยงสามารถเข้าประเทศใช้ชีวิตปกติร่วมกับคนทั่วไป
ทางด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นถึงเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ G เพราะพบว่าผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ G จะมีปริมาณเชื้อที่ลำคอค่อนข้างมาก จึงแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย ทำให้ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น แต่สายพันธุ์ G นี้ไม่ได้ทำให้โรครุนแรงขึ้น ยังคงเหมือนเดิม เพียงทำให้มีการแพร่กระจายไปทั่วโลกได้มากขึ้น ดังนั้นขณะนี้สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก จึงเป็นสายพันธุ์ G มากที่สุด สายพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศและมาตรวจพบ ใน State Quarantine ของประเทศไทยจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสายพันธุ์ G แล้ว
นิยามของ Super Spreader ไม่ได้นับจำนวน ‘ผู้สัมผัส’ แต่นับจำนวน ‘ผู้ป่วย’ ที่ได้รับเชื้อต่อจากผู้ป่วยรายนั้นๆ
นั่นหมายความว่าเราจะต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงก่อนว่ามีกี่ราย (ในการสอบสวนโรคเราจะป้ายคอเก็บตัวอย่างจากผู้สัมผัสเสี่ยงสูงมาตรวจหาเชื้อเลย ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำจะให้เก็บตัวอย่างก็ต่อเมื่อมีอาการภายใน 14 วัน) ส่วน ‘จำนวนเท่าไร’ ไม่ได้มีการกำหนดไว้ชัดเจน อย่างกรณีโรคเมอร์ส-ไวรัสโคโรนาที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่เมื่อปี 2558 ที่เกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ 6 รายขึ้นไป
ซึ่งจากการสอบสวนโรคผู้ป่วยยืนยันในประเทศไทยที่ผ่านมามีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงประมาณ 30 คนต่อผู้ป่วย 1 ราย เพราะในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยก็ต้องพบปะกับผู้อื่นไม่ต่างจากเราทุกคน และในจำนวนนี้ได้ตรวจพบการติดเชื้อทั้งหมด 11 ราย คิดเป็น 1% เท่านั้น
ดังนั้นถ้าถามว่า “โอกาสของการเกิด Super Spreader ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยมีหรือไม่” ก็ต้องตอบว่า “มีความเป็นไปได้” ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้ป่วยและมาตรการควบคุมโรค ทั้งนี้ขอให้รอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการใน 1-2 วันนี้ก่อนถึงจะยืนยันว่า “ไวรัสโคโรนาอยู่ใกล้เข้ามาทุกขณะ”
บทเรียนจากอดีต เครื่องมือย้ำเตือนถึงความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น
เมื่อมองย้อนหลัง ไปยังเหตุการณ์สนามมวยลุมพินี สถานที่ที่มีคนรวมกลุ่มทำกิจกรรมกันมากๆ เหตุการณ์นี้คงยังไม่เกิดขึ้น ถ้าเราสืบค้น และกักกันทุกคนที่มาสนามมวยวันนั้นให้อยู่บ้านเป็นเวลา 14 วัน จำนวนคนป่วยคงไม่เพิ่มขึ้นมากอย่างที่เห็น
บทเรียนจาก Itaewon กรณีศึกษาเมื่อมีการระบาดระลอก 2 เกาหลีใต้รายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพียงไม่กี่คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ การติดเชื้อในไนท์คลับ แม้จะอยู่ในวงจำกัด แต่จะเพิ่มขึ้น และเกิดขึ้นในช่วงที่เกาหลีใต้กำลังผ่อนคลายมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม ส่งผลรัฐบาลเกาหลีใต้ออกคำสั่ง “ปิด” คลับและบาร์มากกว่า 2,000 แห่ง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ให้แผ่ขยายเป็นวงกว้าง และอาจหนักหนาสาหัสกว่าระลอกแรกที่ผ่านมา
ณ ตอนนี้พื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค COVID-19 มี 2 จังหวัดที่ต้องระวังกันมากๆ คือ กรุงเทพฯ และระยอง
เรื่องนี้ได้มีการหารือในที่ประชุม ศบค.ว่าถึงแม้จะเป็นลูกเรือ และได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศตามข้อกำหนด แต่การลงที่สนามบินอู่ตะเภา ทำให้พบว่าต้องทบทวนมาตรการคุมเข้ม อีกทั้งโรงแรมที่ จ.ระยอง ถือเป็นสถานที่ที่สัมผัสผู้พบเชื้อ โดยอธิบดีกรมควบคุมโรคออกมาตรการคุมเข้ม และตรวจสอบโดยละเอียด
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ในระหว่างการสอบสวนโรค พบว่าทีมลูกเรือดังกล่าวออกจากโรงแรมไปยังสถานที่บางแห่งใน จ.ระยอง จะต้องลงพื้นที่สอบสวนโรคทุกแห่ง เช่น ห้างสรรพสินค้า กรณีผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 9 ปี ที่เดินทางมาจากภูมิภาคแอฟริกา พร้อมกับครอบครัวคณะทูต ก่อนเดินทาง 7 ก.ค.ไม่พบเชื้อ ต่อมา 10 ก.ค.ตรวจพบเชื้อ และ 10 ก.ค.พ่อเด็กนำผู้ป่วยรักษาที่ โรงพยาบาลเอกชน พร้อมนำสมาชิกครอบครัวที่เหลือกักตัวที่คอนโดแห่งหนึ่งใน กทม. กระทั่ง 11 ก.ค.ผลตรวจพบปอดอักเสบ จึงส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาลอีกแห่ง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า กรณีของสถานทูต เข้าใจว่าทุกสถานทูตมีพื้นที่พำนัก แต่กรณีนี้ที่ใช้คอนโดมิเนียมเป็นสถานที่พำนัก กระทรวงการต่างประเทศจะประสานทำความเข้าใจให้สถานทูตต่างๆต้องกักตัวครอบครัวในคณะทูตให้อยู่ในสถานที่ของท่านเองเป็นเวลา 14 วัน และยืนยันขณะนี้ยังไม่มีข้อเสียหายอะไรเกิดขึ้น ข่าวดังกล่าวที่ออกมาจะช่วยย้ำเตือนให้ประชาชนรู้ว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โลก ผู้ป่วยใหม่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่ฮ่องกงสั่งปิดโรงเรียนทุกแห่ง หลังยอดติดเชื้อเพิ่มสูงอีกครั้ง ส่วนทรัมป์ยอมสวมหน้ากากอนามัยออกสื่อ และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เตรียมออกกฎปฎิบัติสวมหน้ากากในร้านค้า
อีกประเด็นที่หน้าสนใจไม่แพ้กันและสอดคล้องกับดังกล่าว คือเรื่องเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการฑูต คือสิทธิประโยชน์และความคุ้มกันจากการถูกบังคับตามกฎหมายบางประเภทที่รัฐผู้รับให้แก่คณะผู้แทนทางทูตและตัวแทนทางทูต และเจ้าพนักงานกงสุลของรัฐผู้ส่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้แทนทางทูตและเจ้าพนักงานกงสุลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตัวแทนทางทูตและเจ้าพนักงานกงสุลจะเริ่มตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาในอาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน และเมื่อการหน้าที่ของตัวแทนทางทูตและเจ้าพนักงานกงสุลยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันจะสิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศของรัฐผู้รับ จึงมีความเป็นไปได้ว่าประเด็นดังอาจทำให้เกิดของผู้ติดเชื้อที่เกิดขึ้น!!
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม :
- ศูนย์โควิด-19
- ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Graphen, Inc.
- Reuters
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์