ราคาผลปาล์มปรับตัวสูงกิโลกรัมละ 7.50 บาท กระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวด ในช่วงกลางปี 2563 ราคาผลปาล์มน้ำมัน กิโลกรัมละ 7 บาท ในช่วงปลายปี 2563 และทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึงกิโลกรัมละ 7.50 บาท ราคาผลปาล์มน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ปัจจุบันราคาผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง จากกิโลกรัมละ 3.00 – 3.50 บาท ได้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดที่ผู้บริโภคหาซื้อ เพื่อใช้ในครัวเรือนและมีผลต่อโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ ล่าสุด จากภาวะราคาผลปาล์มน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในแหล่งผลิตขยับสูงขึ้น เป็นกิโลกรัมละ 39.00 บาท มีผลต่อเนื่องให้ราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดในท้องตลาดปรับสูงขึ้นเป็น ลิตรละ 46 – 48 บาท และอาจส่งผลต่อภาระค่าครองชีพของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ โดยคาดว่าผลปาล์มจะออกเพิ่มขึ้นเข้าสู่ภาวะปกติในเดือนมีนาคม 2564 ในส่วนของผู้บริโภค กรมการค้าภายในจะประสานผู้ผลิตและผู้ค้าส่ง ค้าปลีก ให้ตรึงราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันปาล์มบรรจุขวดให้นานที่สุด […]
น้ำมันปาล์ม
เฮ ราคาปาล์มขยับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลเผยพร้อมพัฒนาระยะยาว สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ระดับราคาปาล์มน้ำมันตั้งแต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมาได้ขยับตัวสูงขึ้น สูงกว่าราคาที่รัฐบาลได้ประกันรายได้ที่กิโลกรัมละ 4 บาท ปัจจัยสำคัญมาจากการดำเนินการของภาครัฐที่ได้ออกมาตรการดูดซับน้ำมันปาล์มดิบล้นตลาด ได้แก่ 1) กำหนดให้น้ำมันไบโอดีเซล B10 เป็นน้ำมันมาตรฐาน แทน B7 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา คาดว่าจะช่วยดูดซับปริมาณน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณปีละ 2.2 ล้านตัน และส่งเสริม B20 ให้เป็นพลังงานทางเลือก 2) ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ 3.6 แสนตัน ซึ่งได้ดำเนินการครบแล้ว 3) ผลักดันการส่งออกนำ้มันปาล์มส่วนเกิน 3 แสนตัน ภายในปี 2564 และ 4) เดินหน้าติดตั้งมิเตอร์วัดปริมาณน้ำมันปาล์มดิบของโรงงาน เพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่มีอยู่จริงซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญต่อการบริหารสต๊อกให้มีเสถียรภาพ ส่วนเรื่องการป้องกันการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญเพราะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ราคาพืชผลเกษตรลดลงและชาวสวนปาล์มมีความกังวลอยู่ ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีมาตรการป้องกันไว้ คือ การกำหนดด่านเฉพาะ 3 ด่าน […]
ครม. สรุปแนวทางบริหารจัดการปาล์มน้ำมันให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ก.ค.2563 มีมติรับทราบสรุปมติการประชุม ตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) เสนอ โดยในส่วนการใช้น้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิตไฟฟ้านั้นให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เร่งรัดการจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบส่วนที่เหลือ จำนวน 37,550 ตัน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และ ให้พิจารณาจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ส่วนที่สำรองอีก 100,000 ตัน เพื่อดูดซับสต็อกส่วนเกิน และให้สำนักงบประมาณพิจารณางบสำหรับการชดเชยส่วนต่างของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุม ครม.ได้รับทราบมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการปาล์มน้ำมันให้สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้น้ำมันปาล์มในปัจจุบัน ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยที่ประชุม กนป.คาดการณ์ปี 2563 จะมีปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลลดลงร้อยละ 8.2 โดยช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 คาดว่าจะปริมาณการใช้จะลดลงจาก 67 ล้านลิตรต่อวัน เหลือ 61-62 ล้านลิตรต่อวัน ปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และนครศรีธรรมราช ให้กระทรวงพลังงาน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เร่งรัดการจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบส่วนที่เหลือ จำนวน 37,550 ตันให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้ กฝผ.พิจารณาจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบส่วนที่สำรองเพิ่มอีก 100,000 ตัน เพื่อนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง ขณะเดียวกันให้กระทรวงพลังงาน เร่งดำเนินการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 10 ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ […]