ตลาดไทช่วยเกษตรกรใต้เร่งรับซื้อผลไม้ฤดูกาลภาคใต้ ฝ่าวิกฤติโควิด-19 จากการประชุมร่วมกับสมาคมค้าส่งค้าปลีกสินค้าเกษตรไทยและ สมาคมตลาดสดในการช่วยระบายผลไม้ไปยังตลาดในประเทศที่ตลาดไท โดยใช้ตลาดในท้องถิ่นพาณิชย์จังหวัดจะประสานกับเกษตรกรเพื่อช่วยระบายผลไม้ในประเทศ ในจังหวัดต่างๆให้ได้มากที่สุด ตลาดไท ฐานะหนึ่งในสมาชิกสมาคมการค้าตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรไทย ขอเป็นส่วนหนึ่งในการรับนโยบายจากสมาคมฯ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้อง เมื่อวานนี้ประกาศเริ่มโครงการเชื่อมโยงและกระจายผลไม้จากภาคตะวันออกและภาคใต้ เข้าสู่ตลาดกลางค้าส่ง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและชาวสวนไทย ซึ่งกำลังประสบปัญหาจากการที่มีผลผลิตพร้อมออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถกระจายผลผลิตและจัดจำหน่ายไปยังผู้บริโภคได้เนื่องจากข้อจำกัดและความยากลำบากต่างๆ ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด ซึ่งจากการจำหน่ายและส่งออกผลไม้สดตามฤดูกาลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในหมู่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติของภาคใต้ 14 จังหวัด อาทิ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ตลาดไทจะรับซื้อจากเกษตรกรแต่ละจังหวัดมาขาย เช่นเดียวกับการซื้อลองกองจากนราธิวาสมาจำหน่ายกระจายไปยังจังหวัดอุบลฯ จะใช้กลไกตลาดกลางค้าส่งทั่วประเทศ 21 แห่ง ในการกระจายสินค้าเกษตรทั้งผักและผลไม้ โดยเร่งผลักดันผลผลิตให้ถึงมือผู้บริโภคให้ได้มากขึ้น พร้อมเสริมแกร่งเครือข่ายรถเร่ตลาดไท ผู้ประกอบการรถเร่ 250 คัน ร่วมขายสินค้าธงฟ้า สำหรับรถเร่หรือรถพุ่มพวงคือช่องทางที่สำคัญช่องทางหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากสามารถเข้าไปถึงตัวผู้บริโภคได้ถึงบริเวณหน้าที่พักอาศัย มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรไทยทั้งประเทศให้มีรายได้ช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อที่จะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไปด้วยกัน HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก : กระทรวงพาณิชย์, สยามรัฐ
เกษตรกร
กระทรวงการคลังตอบคำถาม ทำไมเกษตรกรไม่ได้รับเงิน 5,000 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ลงบทความถึงการตอบข้อซักถามเกี่ยวกับเงินเยียวยา 5,000 บาท ที่มีการให้ลงผ่าน เว็ปไซต์เราไม่ทิ้งกัน ซึ่งเป็นมาตราการเยียวยาจากภาครัฐบาล ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปัญหาที่เกิดขึ้นคิอ พี่น้องเกษตรกรชาวไทยไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินเยียวยาในครั้งนี้ แน่นอนว่าทาง สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ออกมาอธิบายถึงเรื่องดังกล่าว โดยมีใจความว่า เกษตรกรไม่เข้าข่ายในการได้รับสิทธิ์ตามมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) (มาตรการเยียวยา 5,000 บาท) ทั้งนี้ เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือผ่านมาตรการด้านการเกษตรอื่น ๆ ตามมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 3 ต่อไป ทั้งนี้ เกณฑ์ของกระทรวงการคลังจะมีการตัดสินมาจาก ฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการปกครอง สำนักงานประกันสังคม กรมขนส่งทางบก กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น รวมถึงการพิจารณาข้อมูลที่ผู้ลงทะเบียนได้กรอกไว้ในขั้นตอนของการลงทะเบียนประกอบด้วย มาประมวลผลและคัดกรองเพื่อให้ได้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างไรก็ตาม สำหรับประชาชนที่ไม่ได้รับสิทธิ์สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ผ่านช่องทาง www.เราไม่ทิ้งกัน.com ในวันจันทร์ที่ […]
ชาวนาหมดห่วงสถานการณ์ข้าวของประเทศกับภัยโควิด-19 8 เมษายน 2563 (วานนี้) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้สัมภาษาณ์ว่าขณะนี้ราคาข้าวเปลือกในตลาดกระเตื้องขึ้นสูงเป็นลำดับ เพราะนอกจากจะเกิดจากมาตรการส่งเสริมให้ชาวนาเก็บสต๊อกข้าวไว้โดยได้รับเงินชดเชยแล้ว ราคาทางการในท้องตลาดที่กระทรวงพาณิชย์รายงานสำหรับข้าวนาปรังขึ้นมาอยู่ที่ราคา 9,200 บาท-10,500 บาทต่อตัน ส่วนข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ 14,000-15,300 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกหอมประทุม อยู่ที่ราคา 10,000-10,500 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวอยู่ที่ราคา 15,600 บาทถึง 17,500 บาทต่อตัน เป็นต้น ในภาคใต้เรานั้น เป็นที่ข้าวกำลังเข้าฤดูเก็บเกี่ยว โดยอิงราคาดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ราคาตันละ 14,200 บาท ราคาสูงกว่าราคาเป้าหมาย ข้าวเปลือกเจ้าราคาตันละ 9,638 บาท ชดเชยส่วนต่างตันละ 361.84 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานีราคาตันละ 10,903 บาท ชดเชยส่วนต่างตันละ 96.54 บาท […]
พี่น้องเกษตรกรเตรียมรับมาตรการสินเชื่อฉุกเฉิน สู้ภัย COVID-19 นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ธ.ก.ส. จึงได้จัดโครงการสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินในครัวเรือน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกร ในอัตราดอกเบี้ยคงที่เพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน วงเงินกู้รายละ ไม่เกิน 10,000 บาท โดยกำหนดชำระคืนไม่เกิน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้ไม่ต้องใช้หลักประกันและสามารถแบ่งงวดชำระได้ตามความสามารถในการชำระคืน เช่น กรณีรายเดือน งวดละ 429.17 บาท ราย 3 เดือนงวดละ 1,287.50 บาท และราย 6 เดือนงวดละ 2,575 บาท […]
กรมเกษตรสงขลาวางแผนช่วยเกษตรกรผ่านโควิด-19 จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการประชุมหาทางช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อลดการเดินทางของเกษตรกรมาสำนักงานเกษตรอำเภอ และลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้สั่งการให้มีการเตรียมความพร้อมในการรองรับสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งด้านการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร โดยในด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กำหนดให้มีการควบคุมการเข้า-ออกอาคารสำนักงาน เพื่อให้สามารถคัดกรองเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มาติดต่อราชการ โดยเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรคล้องคอหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ และมีการให้บริการเจลล้างมือ การวัดไข้ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ โดยต้องมีอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศา จึงจะอนุญาตให้เข้าอาคาร การรณรงค์ให้ใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า พร้อมเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดให้มากขึ้น และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคในการทำความสะอาดพื้นที่ภายในอาคารสำนักงาน ทั้งในห้องปฏิบัติงาน ห้องประชุม ลิฟต์โดยสาร และทางเดิน นอกจากนี้ยังได้กำหนดมาตรการให้ข้าราชการสลับกันทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) เพิ่มระยะห่างระหว่างโต๊ะทำงาน รวมทั้งเว้นระยะห่างจากเพื่อนร่วมงานไม่น้อยกว่า 1 – 2 เมตร ตามมาตรการระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในส่วนด้านการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ […]