ผู้ว่าฯ จ.พังงาประกาศ มีผู้ติดเชื้อรายแรกแล้ว 1 คน นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา และสาธารณสุขจังหวัดพังงา ยืนยัน พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แล้วรายแรกในพื้นที่เกาะยาว และเฝ้าระวังผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีก 1 คน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพังงา ได้กล่าวว่าเนื่องจากได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ พบผู้ป่วยหญิงมาเข้ารับการรักษาที่ รพ.กระบี่ซึ่งพบว่าเป็นผู้ป่วยมีภูมิลำเนาที่เกาะยาว พังงาและก่อนหน้าได้รับการรักษาผู้ป่วยได้เข้ามาให้พื้นที่ภูมิลำเนาในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลังจากได้รับแจ้ง สาธารณสุขจังหวัดพังงาและกรมสอบสวนโรคได้ติดตามตรวจสอบผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยทันที ตอนนี้มีเกณฑ์เฝ้าระวัง 68 คน กรมสาธารณสุขยืนยันว่ามีหน่วยเสถียรภาพพร้อมเพียงพอตามมาตรฐานทางการแพทย์ในการดูแลผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง สรุป Timeline ของผู้ป่วย – ได้รับแจ้งมีผู้ติดเชื้อผู้หญิงอยู่ที่ โรงพยาบาลกระบี่ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ อ.เกาะยาว ต.เกาะยาวใหญ่ และ ได้กลับมาบ้านในช่วง 23-25 มีนาคม 63 สอบสวนแล้วมีผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยรายนี้ 9 คน – 2 ราย ได้ตรวจและผลติดเชื้อ อยู่ที่ รพ.กระบี่ […]
COVID-19
สรุปสถานการณ์ โควิด-19 วันที่ 09 เม.ย. 63 ติดเชื้อสะสม 2,423 ราย เสียชีวิตสะสม 32 ราย วันที่ 09 เม.ย. 2563 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 54 ราย เป็นคนในพื้นที่ 67 จังหวัด ติดเชื้อสะสม 2,423 ราย เสียชีวิตสะสม 32 ราย ป่วยแล้ว 940 ราย ผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 54 ราย โดยมีจังหวัดดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 22 ราย […]
รองผู้ว่าฯสตูลแถลงเพิ่มข้อยกเว้นควบคุมการเข้า-ออก ข้ามเขตพื้นที่จังหวัดสตูล กันภัยโควิด-19 สืบเนื้องจากวันที่ 8 เมษายน 2563 นายศักระ กปิลกาญจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ประธานประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมการเข้า-ออก ข้ามเขตพื้นที่จังหวัด เพื่อป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตามคำสั่งจังหวัด เพื่อพิจารณารายละเอียดในการควบคุมการเข้า-ออก ข้ามเขต จังหวัดสตูล คำสั่งห้ามประชาชนเดินทางเข้า – ออก ข้ามเขตพื้นที่จังหวัดสตูล ตั้งแต่วันที่ 3 – 30 เม.ย. 63 โดยมียกเว้น 9 กรณี ดังนี้ 1. การขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาพยาบาล 2. การขนส่งเงินของธนาคารและสถาบันทางการเงิน 3. การขนส่งสินค้าอุปโภค-บริโภค 4. การขนส่งสินค้าทางการเกษตร ปศุสัตว์ อาหารสัตว์ 5. ไปรษณีย์และการขนส่งพัสดุภัณฑ์ 6. การขนส่งวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรก่อสร้าง 7. การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง […]
ชาวนาหมดห่วงสถานการณ์ข้าวของประเทศกับภัยโควิด-19 8 เมษายน 2563 (วานนี้) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้สัมภาษาณ์ว่าขณะนี้ราคาข้าวเปลือกในตลาดกระเตื้องขึ้นสูงเป็นลำดับ เพราะนอกจากจะเกิดจากมาตรการส่งเสริมให้ชาวนาเก็บสต๊อกข้าวไว้โดยได้รับเงินชดเชยแล้ว ราคาทางการในท้องตลาดที่กระทรวงพาณิชย์รายงานสำหรับข้าวนาปรังขึ้นมาอยู่ที่ราคา 9,200 บาท-10,500 บาทต่อตัน ส่วนข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ 14,000-15,300 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกหอมประทุม อยู่ที่ราคา 10,000-10,500 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวอยู่ที่ราคา 15,600 บาทถึง 17,500 บาทต่อตัน เป็นต้น ในภาคใต้เรานั้น เป็นที่ข้าวกำลังเข้าฤดูเก็บเกี่ยว โดยอิงราคาดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ราคาตันละ 14,200 บาท ราคาสูงกว่าราคาเป้าหมาย ข้าวเปลือกเจ้าราคาตันละ 9,638 บาท ชดเชยส่วนต่างตันละ 361.84 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานีราคาตันละ 10,903 บาท ชดเชยส่วนต่างตันละ 96.54 บาท […]
ยะลาติดเชื้อโควิด-19เพิ่มวันเดียว 12 ราย ยืนยันสะสม 68 ราย พบเป็นกลุ่มดาวะห์ 7 ราย จากบันนังสตา 5 ราย 8 เม.ย.63 (วานนี้) นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้ประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Covid-19) จังหวัดยะลา ณ ห้องประชุมศรียะลา ชั้น 3 อาคาร 3 ศาลากลางจังหวัดยะลา เพื่อประเมินสถานการณ์ และติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จากข้อมูลสถานการณ์ จังหวัดยะลา พบมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 12 ราย ผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันสะสม 68 ราย รักษาหาย จำนวน 26 ราย รักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 40 ราย เสียชีวิต 2 ราย คงเดิม […]
วิเคราะห์ยุทธศาสตร์รับมือ Covid-19 กับก้าวต่อไปของไทยในอนาคต เมื่อจะกล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทยของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ในตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ หากไปในทางที่ดีจำนวนประชากรที่ป่วยก็คงจะลดลงอีกไม่นาน แต่มองมุมกลับประเทศไทยมีอัตราการติดเชื้อที่สูงขึ้น แน่นอนย่อมส่งผลในทางที่ไม่ดีแน่ๆ ประเทศอาจจะเหมือนกับอิตาลี ที่มียอดผู้ติดเชื้อทะลุหลักหมื่นในไม่ช้า สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เพราะรูปแบบการติดเชื้อจากคนสู่คนแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากมองย้อนกลับไปในช่วงปี 2009 ช่วงนั้นทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับ“ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1/2009”) ระบาดลุกลามไปในหลายทวีป แม้จะมีอัตราผู้เสียชีวิตต่ำไม่รุนแรงเท่าไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน ณ ขณะนั้นประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อถึงหลักล้านคน กล่าวได้ว่าเป็นบทพิสูจน์ความสามารถของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยการระบาดภายในประเทศอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยพบว่าตัวขับเคลื่อนการระบาดที่สำคัญได้แก่กลุ่มเด็กนักเรียนประถมและมัธยม มีการระบาดในโรงเรียนต่างๆ เริ่มจากกรุงเทพฯและปริมณฑล และแพร่ขยายไปทั่วทุกจังหวัด กล่าวคือ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2552 ได้รับรายงานการระบาดและปิดโรงเรียนไปกว่า 476 โรงเรียน ซึ่งบ่งชี้ลักษณะสำคัญของการระบาดไว้ เช่น มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการระบาดในโรงเรียนและสถานศึกษา หรือมีลักษณะทางกายภาพของสถานที่ซึ่งเอื้อต่อการระบาด ซึ่งสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (ซีดีซี) คาดการณ์ว่า โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 คร่าชีวิตประชากรโลกรวมกว่า 280,000 คน กลับมายัง […]