เปิดด่านฟื้นการค้าชายแดนกระตุ้นส่งออกครึ่งปีหลัง สิ้นสุดโควิด-19 รัฐบาลได้ประกาศเปิดการค้าชายแดนอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นมา หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง โดยมีเป้าหมายเพื่อเร่งฟื้นฟูการค้าชายแดนให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าช่วงครึ่งปีหลัง สถานการณ์การค้าชายแดนจะยิ่งปรับตัวดีขึ้น ซึ่งปัจจุบัน จังหวัดสงขลามีด่านไทย-มาเลเซีย จำนวน 2 จุด คือ จุดผ่านแดนถาวรด่านบ้านประกอบ จ.สงขลา/จุดผ่านแดนถาวรปาดังเบซาร์ จ.สงขลา โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการเปิดด่านถาวร เพราะการปิดด่านฯ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการทั้งส่งออกและนำเข้า เพราะไทยต่างก็ต้องพึ่งพาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านกันมายาวนาน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านมีความต้องการสินค้าไทยเป็นอย่างมากเพราะ ความนิยมในคุณภาพของสินค้าไทยซึ่งมีมาตรฐานสินค้าและความคุ้มค่าสูง นอกจากเราจะขายสินค้าให้เพื่อนบ้านได้มากแล้ว เรายังได้รับสินค้าที่มีความหลากหลายจากเพื่อนบ้าน ทำให้เรามีทางเลือกมากขึ้นและยังได้ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศชี้ให้เห็นว่า ประชาชนคนไทยได้รับประโยชน์จากการได้ดุลการค้าเพื่อนบ้าน โดยในช่วงปี 2562 การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ในด้านมูลค่าการค้าชายแดนในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา พบว่า มาเลเซีย ยังเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์และแผงวงจรไฟฟ้า […]
เศรษฐกิจชายแดนใต้
จังหวัดปัตตานี เปิดตลาดกลางปศุสัตว์ หลังวิกฤต COVID-19 กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนใต้ นายบัญชา สัจจาพันธ์ ปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี มอบหมายให้กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการปศุสัตว์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ร่วมกับปศุสัตว์อำเภอ 12 อำเภอในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ร่วมกิจกรรมตลาดนัดโคกรุบาน หลังวิกฤต COVID-19 รัฐบาลผ่อนคลาย ระยะ 4 หลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติโควิด 19 จังหวัดปัตตานีมีการเลี้ยงปศุสัตว์อยู่พอสมควร แต่ความเป็นจริงแล้วยังมีการเลี้ยงไม่มากพอกับจำนวนความต้องการบริโภคของพี่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลทำโคกรุบ่านตามพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม เราจึงเห็นว่าโคและแพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความต้องการสูง เพราะฉนั้นจึงเกิดเป็นความคิดว่า ทำอย่างไรให้อาหารที่ได้มาจากการเลี้ยงปศุสัตว์มีมากเพียงพอ จึงเป็นที่มาของการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปศุสัตว์มากขึ้นในพื้นที่ของเรา แต่สิ่งหนึ่งในการส่งเสริมการผลิตก็คือเราต้องมีหลักประกันว่าผลผลิตนั้นสามารถขายได้ หาตลาดรองรับให้เกษตรกรเหล่านั้นได้ และนี่คือโครงสร้างพื้นฐานที่เราได้ร่วมกันประชุมหารือและ ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนตลาดปศุสัตว์ในพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม โดยจังหวัดปัตตานี เริ่มขยับขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านปศุสัตว์ บริเวณตลาดกลางปศุสัตว์ชายแดนใต้ มีการซื้อขาย โคกรุบาน เพื่อพิธีกรรมของพี่น้องมุสลิมชายแดนใต้ เริ่มศักราช มีการซื้อขายทุกวันอังคารของเดือน เชิญชวนผู้ประกอบการ ผู้สนใจ พี่น้อง มาช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจชายแดนใต้ จำนวนโคเข้าตลาด 25 ตัว มูลค่า 657,000 บาท ขายได้ 5 ตัว มูลค่า 129,500 บาท ภายใต้เมืองปศุสัตว์ปัตตานี 4.0 มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : กรมข่าวประชาสัมพันธ์