กรมประมง ประกาศ “ปิดอ่าวไทย ประจำปี 2564” เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติทางทะเลและทรัพยากรสัตว์น้ำ นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมง ประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในทะเลอ่าวไทย ตอนกลาง ครอบคลุมเขตพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม 2564 เป็นระยะเวลา 90 วัน ต่อด้วยเขตชายฝั่งทะเลตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลางและเขตต่อเนื่องปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม– 14 มิถุนายน 2564 เป็นระยะเวลา 30 วัน มาตรการ “ปิดอ่าวไทย” เป็นมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในฝั่งทะเลอ่าวไทย เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีใช้อย่างยั่งยืนและ เป็นมาตรการที่สำคัญและเป็นภารกิจหลักของกรมประมงที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืน และให้เกิดความสมดุลเหมาะสมกับการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวประมง ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลาปิดอ่าว 16 พฤษภาคม– 14 มิถุนายน 2564 อนุญาตให้เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง ไม่ได้จำกัดความยาวของเรือที่ใช้ทำการประมง และเวลาในการทำการประมง ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งของพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและสุราษฎร์ธานี และอนุญาตให้เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ) ประกอบเรือกลที่มีขนาด 10 ตันกรอส สามารถทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง บริเวณเขตต่อเนื่องปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : กรมประมง
อ่าวไทย
นิพนธ์ สำรวจแนวชายฝั่งทะเล จ.สงขลา หลังถูกคลื่นแรงฤดูมรสุมกัดเซาะได้รับความเสียหาย สืบเนื่องจากเมื่อระหว่างวันที่ 8-13 มกราคม 2564 ได้เกิดสภาวะคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยบริเวณชายฝั่งจังหวัดสงขลา และยังคงมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุม อ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมแรง น้ำทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่งผลให้ชายฝั่งจังหวัดสงขลาถูกคลื่นลมแรงพัดกระหน่ำกัดเซาะชายฝั่ง สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่บริเวณชายหาดของจังหวัดสงขลา ตลอดแนวชายฝั่งส่งผลทำให้บ้านเรือนของประชาชน ชาวบ้านหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลอ่าวได้รับความเดือดร้อน ตอนนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากคลื่นได้ถล่มเข้าหาชายฝั่งตั่งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ต่อมาวันที่ 16 ม.ค.64 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหาดไทย ลงพื้นที่หาดแก้ว ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เพื่อสำรวจน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งสิงหนคร บริเวณหาดแก้ว ตำบลชิงโค ซึ่งขณะนี้ด้านหาดแก้ว ได้ถูกคลื่นกัดเซาะล้นเข้าสู่แนวเขื่อนกั้นน้ำ จนทำให้เกิดความเสียหายตลอดแนวถนนหน้าเขื่อนบริเวณตลอดชายฝั่งหาดแก้ว โดยเฉพาะถนนด้านหลังบ้านพักพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเกิดความเสียหายเป็นแนวยาว ซึ่งขณะนี้ทางโยธาธิการและผังเมืองสงขลา ได้นำรถแบ็คโฮ มาทำการปรับปรุงถนนใหม่ ซึ่งขณะนี้นายสมบูรณ์ นวลเจริญ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสงขลา ได้รายงานความคืบหน้าของสถานการณ์น้ำกัดเซาะ โดยมีเจ้าหน้าที่กองช่าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ผกก.สภ.สิงหนคร เจ้าหน้าที่ อส. ร่วมลงพื้นที่ HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : สวท.สงขลา
กรมอุตุประกาศฉบับที่ 1 พายุดีเปรสชันที่ก่อเป็นพายุโซนร้อน มีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงก่อนเคลื่อนเข้าบริเวณอ่าวไทยในช่วงวันที่ 23-24 ธ.ค. 63 วันนี้ (19 ธ.ค. 63) เมื่อเวลา 10.00 น. พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ หรือมีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 9.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 121.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป ซึ่งมีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงก่อนเคลื่อนเข้าบริเวณอ่าวไทยในช่วงวันที่ 23-24 ธ.ค. 63 อนึ่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร […]
“สนธิรัตน์ รมต.พลังงาน” เตรียมเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมรอบใหม่พื้นที่อ่าวไทย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายสมบูรณ์ วัชระชัยสุรพล รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สื่อมวลชน และคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกิจการผลิตปิโตรเลียมแหล่งก๊าซธรรมชาติกลุ่มเอราวัณ พร้อมทั้งประกาศแผนการเปิดยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ 23 บริเวณทะเลอ่าวไทย ยังได้มีการเปิดเผยอีกว่า การลงพื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติกลุ่มเอราวัณครั้งนี้ เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทย โดยแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวมีความสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งปิโตรเลียมแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งได้สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนคนไทยและประเทศชาติมาโดยตลอดตั้งแต่การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยความคืบหน้า ในขณะนี้ทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อยู่ในระหว่างการพิจารณากำหนดพื้นที่แหล่งปิโตรเลียม ระบบการบริหารจัดการ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับการเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ จากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การเปิดให้เอกชนเข้ามาศึกษาข้อมูลไปจนถึงประกาศผู้ชนะการประมูล HATYAITODAYNEWS ภาพ: Thairath อ้างอิง: songkhlatoday.com