วิเคราะห์ยุทธศาสตร์รับมือ Covid-19 กับก้าวต่อไปของไทยในอนาคต
เมื่อจะกล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทยของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ในตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ หากไปในทางที่ดีจำนวนประชากรที่ป่วยก็คงจะลดลงอีกไม่นาน แต่มองมุมกลับประเทศไทยมีอัตราการติดเชื้อที่สูงขึ้น แน่นอนย่อมส่งผลในทางที่ไม่ดีแน่ๆ ประเทศอาจจะเหมือนกับอิตาลี ที่มียอดผู้ติดเชื้อทะลุหลักหมื่นในไม่ช้า สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เพราะรูปแบบการติดเชื้อจากคนสู่คนแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
หากมองย้อนกลับไปในช่วงปี 2009 ช่วงนั้นทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับ“ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1/2009”) ระบาดลุกลามไปในหลายทวีป แม้จะมีอัตราผู้เสียชีวิตต่ำไม่รุนแรงเท่าไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน ณ ขณะนั้นประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อถึงหลักล้านคน กล่าวได้ว่าเป็นบทพิสูจน์ความสามารถของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยการระบาดภายในประเทศอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยพบว่าตัวขับเคลื่อนการระบาดที่สำคัญได้แก่กลุ่มเด็กนักเรียนประถมและมัธยม มีการระบาดในโรงเรียนต่างๆ เริ่มจากกรุงเทพฯและปริมณฑล และแพร่ขยายไปทั่วทุกจังหวัด กล่าวคือ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2552 ได้รับรายงานการระบาดและปิดโรงเรียนไปกว่า 476 โรงเรียน ซึ่งบ่งชี้ลักษณะสำคัญของการระบาดไว้ เช่น มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการระบาดในโรงเรียนและสถานศึกษา หรือมีลักษณะทางกายภาพของสถานที่ซึ่งเอื้อต่อการระบาด ซึ่งสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (ซีดีซี) คาดการณ์ว่า โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 คร่าชีวิตประชากรโลกรวมกว่า 280,000 คน
กลับมายัง ณ สถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยในตอนนี้ มีจำวนผู้ติดเชื้อล่าสุด ( 08 เมษายน 2563) คือ ติดเชื้อสะสม 2,369 ราย เสียชีวิตสะสม 30 ราย ประเทศไทยในตอนนี้จำเป็นต้องสร้างยุทธศาสตร์สำคัญในการผ่านพ้นวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งยุทธศาสตร์ตามหลักวิชาระบาดวิทยา เรารู้อยู่แล้วว่ามีอยู่สามวิธี คือ
1. Unmitigated – ยุทธศาสตร์เฉยไว้ คือไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้โรคดำเนินไป ที่ตายก็ตายไป ที่รอดก็จะเป็นตัวกั้นโรค (Herd Immunity) ไม่ให้ไปถึงคนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันได้ง่าย โหลงโจ้งแล้ว 6 เดือนโรคก็น่าจะวิ่งจากระยะเร่ง (Acceleration) ไปสู่ระยะผ่อน (Deceleration) อย่างเป็นธรรมชาติ หลังจากนั้นก็ไม่ต้องเดือดร้อนอินังขังขอบกับอะไรอีกว่าใครจะไปใครจะมา ใครจะเข้าใครจะออก ประเทศที่ใช้ยุทศาสตร์ดังกล่าว ส่วนใหญ่แล้วอยู่ซีกโรคตะวันตกที่เห็นได้ชัดคือประเทสอังกฤษ ที่ทางรัฐบาลเองได้ออกนโยบายโดยเน้นความเชื่อที่ว่า “ร่างกายมนุษย์จะสร้างสามารถสร้าง Anti-Body ออกมากำจัดโรค หากจะอธิบายตามภาษาชาวบ้านให้ร่างกายผลิตภูมิคุ้มกันเพื่อออกมาต่อสู้ จนกว่าไวรัสโคโรนาจะหายไป
2. Mitigation – ยุทธศาสตร์หน่วงโรค คือทำทุกอย่างให้โรคกระจายตัวช้าลง เช่น เฝ้าระวัง สอบสวน กักกันโรคอย่างขันแข็ง ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล กักกันตนเอง อยู่ให้ห่างคนอื่น (Social Distancing) ที่ชุมนุมคนแยะๆโดยไม่จำเป็น เพื่อให้โรคขยายตัวช้าที่สุด หวังว่าจะไม่ให้ท่วมกำลังของแพทย์พยาบาลและอุปกรณ์การรักษาที่มีอยู่ ค่อยๆสู้กันอย่างยืดเยื้อเรื้อรังไปจนโรคได้ระบาดไปสุดระยะเร่งของมันซึ่งน่าจะใช้เวลานานประมาณหนึ่งปี จากนั้นโรคก็จะเข้าสู่ระยะผ่อนโดยตัวของโรคเองโดยไม่ต้องไปพะวงกักกันหลังจากนั้นอีก ซึ่งตอนนี้เมืองไทยและสหรัฐอเมริกากำลังใช้ยุทธศาสตร์นี้อยู่ ยุทธศาสตร์ในข้อที่สองนั้นให้ความสำคัญต่อระยะห่างระหว่างบุคคล เพราะยุทธศาสตร์ที่สองนั้นจะช่วยลดการระบาดได้โดยที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับยุทธศาสตร์การปิดเมือง หรือ Lockdown เพราะยังมีการผ่อนปรนเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประเทศมากนัก
3. Suppression – ยุทธการปิดเมือง หรือ Lockdown ซึ่งมีเป้าหมายขจัดโรคให้เกลี้ยง หรือให้เหลือน้อยที่สุด หรือ “การปิดประเทศ” ไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายคนเข้าออก ควบคู่ไปกับการเฝ้าระวังสอบสวนกักกันอย่างเข้มงวดยกเลิกกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ ไปจนถึงการกักตัวเองภายในบ้านพัก และยังเป็นการเปิดทางให้กับรัฐบาลติดตามความเคลื่อนไหวพฤติกรรมของประชาชนอย่างใกล้ชิดเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม หวู่ฮั่น เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน เป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการใช้วิธีนี้
จากสามยุทธศาสตร์ที่ได้กล่าวไปนั้นล้วนส่งผลในแง่ที่ต่างกันไปในอนาคต การใช้ยุทธศาสตร์แรก แน่นอนว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะสูงมากขึ้นจนอาจทะลุหลักล้านได้ในประเทศที่ดำเนินการในแบบที่ 1 แต่หากคนในประเทศเหล่านั้น ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ทัน เป็นไปได้ว่าในอนาคต การติดเชื้อจะน้อยลงอย่างแน่นอนเพราะคนในประเทศมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว รวมถึงงบประมาณที่ใช้รักษาก็จะน้อยลงเป็นเงาตามดัว
ผลจาการใช้ใช้ยุทธศาสตร์ที่สอง กล่าวคือ ผู้ตอเชื้อในประเทศจะเพิ่มขึ้นในระดับหลักสิบไปจนถึงหลักร้อย แต่ทั้งนี้ หากมองในแง่ขีดความสามารถของระบบโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเตียงไอซียู. ที่จะรับผู้ป่วยได้นั้น ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ผู้ป่วยก็จะเกินจำนวนเตียงไอซียูที่จะรับได้ไปมากอยู่ดี เพราะจำนวนผู้ป่วยจะมากขึ้นเรื่อยๆตาม วอนจะรอวัคซีนก็คงใช้เวลาขั้นต่ำ 2-3 ปี แต่ไม่แน่ว่าในสถานการณ์การปัจจุบันที่ทั้งโลกกำลังระดมเหล่านักวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างวัคซีนต้านไวรัสตอนนี้อยู่ หากมีปาฏิหาริย์ที่เราได้ใช้วัคซีนในเวลาที่รวดเร็วขึ้น ไม่แน่ว่าจะช่วยทำให้สถานการณ์เป็นไปในทางที่ดีขึ้นก็เป็นไปได้
และ มาถึงผลของการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ในลำดับสุดท้าย ผลที่ได้นั้น การปิดเมืองหรือ Lock Down นั้นจะส่งผลให้การตือเชื้อไวรัสลดลงอย่างรวดเร็วเพราะทุกอย่างจะตกอยู่ในการควบคุมของรัฐบาล การนำยุทธศาสตร์ที่สามมาใช้จำเป็นต้องอาศัยความเชื่อมั่นระหว่าง รัฐบาลและประชาชนในประเทศเป็นอย่างมาก ทรัพยากรทางมนุษย์และทรัพยากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีความพร้อมเพื่อรองรับการปิดเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น จีน สามารถสร้างโรงพยาบาลสนามได้ภายในไม่กี่วัน
สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในยุทธศาสตร์ไหนก็ตามปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ บุคคลนั้นเอง เราจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเข้าใจถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน การดำเนินชีวิตที่ไม่ให้ตนเองและเดือดร้อน ช่วงของวิกฤตการณ์ไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในครั้งนี้
อ้างอิงข้อมูลจาก : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, BBC
ภาพ : aljazeera.com, The Guadian, World Health Organization
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์