หาดม่วงงาม ไม่มีปั่นจั่นเเล้วหลังศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เช้าวันนี้(16/7/63) ผู้รับเหมาได้นำปั่นจั่นออกจากหาดทรายม่วงงามเเล้ว พร้อมวัสดุก่อสร้างบางส่วน หลังจากเมื่อปลายเดือนมิถุนายนศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทำให้โครงการถูกชะลอไปจนกว่าศาลจะพิพากษาถึงที่สุด คำวินิจฉัยศาลปกครองสงขลาหลังมีคำสั่งระงับการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นชายหาดม่วงงาม ระยะที่ 1 และ 2 จากการสุ่มตรวจผลสำเร็จของโครงการฯ ที่มีการเลือกใช้กำแพงกันคลื่น 41 แห่ง งบประมาณ 722.07 ล้านบาทในพื้นที่ 13 จังหวัด พบว่ามีโครงการที่ไม่สามารถแก้การกัดเซาะได้หรือแก้ปัญหาได้บางส่วน จำนวน 15 โครงการ งบประมาณ 122.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.58 ของจำนวนโครงการที่เลือกใช้โครงสร้างกำแพงกันคลื่นทั้งหมดที่สุ่มตรวจ ทั้งหมดนี้เป็นที่มาที่ศาลปกครองสงขลา สรุปว่า ตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และข้อ 75 และข้อ 77 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ประกอบกับมาตรา 254 วรรคหนึ่ง […]
ม่วงงาม
โยธาธิการชี้แจง โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงาม ความงามที่กำลังจะถูกพัฒนาขึ้น ชายหาดม่วงงามในพื้นที่ หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 ของตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นหาดทรายท่องเที่ยวที่มีความสวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยว แต่พื้นที่อันสวยงามแห่งนี้กำลังถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง จากรายงานฐานข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่งของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในปี 2558 พบว่า พื้นที่หมู่ 7 จัดเป็นพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระดับพื้นที่เร่งด่วน และจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่าบริเวณชายฝั่งโครงการ หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 มีอัตราการกัดเซาะอยู่ในช่วง 0.56 – 1.49 เมตรต่อปี หรือกัดเซาะเข้ามาในแผ่นดินแล้วประมาณ 9 – 24 เมตร ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราการกัดเซาะไม่รุนแรง อยู่ในช่วงกัดเซาะน้อยถึงกัดเซาะปานกลาง แต่เนื่องจากมีสถานที่ราชการ บ้านเรือนของประชาชน และมีแนวถนนเลียบชายหาดซึ่งใช้เป็นเส้นทางสัญจรของชุมชน […]
บทวิเคราะห์ เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงาม ผลกระทบและการพัฒนาวิถีชีวิตแนวชายฝั่ง เมื่อพูดถึง หาดม่วงงาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ความยาวระยะทาง 7.2 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอสิงหนครเป็นระยะทาง 16 กิโลเมตร ลักษณะเป็นหาดทรายขาว เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสามารถจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ลอยกระทงและพักแรม มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในตอนนี้ได้เกิดกรณีที่มีชาวบ้านในพื้นที่ ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ได้ออกมาชุมนุมเรียกร้อง และแสดงความกังวลเกี่ยวกับ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนลงมือสร้างกำแพงกันคลื่นหาดม่วงงาม ด้วยการติดแฮซแท็ก #SAVEหาดม่วงงาม โดยทางเครือข่ายประชาชนรักษ์หาดม่วงงามได้ทำการยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ขอให้ระงับการก่อสร้าง ทางสำนักข่าว Hatyai Today News ได้ลงพื้นที่สอบถามความจริงทั้งจากตัวแทนโยธาธิการ จังหวัดสงขลาที่ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วบางส่วน และทางภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ โดยในทางภาคประชาชนชาวม่วงงามที่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ประมาณ 100 คน นั้น ยืนยันว่าไม่ต้องการโครงการดังกล่าว เนื่องจากชายหาดในพื้นที่ม่วงงามไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง และประชาชนห่วงกังวลว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวจะทำให้หาดทรายของหาดม่วงงามหายไป และกระทบกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนม่วงงาม รวมไปถึงกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการนั้นมีความบกพร่อง […]
ชาวบ้านคัดค้านการสร้างกำแพงกันคลื่นที่ชายหาดม่วงงาม ชาวบ้านในพื้นที่ออกมาค้านกำแพงกันคลื่น กังวลใจหวั่นยิ่งสร้างยิ่งทำลาย หาดทรายชายฝั่งของทะเล คลื่นซัดแรงกระทบชุมชนสิ่งแวดล้อม เพราะกำแพงกันคลื่นเป็นวิศวกรรมทางชายฝั่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นให้มีความมั่นคงและปลอดภัยจากคลื่นมรสุมต่าง ๆ มีหลายรูปแบบ เช่น หินทิ้ง กำแพงคอนกรีด กระสอบทรายเป็นต้น ซึ่งเพจ Beach for life เป็นตัวแทนของประชาชน เปิดเผยว่าที่ผ่านมามีการดำเนินโครงการสร้างกำแพงกันคลื่นที่ชายหาดอื่น ๆ เช่นกันในบริเวณชายหาดชะอำใต้ จ.เพชรบุรี, หาดทรายแก้ว จ.สงขลา, ชายหาดอ่าวน้อย และชายหาดปราณบุรี จ.ประจวบฯ ซึ่งหลังสร้างกำแพงผลลัพธ์มันกลับตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์การสร้างกำแพงคลื่นเป็นผลให้หาดทรายหายไป การกัดเซาะรุนแรงขึ้น ชุมชนได้รับความเดือดร้อนจากละอองเค็ม ๆ ของน้ำทะเลที่ซัดเข้ากับกำแพงคลื่น รวมทั้งส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป นอกจากนี้การก่อสร้างกำแพงคลื่นเป็นโครงการที่ไม่ต้องรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไทย (EIA) เมื่อปลายปีที่ผ่านมา นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ส่งส่งจดหมายร้องเรียนถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องว่า เขื่อนไม่สามารถยับยั้งความเสียหายของชายฝั่ง แต่กลับให้เกิดการกัดเซาะไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ การสร้างใช้งบประมาณรวมกันหลายหมื่นล้านบาท ให้ทบทวนว่าการใช้เงินลงทุนกับสิ่งนี้นั้นคุ้มค่าต่อการสร้างหรือไม่ แก้ปัญหาได้จริงเท็จอย่างไร ดังนั้นการเข้ามาแก้ปัญหาในดังกล่าวควรศึกษาอย่างละเอียดให้รอบด้าน […]