สถานเอกอัครราชทูตฯ จะยุติการให้บริการรถบัสกลับไทยด่านพรมแดนตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค.63

สถานเอกอัครราชทูตฯ จะยุติการให้บริการรถบัสกลับไทยด่านพรมแดนตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค.63

ขณะนี้การเดินทางสัญจรในมาเลเซียเป็นไปได้โดยสะดวก มีรถโดยสารสาธารณะให้บริการจากเมืองหลัก ๆ ไปยังด่านพรมแดนไทยตามปกติแล้ว สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงขอยุติการให้บริการรถโดยสารไปยังด่านพรมแดนทุกด่าน ตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค. เป็นต้นไป

คนไทยที่ไม่มีกำลังทรัพย์ที่ต้องการความช่วยเหลือค่าเดินทางสามารถทำสัญญายืมเงินจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ โดยให้ติดต่อฝ่ายกงสุลโดยตรง

คนไทยที่ประสงค์เดินทางกลับไทยทางด่านพรมแดนยังคงต้องมีเอกสารดังนี้
1. หนังสือรับรองการเดินทาง โดยลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ที่ https://dcaregistration.mfa.go.th
2. ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่า “fit to travel” ที่มีอายุไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง

ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะยังคงให้บริการออกใบรับรองแพทย์แก่คนไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายที่ รพ. ที่กำหนดในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และเมืองยะโฮร์บารูต่อไป ดังนี้

– กรุงกัวลาลัมเปอร์ สามารถขอรับใบรับรองแพทย์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 09.30-12.30 น. โดยให้มายื่นคำร้องที่สถานเอกอัครราชทูตฯ แล้วจึงไปรับบริการที่โรงพยาบาล ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ต่อไป
– เมืองยะโฮร์บาห์รู สามารถขอใบรับรองแพทย์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่โรงพยาบาล Regency Specialist Hospital, 1, Jalan Suria, Bandar Baru Seri Alam, 81750 Masai, Johor วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น.

สถานเอกอัครราชทูตฯ จะยุติการให้บริการรถบัสกลับไทยด่านพรมแดนตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค. เป็นต้นไป

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : สถานเอกอัครราชทูตฯไทย-มาเลเซีย

Next Post

ลุงตู่เร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิส เก็บภาษีโซเชียลมีเดียกว่า 3,000 ล้านบาท

Thu Aug 6 , 2020
ลุงตู่เร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิส เก็บภาษีโซเชียลมีเดียกว่า 3,000 ล้านบาท   พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยการเร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิสหรือ ร่างกฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ เพื่อบังคับใช้เก็บภาษี VAT 7% กับทุกแพลตฟอร์มในโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก ยูทูบ เน็ตฟลิกซ์ แอปเปิลเพลย์ สปอร์ติฟาย บุ๊กกิ้งดอทคอม อะโกด้า ลาซาด้า ช้อปปี้ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้กรมสรรพากร ตอบรับนโยบายรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หากสภาฯ เห็นชอบต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ จะส่งผลให้บริษัทดิจิทัลต่างประเทศที่ไม่มีบริษัทลูกในประเทศไทย และมีรายได้ต่อปีจากค่าบริการตั้งแต่ 8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องมายื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่เสียภาษี ตาม พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส โดยจากการประเมินเบื้องต้น คาดว่า มูลค่าการเก็บภาษีจะอยู่ที่ปีละ 3,000 ล้านบาท ที่สำคัญยังช่วยคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการของไทยที่แบกรับภาระภาษีแทนมาโดยตลอด ใจความสำคัญของร่างกฎหมายนี้ระบุให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย และมีรายได้ต่อปีจากค่าบริการตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องมายื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่เสียภาษีดังกล่าว […]
ลุงตู่เร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิส เก็บภาษีโซเชียลมีเดียกว่า 3,000 ล้านบาท