นักจิตวิทยาห่วงคนไทยเครียดหนัก แนะวิธีจัดการอารมณ์จากผลกระทบโควิด-19 จากวิกฤตโควิด-19 ระบาด ประชาชนไม่เพียงแค่กังวลเรื่องสุขภาพว่าเราจะได้รับเชื้อหรือไม่ แต่ยังมีปัญหาเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจตามมามากมาย บางคนถึงกับเครียด ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทาง ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช อาจารย์สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงการดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด-19 โดย ดร.เจนนิเฟอร์ กล่าวว่า เนื่องด้วยมาจากโรคระบาด COVID-19 ทำให้เรารู้สึกกลัวโรค รวมไปถึงผลกระทบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต หรือว่ากิจวัตรประจำวันของเรา รวมไปถึงการทำงาน แม้กระทั่งผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้เราตึงเครียด วิตกกังวล หรือความกลัวเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า เรามีความเครียดอยู่ในระดับไหน และสาเหตุของความเครียดเกิดจากอะไร และค่อยๆ หาทางแก้ไข “ถ้าเรารู้สึกว่าเราไม่สามารถที่จะ มีการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ หรือเรารู้สึกว่ามันส่งผลกระทบต่อวิธีการคิดของเรา หรือทำให้เราหมกมุ่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อการนอนไม่หลับ ทำให้เรารู้สึกกระสับกระส่ายหรือหัวใจเราเต้นแรก นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าเรารู้สึกตึงเครียดมากเกินไป อาจจะถามตัวเองก่อนว่าปัญหาหลักของเราคืออะไร แล้วพยายามที่จะเจาะจงปัญหาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เสร็จแล้วอาจจะให้ลองมาลิสต์ดูว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ มันมีอะไรบ้าง ณ จุดนี้ อย่าไปสนใจว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดหรือเปล่า คิดอะไรออกให้เขียนลงไปในกระดาษก่อนเลย เขียนเท่าไหร่ยิ่งมากยิ่งดี แล้วมาวิเคราะห์แต่ละวิธีการแก้ปัญหามีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง” […]
ความเครียด
แพทย์เตือน คนไทยเสี่ยงภาวะเครียดสะสม ผลกระทบอันโหดร้ายโควิด-19 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 (วานนี้) ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมช.สธ.) กล่าวว่า ผลกระทบทางสุขภาพจิตจากการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 แบ่งคนไว้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้ถูกกักกัน ผู้ติดเชื้อโควิด 2.กลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต โดย 2 กลุ่มนี้อาจะจะถูกตีตราจากสังคม 3.บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานด้านการติดโควิด-19 ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการให้การดูแลผู้ป่วยแล้วผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เช่น ผู้ป่วยจะดีขึ้นแต่กลับกลายเป็นเสียชีวิต หรือมีโอกาสติดเชื้อ เป็นความเครียดที่เกิดขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะหมดไปในการทำงาน 4.ประชาชนทั่วไป / ชุมชน ติดตามสถานการณ์ ข้อมูลโรคโควิด ทำให้เครียดเกิดขึ้น ซึ่ง 4 กลุ่มนี้สามารถที่จะมีความเครียดเรื้อรัง หรือโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า และสุดท้ายอาจไปถึงการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด สำหรับการให้คำปรึกษาผ่านสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 กับโควิด-19 พบว่าในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. […]