ป.ป.ส. ย้ำพืชกระท่อมยังผิดกฎหมาย จับจริงย้ำห้ามการเสพ ครอบครอง ผลิตหรือจำหน่าย ป.ป.ส. เปิดเผยว่า ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ … ) พ.ศ. … หรือ “ร่างกฎหมายปรับสถานะพืชกระท่อมออกจากยาเสพติด” เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างการส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่มีการแก้ไข พื้นที่ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการพืชกระท่อมที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ให้สามารถครอบครองและ เสพได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งขณะนี้เตรียมประกาศและกำหนดแล้วจำนวน 135 หมู่บ้าน/ชุมชน ใน 10 อำเภอ 10 จังหวัด เป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษารูปแบบการควบคุมพืชกระท่อม ผ่านกลไกการควบคุมในชุมชน เพื่อป้องกันการใช้ผิดวัตถุประสงค์และเป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รวมถึงแนวทางการควบคุม ที่จะสามารถนำมาใช้ภายหลังการปรับสถานะพืชกระท่อมในอนาคตอีกด้วย แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ พืชกระท่อมยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 การเสพ ครอบครอง จำหน่าย หรือผลิต โดยการนำไปต้มในรูปแบบน้ำ หรือแปรรูปในรูปแบบอื่นๆ ยังเป็นการกระทำความผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ […]
สำนักยาและวัตถุยาเสพติด
เพิ่มข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์กัญชา ในตำรายาของไทย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การพัฒนายาจากกัญชาเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความมั่นคงทางด้านยา การนำผลิตภัณฑ์กัญชามาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ทั้งในแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยนั้น วัตถุดิบกัญชา และผลิตภัณฑ์ยากัญชาทุกชนิดจำเป็นต้องมีคุณภาพดี และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลซึ่งมาตรฐานดังกล่าวของประเทศไทยที่ผ่านมายังไม่มีให้อ้างอิง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า มอโนกราฟสารสกัดกัญชา และน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น เป็นมอโนกราฟใหม่ที่ยังไม่มีบรรจุอยู่ในตำรายาเล่มใดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชา โดยการตรวจเอกลักษณ์และการหาปริมาณสารสำคัญ รวมถึงสารปนเปื้อนต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลนั้น มีความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นต่อบุคลากรทางการแพทย์ และผู้บริโภคในการใช้ยาดังกล่าวว่ายานั้นได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย พร้อมทั้งยังช่วยยกระดับอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศให้มีมาตรฐานสากล อีกทั้งเป็นตำราอ้างอิงด้านการควบคุมคุณภาพยา สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนิสิต นักศึกษาและผู้สนใจ ดังนั้นสำนักยาและวัตถุเสพติด จึงได้จัดทำตำรายาของประเทศไทย ฉบับเพิ่มเติมปี 2020 (Thai Pharmacopoeia II Volume I Part 1 Supplement 2020) ขึ้นมาเพื่อใช้อ้างอิงตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์กัญชา จำนวน 2 มอโนกราฟ ได้แก่ […]