ศูนย์ดำรงธรรมมอบทะเบียนมัสยิด ณ มัสยิดมิฟตะฮุนยันนะฮ์ อ.บางกล่ำ แก่พี่น้องประชาชนประกอบศาสนกิจ วันนี้ 11/12/63 เวลา 12.00 น. ณ มัสยิดมิฟตะฮุนยันนะฮ์ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา ร่วมพิธีมอบทะเบียนมัสยิด โดยมีประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา พร้อมคณะกรรมการ ฯ อิหม่าม และคณะกรรมการประจำมัสยิด พร้อมพี่น้องประชาชน มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง สำหรับมัสยิด นอกจากจะเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจแล้ว ยังถือเป็นสถานที่ฝึกอบรมจริยธรรมให้แก่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะเด็ก และเยาวชน ที่จะต้องเรียนรู้หลักคำสอนทางศาสนา เพื่อขัดเกลาจิตใจ ดุจดั่งการฉีดวัคซีนป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ให้เด็ก และเยาวชนเหล่านั้นยึดมั่นในศาสนา สามารถออกไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เป็นภาระให้สังคมต้องมาดูแล นอกจากนี้ มัสยิดยังเป็นจุดรับเรื่องร้องเรียนและเจรจาไกล่เกลี่ย โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว ซึ่งต้องใช้หลักศาสนาเป็นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลาได้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกับคณะกรรมการ ฯ และพี่น้องประชาชนที่มาร่วมพิธีดังกล่าว […]
ศาสนาอิสลาม
เดินหน้าพัฒนาศักยภาพอิหม่าม 5 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องชาวไทยมุสลิม ช่วงบ่ายเมื่อวานนี้ (17 ส.ค. 63) ที่โรงแรมไดอิชิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายสมหวัง เรืองเพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของอิหม่ามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี พ.ศ.2563 โดยมีนายโชติพงศ์ เปล่งวิทยา หัวหน้ากลุ่มงานบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พร้อมด้วยประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา หัวหน้ากลุ่มงานบริหาร องค์กรศาสนาอิสลาม และผู้เข้าร่วมอบรมร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งกล่าวว่า “อิหม่าม” เป็นผู้นำทางศาสนาที่มีบทบาทสำคัญ ทั้งทางกฎหมาย และทางสังคม ในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการดูแลชาวไทยมุสลิมให้อยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างสันติสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีบนพื้นฐานของการดำรงตนตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือภารกิจของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย และเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้สามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขยั่งยืน ซึ่งบทบาทหน้าที่เหล่านี้ คือหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” และมีภารกิจหน้าที่ในการดูแล และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ เช่น การลงทะเบียนผู้ประสงค์เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ การจัดเที่ยวบินขนส่งในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ การอำนวยความสะดวกในระหว่างการเดินทาง […]
จังหวัดปัตตานี เปิดตลาดกลางปศุสัตว์ หลังวิกฤต COVID-19 กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนใต้ นายบัญชา สัจจาพันธ์ ปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี มอบหมายให้กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการปศุสัตว์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ร่วมกับปศุสัตว์อำเภอ 12 อำเภอในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ร่วมกิจกรรมตลาดนัดโคกรุบาน หลังวิกฤต COVID-19 รัฐบาลผ่อนคลาย ระยะ 4 หลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติโควิด 19 จังหวัดปัตตานีมีการเลี้ยงปศุสัตว์อยู่พอสมควร แต่ความเป็นจริงแล้วยังมีการเลี้ยงไม่มากพอกับจำนวนความต้องการบริโภคของพี่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลทำโคกรุบ่านตามพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม เราจึงเห็นว่าโคและแพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความต้องการสูง เพราะฉนั้นจึงเกิดเป็นความคิดว่า ทำอย่างไรให้อาหารที่ได้มาจากการเลี้ยงปศุสัตว์มีมากเพียงพอ จึงเป็นที่มาของการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปศุสัตว์มากขึ้นในพื้นที่ของเรา แต่สิ่งหนึ่งในการส่งเสริมการผลิตก็คือเราต้องมีหลักประกันว่าผลผลิตนั้นสามารถขายได้ หาตลาดรองรับให้เกษตรกรเหล่านั้นได้ และนี่คือโครงสร้างพื้นฐานที่เราได้ร่วมกันประชุมหารือและ ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนตลาดปศุสัตว์ในพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม โดยจังหวัดปัตตานี เริ่มขยับขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านปศุสัตว์ บริเวณตลาดกลางปศุสัตว์ชายแดนใต้ มีการซื้อขาย โคกรุบาน เพื่อพิธีกรรมของพี่น้องมุสลิมชายแดนใต้ เริ่มศักราช มีการซื้อขายทุกวันอังคารของเดือน เชิญชวนผู้ประกอบการ ผู้สนใจ พี่น้อง มาช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจชายแดนใต้ จำนวนโคเข้าตลาด 25 ตัว มูลค่า 657,000 บาท ขายได้ 5 ตัว มูลค่า 129,500 บาท ภายใต้เมืองปศุสัตว์ปัตตานี 4.0 มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : กรมข่าวประชาสัมพันธ์
เร่งรัฐบาลหนุนงบประมาณป้องกันโควิด-19 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การเตรียมความพร้อมที่จะเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 นี้จากการประชุมร่วมกันระหว่างสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั้ง 5 จังหวัด( ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา)ชมรมผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตามข้อเสนอเร่งด่วนในสถานกรณ์โควิด-19 ที่ได้ข้อสรุปนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา ประกอบด้วย 1.รัฐสนับสนุนงบประมาณให้กับโรงเรียนรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 จำนวน 400,000 บาท และ 500,000 บาท ซึ่งในขณะเดียวกันโรงเรียนเอกชนต้องกู้ยืมและให้จ่ายคืนภายใน 1 ปี ดังนั้นจึงขอให้สนับสนุนงบประมาณจำนวนดังกล่าวเหมือนกับโรงเรียนรัฐบาล 2.ขอให้รัฐสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 จำนวน 8 รายการ ให้กับโรงเรียนเอกชนเช่นเดียวกับโรงเรียนรัฐบาล 3.ขอให้รัฐสนับสนุนเยียวยาครูเอกชนตามที่สำนักกงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.)ได้สำรวจมา 4.ขอให้รัฐสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาโรงเรียนเอกชนตามที่ สช.ได้สำรวจมาแล้ว และ 5.ขอให้รัฐสนับสนุนงบปรับทัศนคติเด็กอายุ 1-5 ขวบ โดยแปรเป็นงบพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กอนุบาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในประเด็นดังกล่าวทราบว่าขณะนี้ที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้บรรจุลงวาระไว้แล้ว แต่ก็ยังเป็นห่วงว่าอีกไม่กี่วันโรงเรียนก็จะเปิดแล้ว แต่ว่าความพร้อมของโรงเรียนเอกชนในพื้นที่ก็ยังไม่เรียบร้อยเท่าที่ควร HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : กรมข่าวประชาสัมพันธ์