ลุงตู่เร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิส เก็บภาษีโซเชียลมีเดียกว่า 3,000 ล้านบาท

ลุงตู่เร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิส เก็บภาษีโซเชียลมีเดียกว่า 3,000 ล้านบาท

  พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยการเร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิสหรือ ร่างกฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ เพื่อบังคับใช้เก็บภาษี VAT 7% กับทุกแพลตฟอร์มในโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก ยูทูบ เน็ตฟลิกซ์ แอปเปิลเพลย์ สปอร์ติฟาย บุ๊กกิ้งดอทคอม อะโกด้า ลาซาด้า ช้อปปี้ เป็นต้น

ซึ่งขณะนี้กรมสรรพากร ตอบรับนโยบายรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หากสภาฯ เห็นชอบต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ จะส่งผลให้บริษัทดิจิทัลต่างประเทศที่ไม่มีบริษัทลูกในประเทศไทย และมีรายได้ต่อปีจากค่าบริการตั้งแต่ 8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องมายื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่เสียภาษี ตาม พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส โดยจากการประเมินเบื้องต้น คาดว่า มูลค่าการเก็บภาษีจะอยู่ที่ปีละ 3,000 ล้านบาท ที่สำคัญยังช่วยคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการของไทยที่แบกรับภาระภาษีแทนมาโดยตลอด

ใจความสำคัญของร่างกฎหมายนี้ระบุให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย และมีรายได้ต่อปีจากค่าบริการตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องมายื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่เสียภาษีดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส โดยประเมินเบื้องต้นว่า มีมูลค่าการให้บริการรวมอยู่ที่ปีละ 40,000 ล้านบาท และคาดว่าจะจัดเก็บภาษีได้ 3,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ยังจะสามารถช่วยคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการของไทยที่มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในปัจจุบัน

พ.ร.บ.อี-เซอร์วิส แบ่งธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซซื้อขายสินค้าออนไลน์หรือการค้าขายบนมาร์เกตเพลส อย่าง ลาซาด้า (Lazada) หรือช้อปปี้ (Shopee)  โดยผลักดันให้ยกเลิกประกาศกรมศุลกากรที่ให้ยกเว้นการเก็บภาษี VAT สำหรับสินค้าต่างประเทศที่นำเข้ามาที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาทเสีย เพื่อให้สินค้านำเข้าที่ซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องเสียภาษี VAT เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในประเทศไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบ
  2. ธุรกิจ อี-เซอร์วิสเป็นบริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล แบ่งออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
    1. ธุรกิจที่มีรายได้จากค่าโฆษณา เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูบ ที่ขายโฆษณาบนแพลตฟอร์ม โดยลูกค้าในไทยต้องชำระค่าโฆษณาผ่านการจ่ายบัตรเครดิตไปยังประเทศปลายทาง ทำให้ภาครัฐของไทยไม่สามารถเก็บภาษีใด ๆ ได้
    2. ธุรกิจเพลง-หนังบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น เน็ตฟลิกซ์ แอปเปิลเพย์ (Apple Play) สปอร์ติฟาย (Spotify) ที่มีรายได้จากการสมัครสมาชิก
    3. ตัวกลางแบบ P2P ได้แก่ แกรบ (Grab) แอร์บีเอ็นบี (Airbnb)
    4. ตัวกลางที่เป็นเอเย่นต์จำหน่ายสินค้าและบริการ เช่น บุ๊กกิ้งดอทคอม (Booking.com) อะโกด้า (Agoda)
    5. อีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์ม เช่น อเมซอน (Amazon) อีเบย์ (Ebay) โดยเป็นการเก็บ VAT จากรายได้จากการให้ใช้แพลตฟอร์มในการขาย

โดยรัฐบาลได้เน้นย้ำว่า การเก็บภาษีนี้ ไม่ใช่เก็บจากตัวสินค้า แต่เป็นการเก็บจากค่าบริการ และค่าโฆษณาผ่านแต่ละแพลตฟอร์ม หากกฎหมายฉบับนี้เริ่มบังคับใช้ได้จริงโดยเร็วที่สุด แน่นอนว่า จะดีทั้งต่อการเพิ่มรายได้เข้าประเทศไทย ต่อประชาชนคนไทย และต่อผู้ประกอบการไทยนั่นเอง

ลุงตู่เร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิส เก็บภาษีโซเชียลมีเดียกว่า 3,000 ล้านบาท

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี – PMOC

 

Next Post

สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 6 สิงหาคม 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 2 ราย 

Thu Aug 6 , 2020
สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 6 สิงหาคม 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 2 ราย  วันที่ 6 สิงหาคม 2563 เวลา 11.30 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ได้เสนอข้อมูล สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 2 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศโดยเดินทางมาจาก  สหรัฐอเมริกา 2 ราย   HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์ Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ปกข่าวแบบขนาด เฟสนายก [recovered] 01