สภาภัยพิบัติแห่งชาติ คาดการณ์ภาคใต้ปี 64 ฝนจะมาไวกว่าปกติ ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน วันที่ 27 ม.ค. 64 มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติเปิดเผยข้อมูลระยะไกลเกี่ยวกับฝนในภาคใต้ปี 64 จากคาดการณ์ในปี 64 ฝนจะมาไวกว่าปกติ ซึ่งจะเริ่มีฝนในเดือนมีนาคม-เมษายน ทางด้านดร.เสรี ศุภราทิตย์ เตือนภาคใต้อาจมีน้ำท่วม อาจคล้ายน้ำท่วมใหญ่ปี 54 ที่น้ำท่วมภาคใต้ 10 จังหวัดในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนในปี 54 มีผู้เสียชีวิต 48 คน อย่างไรก็ตามขอให้ทุกท่านอย่าได้ขยายข้อมูลจนนำไปสู่การจินตนาว่าน้ำจะท่วมเหมือนปี 54 แต่อยากให้เป็นข้อมูลในการเตรียมการและตระหนักรู้ และข้อให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
สภาพอากาศ
เฝ้าระวังฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคใต้ PM2.5 เริ่มมีฝุ่นควันในพื้นที่อ.หาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงสูง “ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มมีฝุ่นควันในพื้นที่อ.หาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียง เฝ้าระวังฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคใต้ PM2.5 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด” ค่าปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและสตูลเริ่มมีค่าสูงขึ้นกว่าปกติ แต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา สามารถสังเกตเห็นได้ว่ามีฝุ่นควันปกคลุมทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง ทั้งนี้เนื่องจากขณะนี้เป็นต้นฤดูการเผาในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อพิจารณาจำนวนจุดเผาไหม้ในพื้นที่เกาะสุมาตราจากภาพถ่ายเทียม พบว่าเริ่มจำนวนสูงขึ้นโดยเฉพาะตอนบนของเกาะสุมาตรา และทิศทางลมตะวันตกเฉียงใต้ได้พัดผ่านหมู่เกาะสุมาตราเข้าสู่พื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ จังหวัดสงขลา และสตูล เป็นต้น อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ภาคใต้มีฝนตกชุกต่อเนื่องทำให้เกิดหมอกอันเนื่องจากความชื้นในอากาศสูงร่วมด้วย ประชาชนสามารถตรวจสอบค่าความเข้มข้น PM2.5 ได้จากสถานีวิจัยตรวจวัดค่าฝุ่นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่: http://airsouth.things.in.th และควรใส่หน้ากากป้องกันหากจำเป็น โดยค่าเฉลี่ยรายชั่วโมง ณ ขณะนี้ มีค่าเท่ากับ 47 ไมโครกรัม/ลบ.ม. (สถานีวิจัย ม.อ. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา) รายงานโดย สถานวิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (https://www.facebook.com/HazeSituationinSouthernThailand/) HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์หมอกควันในภาคใต้
เตือนพายุฤดูร้อน กรมอุตฯแจ้งเฝ้าระวังฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง วันนี้ 13 เม.ย. 2563 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ อาจจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และสำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ภาคใต้จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอกจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ […]
อุตุฯ เผยไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ “ภาคใต้” มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง วันนี้ “ภาคเหนือตอนล่าง-อีสานล่าง-กลาง-ตะวันออก” มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางพื้นที่ รวมทั้งฟ้าผ่า ลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคตะวันออก “กทม.-ปริมณฑล” ลมอ่อน ฝุ่นละอองมากขึ้น พายุฝนฟ้าคะนอง เมื่อวันที่ 14 มี.ค.63 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศร้อนที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อนึ่งบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย คาดว่าจะแผ่ลงมา ปกคลุมประเทศลาวและทะเลจีนใต้ตอนบนในวันนี้ (14 มี.ค.) ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่ รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ และลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 14-17 มีนาคม 2563 ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา เมื่อเวลา 04.00 น. หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไป สำหรับภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก […]