วิเคราะห์ หากเราต้องอยู่กับโควิด-19 นานถึง 18 เดือน หากจะพูดถึงเหตุการณ์ปัจจุบันเราก็คงหนีไม่พ้นสถานการณ์โควิด-19 ที่ในช่วงที่ผ่านมาคร่าชีวิตผู้คนในโลกไปอย่างมากมาย และดูเหมือนว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 จะอยู่กับเราไปอีกเลยก็ว่าได้ ผลกระทบจาการเกิดโควิด-19 สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของเศรษฐกิจที่ดูตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ภาวะการท่องเที่ยวที่หนักหนาสาหัสจนทำให้ผู้ประกอบการหลายราย ตัดสินวางมือจากธุรกิจที่ตัวเองทำ หรือแม้แต่ภาคการศึกษาที่ยังไม่วายโดนผลกระทบครั้งนี้เข้าไปด้วย เด็กจบใหม่ จะต้องใช้ชีวิตอย่างไรกับวิกฤตกาณ์ในครั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมานั้นทาง สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าวขึ้น โดยมีรายละเอียดว่า ในแง่ของเศรษฐกิจ ที่ประชุมเห็นว่า ควรมีการพิจารณาถึงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศจากเดิมไปสู่โครงสร้างแบบใหม่ โดยต้องทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ผ่านการหาภาคส่วนที่มีศักยภาพมาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ภาคส่วนที่มีศักยภาพที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศได้มีทั้งภาคการเกษตร-ปศุสัตว์ อาหาร ที่ต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ภาคส่วนการท่องเที่ยวที่ต้องเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ นั้นหมายความว่าเราจะต้องสร้างมูลค่าต่อหัวของนักท่องเที่ยวในมูลค่าที่สูงขึ้น และสามารถกระจายการท่องเที่ยวสู่ภูมิภาคต่างๆเพื่อให้รายได้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องมองถึงเรื่องการสร้างงานในชนบทรองรับคนกลับภูมิลำเนา และการสร้างงานเพื่ออนาคต ซึ่งในเรื่องนี้ สอวช. อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจความต้องการกำลังคนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 กลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อนำมาจัดทำ Manpower Planning หรือ กระบวนการในการคาดการณ์ความต้องการและตอบสนองความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรอย่างเป็นระบบ […]
เศรษฐกิจ
ชาวนาหมดห่วงสถานการณ์ข้าวของประเทศกับภัยโควิด-19 8 เมษายน 2563 (วานนี้) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้สัมภาษาณ์ว่าขณะนี้ราคาข้าวเปลือกในตลาดกระเตื้องขึ้นสูงเป็นลำดับ เพราะนอกจากจะเกิดจากมาตรการส่งเสริมให้ชาวนาเก็บสต๊อกข้าวไว้โดยได้รับเงินชดเชยแล้ว ราคาทางการในท้องตลาดที่กระทรวงพาณิชย์รายงานสำหรับข้าวนาปรังขึ้นมาอยู่ที่ราคา 9,200 บาท-10,500 บาทต่อตัน ส่วนข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ 14,000-15,300 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกหอมประทุม อยู่ที่ราคา 10,000-10,500 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวอยู่ที่ราคา 15,600 บาทถึง 17,500 บาทต่อตัน เป็นต้น ในภาคใต้เรานั้น เป็นที่ข้าวกำลังเข้าฤดูเก็บเกี่ยว โดยอิงราคาดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ราคาตันละ 14,200 บาท ราคาสูงกว่าราคาเป้าหมาย ข้าวเปลือกเจ้าราคาตันละ 9,638 บาท ชดเชยส่วนต่างตันละ 361.84 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานีราคาตันละ 10,903 บาท ชดเชยส่วนต่างตันละ 96.54 บาท […]
จับตาดูครม.ดันมติ 5 มาตราการเด่นเยียวยา covid-19 วิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อประชาชน เศรษฐกิจ และสังคม เป็นวงกว้าง ทำให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องออกหลายๆ มาตรการในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และควบคุมลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งล่าสุดเมื่อวานนี้ (7 เมษา) ได้มีการออกมาตรการเพิ่มเติมมาในการประชุมครม. โดยอนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยา โควิด-19 เฟส 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อการสาธารณสุข ดูแลเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งภาคการเงิน ภาคธุรกิจ ประชาชน และเกษตรกร จะบังคับใช้ภายในเดือนนี้ มติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ COVID-19 มี 5 มาตรการเด่นๆ ดังนี้ 1. ปรับการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จาก 16 พ.ค. 63 […]
เคอร์ฟิวสกัดโควิด-19 มีผลกระทบต่อพี่น้องสวนยางหรือไม่ จากสถิติของการยางแห่งประเทศไทยจะพบว่า ปริมาณยาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราปรับตัวลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดกรีด โดยปริมาณยางรวม 6,394.84 ตัน แบ่งเป็นยางแผ่นดิบ1,244.49 ตัน ยางแผ่นรมควัน 5,150.34 ตันลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 3,824.38 ตันคิดเป็นร้อยละ 37.42 ราคายางท้องถิ่นเฉลี่ยอยู่ที่ 39.13 บาท/กก. ปรับตัวลดลง0.59บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ1.49 ราคาน้ำยางสดอยู่ที่ 38.93 บาท/กก. ปรับตัวลดลง2.84 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 6.81 และราคายางก้อนถ้วย 100 เปอร์เซ็น อยู่ที่30.96บาท/กก. ปรับตัวลดลง 2.87 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 8.48 ราคายางโดยภาพรวมปรับตัวลดลง เหตุจากนักลงทุนเทขายสัญญาในตลาดล่วงหน้า หลังจากเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระจายตัวอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ของประเทศไทย อย่างไม่สามารถควบคุมได้ ณ ขณะนี้ผู้ว่าฯประกาศมาตรการเคอร์ฟิวหลายจังหวัดและบางพื้นที่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 […]
จ่ายรอบแรก 8 เม.ย.นี้ รอรับเงินเยียวยา 5 พันบาท นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยความคืบหน้าการเปิดรับลงทะเบียนตามมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) กล่าวว่า วันที่ 8 เม.ย.นี้ จะเป็นวันแรกที่เริ่มจ่ายเงิน และจะทยอยจ่ายทุกวันตามผลการคัดกรอง ไม่มีการกำหนดโควต้าว่าจะจ่ายวันละกี่คน ไม่ใช่จ่ายทั้งล็อตของเดือนเมษายน เพราะการลงทะเบียนยังไม่สิ้นสุด การตรวจสอบคัดกรองแต่ละคนก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน คนไหนตรวจเสร็จถ้าผ่านก็รีบจ่ายเงินให้เลย “ทั้งนี้ยังกล่าวอีกว่า วันที่ 8 เม.ย.นี้ เป็นต้นไปจะทยอย sms รวมทั้ง email (ถ้าแจ้งไว้) ไปบอกให้ผู้ลงทะเบียนทราบทั้งผู้ที่ผ่านและไม่ผ่าน สำหรับผู้ที่ไม่ผ่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดผลการคัดกรองเพิ่มเติมได้ที่เว็บ “เราไม่ทิ้งกัน” ได้เพราะเหตุผลใด” HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก : โพสต์ทูเดย์
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ของแต่ละสถาบันการเงิน นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. เปิดเผยว่า ได้จัดทำมาตรการเพิ่มเติม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกค้าเงินกู้ เช่น ไกด์นำเที่ยว, พนักงานโรงแรม, ผู้ประกอบการรายย่อย ที่ขายสินค้าในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มเสี่ยง หรืออาชีพอื่นที่แสดงหลักฐานให้ธนาคารตรวจสอบได้ว่า เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ หรือโรค COVID-19 ซึ่งครอบคลุมลูกค้ากลุ่มค้างชำระเงินงวดตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ด้วย โดยธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินงวดผ่อนชำระให้ 4 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงเหลือ 1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เพื่อลดภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระ ซึ่งสามารถไปยื่นเอกสาร เพื่อเข้าร่วมมาตรการได้ที่สาขาของธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกแห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน นี้ ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรค COVID 19 ที่มีแนวโน้มลุกลามและส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไป จึงได้ร่วมกับสถาบันการเงิน […]