จ.สงขลาเร่งแก้ไขเกษตรกรและการส่งออกสินค้าหลังได้รับผลกระทบ Covid-19 นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประชุมการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อผลผลิต ทั้งภาคการเกษตร ด้านประมง ด้านปศุสัตว์และอื่นๆ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ห้องประชุม Conference ศาลากลางจังหวัดสงขลา ด้านการประมง ที่ได้รับผลกระทบ 2 ชนิดสินค้า ได้แก่ กุ้งทะเล เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไม่มั่นใจในเรื่องราคา จึงชะลอการลงเลี้ยง ส่งผลให้โรงเพาะฟักไม่สามารถขายลูกกุ้งได้ ทำให้มีลูกกุ้งค้างบ่อปริมาณมาก และปลากระพง ซึ่งพ่อค้าคนกลางลดปริมาณการรับซื้อ หรือไม่รับซื้อ ส่งผลให้ต้นทุนค้าใช่จ่ายด้านอาหารปลาเพิ่มขึ้น เพราะต้องเลี้ยงนานขึ้นและเกษตรกรต้องรับความเสี่ยงในกรณีที่ปลาน็อค เนื่องจากปลามีขนาดตัวใหญ่ขึ้น ด้านปศุสัตว์ ส่งผลให้ไข่ไก่ได้รับผลกระทบเล็กน้อยในช่วงแรก โดยราคาสูงขึ้นและต่ำลงตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลา ได้ติดตามราคาสินค้าเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการถือโอกาสขึ้นราคา ด้านสินค้าด้านเกษตร/พืช พบว่ายังไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากได้มีการประสานผู้ค้าภายในจังหวัดในการกระจายสินค้า มีตัวแทนตลาดรับซื้อผลผลิต รวมถึงการเปิดช่องทางขายออนไลน์และการแปรรูปผลผลิต จากที่ประชุมทางจังหวัดสงขลามีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 2,923,260 ไร่ มีพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ คือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน การทำนาข้าว ไม้ผลและพืชผักอื่นๆ เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ภาคการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากแหล่งรับซื้อหลายแห่งหยุดให้บริการ ทำให้ต้องชะลอการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร หรือซื้อในปริมาณที่น้อยลง HATYAITODAYNEWS ภาพ/อ้างอิง: สำนักข่าวประชาสัมพันธ์
Hatyaitodaynews
สถานการณ์ โควิด-19 วันที่ 30 เม.ย. 63 ติดเชื้อสะสม 2,954 ราย เสียชีวิตสะสม 54 ราย วันที่ 30 เม.ย. 2563 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โควิด-19 ศบค. แถลงสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 7 ราย เป็นคนในพื้นที่ 68 จังหวัด ติดเชื้อสะสม 2,954 ราย เสียชีวิตสะสม 54 ราย ผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 7 ราย ตามข้อมูลดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 6 ราย 2. ผู้ป่วยรายใหม่ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน […]
สคร.12 สงขลา แนะประชาชนให้การยอมรับผู้กักตัวและผู้ป่วยที่หายจาก COVID-19 สถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้ หรือที่เรียกว่า State Quarantine/ Local Quarantine เพื่อสังเกตอาการผู้เดินทางกลับต่างประเทศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ป้องกันการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) รัฐบาลไทยมีนโยบายให้ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศทุกคนจะต้องกักกันตัวในสถานที่ที่รัฐกำหนด เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะวัตถุประสงค์ของการต้องมีสถานที่กักกัน เพื่อใช้ดูแลและควบคุมผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เป็นการสังเกตการเริ่มป่วย ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.) ในพื้นที่กรุงเทพฯ และส่วนกลาง (State Quarantine) ดูแลโดยกระทรวงกลาโหมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และ 2.) ในพื้นที่ต่างจังหวัด (Local Quarantine) โดยกระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ปัจจุบัน มี state Quarantine ที่มีผู้เข้าพักจำนวน 10 […]
กระทรวงมหาดไทยกำชับทุกจังหวัดคงทุกมาตรการตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยเคร่งครัด ทั้งนี้การออกคำสั่งหรือประกาศของจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ให้รอการสั่งการเชิงนโยบายจาก ศบค.ก่อน เพื่อให้เกิดเอกภาพพร้อมกันทั่วประเทศ และมีข้อกฎหมายรองรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติต่อไป ได้แก่ 1. ประกาศเรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. จนถึงวันที่ 31 พ.ค.2563 2. ประกาศที่คณะรัฐมนตรี กำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2563 เรื่องการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2563 เป็นต่อไป 3.ให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรี กำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : ศูนย์ข้อมูล COVID-19
แม่ทัพภาคที่ 4 พร้อมด้วยผู้ว่าฯ สงขลา ลงพื้นที่ติดตามกระบวนการคัดกรองคนไทย ด่านปาดังเบซาร์ เมื่อวันนี้ 29 เม.ย. 63 พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วย นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการคัดกรองกลุ่มคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศมาเลเซีย ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา พร้อมทั้งตรวจติดตามความเรียบร้อยแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งได้เน้นย้ำให้กองกำลังป้องกันแนวชายแดนได้ตรวจตรา ลาดตระเวน คุมเข้มตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกัน สกัดกั้น ไม่ให้มีการลักลอบใช้ช่องทางเหล่านี้ข้ามเข้ามาได้ ขณะที่ภาพรวมการดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ด้านพลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เผยว่า หลังจากมีการปิดด่านสะเดาเป็นการชั่วคราว และเปิดรับคนไทยกลับเข้าประเทศ ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์ […]
เจ้าของสวนทุเรียนใต้ไม่ต้องกังวลใจจากผลกะทบโควิด ทุเรียนยังส่งออกไปจีนได้ เมื่อวานนี้ (29/04/63) เนื่องจากประชาชนมีความกังวลเรื่องตลาดการรับซื้อ และราคาทุเรียนในสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ลงพื้นที่ตรวจดูความพร้อมโรงงานทุเรียนขนาดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ บริษัท ม่านกู่หวาง ฟู๊ด จำกัด อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เพื่อรองรับปริมาณผลผลิตทุเรียนของประชาชนในพื้นที่ กว่า 80,000 ตัน ซึ่งจะนำมาจำหน่ายและส่งออกตลาดจีน โดยมีกำหนดเปิดโรงงาน 20 มิถุนายนนี้ ตลาดรับซื้อมีความพร้อมที่จะรับซื้อทุเรียน 1 ใน 3 ของปริมาณทั้งหมดในพื้นที่ สถานการณ์โรคระบาดอาจเริ่มคลายตัวระดับหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อการขนส่งผลผลิตที่ง่ายขึ้นกว่าปัจจุบัน นายประเสริฐ คณานุรักษ์ ผู้จัดการบริษัท ม่านกู่หวาง ฟู้ด จำกัด ให้สัมภาษณ์ว่า ปีนี้ความต้องการทุเรียนในประเทศจีนสูงกว่าปีนี้ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาทุเรียนสูงกว่า ปี 2562 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ อาจด้วยสภาวการณ์โรคระบาด COVID-19 โรงงานจึงมีแผนขยายพื้นที่เพื่อรองรับผลผลิต กำหนดโรงงานเปิดทำการในเดือนมิถุนายนนี้โดยจะรับซื้อทุเรียนในปีนี้ […]