แนวทาง Soft Loan ประเทศไทย ก้าวต่อไปจากผลกระทบโควิด-19

แนวทาง Soft Loan ประเทศไทย ก้าวต่อไปจากผลกระทบโควิด-19
แนวทาง Soft Loan ประเทศไทย ก้าวต่อไปจากผลกระทบโควิด-19

แนวทาง Soft Loan ประเทศไทย ก้าวต่อไปจากผลกระทบโควิด-19

Soft Loan หรือ เงินกู้ผ่อนปรน เงินกู้ที่มีเงื่อนไขในการให้กู้ยืมที่ดีกว่า เงินกู้ทั่วไปในท้องตลาด กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าหรือไม่มีอัตราดอกเบี้ยเลย ระยะเวลาให้กู้ยาวกว่ารวมทั้งมีระยะเวลาผ่อนผัน ไม่ต้องจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลานานกว่าหากท่านเป็นผู้ประกอบการ ในตอนนี้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบทางธุรกิจจากการระบาดของโรคโควิด 19 “มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ของแบงก์ชาติ” ที่ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ อาจเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจขนาดย่อมจากทางแบงค์ชาติ

ซึ่งนโยบายของแบงค์ชาติ SMEs ที่จะขอความช่วยเหลือต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1. เป็นบุคคลที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
2. ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3. ไม่เป็น NPL ของสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เพราะต้องการดูแลผู้ที่มีศักยภาพที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเป็นหลัก
4. ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
5. วงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยจะขอกู้ใหม่ได้ไม่เกิน 20% ของยอดสินเชื่อคงค้างที่มีกับสถาบันการเงิน

ซึ่งแบงค์ชาติเองกำหนดว่า SMEs ที่ไม่ได้เป็นลูกหนี้เดิมของสถาบันการเงินจะขอ soft loan แบงก์ชาติ ไม่สามารถขอได้ เนื่องจาก soft loan แบงก์ชาติ กำหนดให้เฉพาะลูกหนี้เดิมของสถาบันการเงิน เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาคุณสมบัติลูกหนี้ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และเพื่อการบริหารความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียของสถาบันการเงิน สำหรับ SMEs รายใหม่ สามารถติดต่อขอสินเชื่อได้จากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งมีรายละเอียดต่างจาก soft loan แบงก์ชาติ

แน่นอนว่าทาง ธปท. หวังว่ามาตรการนี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ SMEs ทำให้ SMEs มีเงินสดในมือเพื่อรองรับรายจ่ายจำเป็น โดยเฉพาะค่าจ้างพนักงาน นอกจากนั้น ธปท. คาดหวังว่าในช่วง 6 เดือนนี้ ธนาคารจะต้องทำงานร่วมกับลูกหนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ปรับแผนการผ่อนชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง และช่วยจัดโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกหนี้

ทางด้าน คุณรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. เปิดให้สถาบันการเงินยื่นคำขอ Soft Loan วงเงินรวม 500,000 ล้านบาทเป็นวันแรก เพื่อนำไปปล่อยให้ SMEs ใช้เสริมสภาพคล่องและรักษาการจ้างงาน พบว่ามีธนาคาร 8 แห่งยื่นคำขอรวม 24,200 ล้านบาท ให้แก่ลูกหนี้จำนวน 16,934 ราย ซึ่งสถาบันการเงินที่ยื่นเข้ามามากที่สุดคือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

รณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
รณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ทั้งนี้กลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือครั้งนี้เป็น SMEs ขนาดเล็ก ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 20 ล้านบาท คิดเป็น 76% และเป็น SMEs ในต่างจังหวัด นอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 80% รวมถึง SMEs กลุ่มค้าปลีกค้าส่ง โดยสถาบันการเงินที่ยังไม่ได้ยื่นคำขอส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

ณ ขณะนี้แบงก์ชาติ ยังมีวงเงินเหลือเพียงพอสำหรับ Soft Loan พร้อมให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ต่อให้กับ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และขอให้สถาบันการเงินสื่อสารไปยังผู้ปฏิบัติงานที่สาขาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้ Soft Loan เช่น ห้ามคิดค่าธรรมเนียม ห้ามกำหนดเงื่อนไขการขายประกันต่างๆ เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อ และหากพบว่า SMEs นั้นขาดคุณสมบัติในการขอ Soft Loan ให้พิจารณาช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ ตามแนวทางของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง”

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก: Bank of Thailand

ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์

Next Post

สงขลา ขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะทำงาน ศบค.จังหวัด คุมมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19

Wed May 13 , 2020
สงขลา  แต่งตั้งคณะทำงาน ศบค.จังหวัด คุมมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อวันนี้ 12 พ.ค. 63 ที่ห้องประชุม Conference ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายสมหวัง เรืองเพ็ง นายนฤทธิ์ มงคลศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายวรณัฏฐ์ หนูรอต ปลัดจังหวัดสงขลา นำส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference System) จากกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม เพื่อแจ้งข้อสั่งการ ซักซ้อมความเข้าใจ และติดตามการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในพื้นที่ อย่างไรก็ตามกระทรวงมหาดไทย ได้มีข้อสั่งการให้แต่ละจังหวัดเร่งสร้างการรับรู้แนวทาง รวมถึงมาตรการต่างๆ ที่มีการผ่อนปรน ข้อสั่งการของ ศบค.ในระดับต่างๆ การติดตามการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้งบป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินฯ การแจกจ่ายหน้ากากอนามัย การเหลื่อมเวลาปฏิบัติงาน และแนวทางการกักกันหรือคุมไว้สังเกตสำหรับผู้เดินทางที่กลับจากประเทศเสี่ยง ตลอดจนสร้างการรับรู้แก่ประชาชนเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : […]
ปกข่าวแบบเว็บไซต์ 01