สรรพสามิตคลายกังวล แจงมาตรการทางภาษีเยียวยาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

สรรพสามิตคลายกังวล แจงมาตรการทางภาษีเยียวยาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
สรรพสามิตคลายกังวล แจงมาตรการทางภาษีเยียวยาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

สรรพสามิตคลายกังวล แจงมาตรการทางภาษีเยียวยาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างแพร่หลายเป็นวงกว้างรวมทั้งมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและทั่วโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก สถานประกอบการจำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราวและถาวร กระทบต่อการบริโภคภายในประเทศ การจ้างงาน ภาคการเกษตร และภาคการส่งออก ซึ่งผู้ประกอบอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกัน กรมสรรพสามิตจึงมีนโยบายเพื่อการเยียวยา ฟื้นฟู และอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การดังกล่าวให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิต ได้ดำเนินมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในบางสินค้าเรียบร้อยแล้ว ดังนี้

1. รถยนต์ (ประเภทรถยนต์นั่งสามล้อแบบพลังงานไฟฟ้า)
เพิ่มพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งสามล้อแบบพลังงานไฟฟ้า เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์นั่งสามล้อที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะช่วยกระตุ้นการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการจ้างงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด โดยกำหนด ให้เสียภาษีตามมูลค่าร้อยละ 2 (จากเดิมร้อยละ 4)

2. เครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารและสารอื่นแก้ไขอัตราส่วนผสมของน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 10 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มโดยคำนึงถึงนวัตกรรมในปัจจุบัน และผู้บริโภคมีทางเลือกในการบริโภคสินค้าเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

3. สถานบริการ สนับสนุนให้สถานบริการคงปริมาณการจ้างงาน เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างไม่ให้ตกงานสถานบริการที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีปริมาณการจ้างงานเท่ากับก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะได้รับสิทธิเสียภาษีอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 ของรายรับของบริการ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์ดังกล่าว

4. ยาสูบและยาเส้น ขยายเวลาการบังคับใช้อัตราภาษีปัจจุบันของบุหรี่ซิกาแรตและยาเส้นออกไปถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 และเลื่อนการบังคับใช้อัตราภาษีใหม่ของบุหรี่ซิกาแรตและยาเส้นออกไป โดยให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบและยาเส้น และเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบและยาเส้นได้รับการเยียวยาจากปัญหาการขาดสภาพคล่องที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว

5. สินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรขยายเวลาในการส่งสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรจาก เดิมภายใน 15 วันและขยายได้อีก 15 วันรวมทั้งหมดไม่เกิน 30 วัน เปลี่ยนเป็นภายใน 30 วัน และขยายได้อีก 30 วัน รวมถึงขยายได้หากมีความจำเป็นอีก 60 วัน รวมทั้งหมดไม่เกิน 120 วัน และขยายเวลาในการส่งเอกสารหลักฐานจากเดิมภายใน 60 วันและขยายได้อีก60 วัน รวมทั้งหมดไม่เกิน 120 วัน เปลี่ยนเป็นภายใน 90 วัน และขยายได้หากมีความจำเป็นอีก 60 วัน รวมทั้งหมดไม่เกิน 150 วัน

มาตราการเยียวยาด้านภาษีโดยกรมสรรพสามิต
มาตราการเยียวยาด้านภาษีโดยกรมสรรพสามิต

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : กรมสรรพสามิต

Next Post

สถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3 ราย

Mon Jul 13 , 2020
สถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3 ราย วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้รายงานว่าการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ยืนยันพบผู้ป่วยเพิ่ม 3 ราย เป็นผู้เชื้อที่ไม่ได้เป็นชาวไทย เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าพัก State Quarantine จังหวัดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดยะยอง โดยสรุปวันนี้ สถานการณ์ โควิด-19 วันที่ 13 ก.ค. 2563 ยังรักษาในโรงพยาบาล 72 ราย หายป่วยแล้ว 3,090 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 3,220 ราย HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์โควิด-19 […]
ปกข่าวสำหรับเฟส [recovered] 01