เกษตรกรภาคใต้มีเฮ ม.อร่วมกับสนง.เกษตรสงขลาประกาศ. ลดค่าบริการราคาพิเศษในการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและใบปาล์มน้ำมัน กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เพื่อเป็นหนึ่งช่องทางในการเข้าถึงงานวิจัยด้านการเกษตร และนำผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่ประสบผลสำเร็จและพร้อมใช้มาแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการในพืชเศรฐกิจของภาคใต้ คือ ปาล์มน้ำมัน ซึ่งคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์กลาง สำหรับตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินและตัวอย่างพืช เพื่อประเมินความต้องการธาตุอาหารของพืช พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปรับปรุงบำรุงดิน และการใช้ปุ๋ยตามผลการตรวจวิเคราะห์ โดยจะลดค่าบริการพิเศษ ให้แก่ เกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ในส่วนของค่าบริการของศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์กลาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คิดอัตราค่าบริการดังนี้ 1. การวิเคราะห์พืช (ใบปาล์มน้ำมัน) และคำแนะนำ ปกติราคา 1,500 บาท เหลือเพียง 1,020 บาท 2. การวิเคราะห์ดิน (ความอุดมสมบูรณ์พื้นฐาน) และคำแนะนำ ปกติราคา 1,500 บาท เหลือเพียง 1,070 บาท สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน 14 จังหวัดภาคใต้ ทราบถึงข้อตกลงดังกล่าว และขอเชิญส่งตัวอย่างดิน และใบปาล์มน้ำมัน ตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหาร เพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย และเป็นข้อมูลในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตเพิ่มขี้น หากเกษตรกรมีความสนใจวิธีการเก็บตัวอย่างดินและการเก็บตัวอย่างใบ หรือมีปัญหาข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน HATYAITODAYNEWS
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ม.สงขลานครินทร์ สร้างความมั่นใจ ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย หลังพบบุคลากรติดเชื้อโควิด-19 วันที่ 26 ธ.ค. 63 ช่วงเวลาที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่อาคารเรียน ห้องเรียน ห้องน้ำ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม ตลอดจนพื้นที่ส่วนกลางภายในมหาวิทยาลัยฯ โดยมีเจ้าหน้าที่งานกายภาพและระบบนิเวศเป็นผู้ควบคุมการปฎิบัติงาน ซึ่งในส่วนของลิฟต์จะทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาติดต่องานภายในมหาวิทยาลัยฯ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยให้คณะ/หน่วยงานมีการตรวจอุณหภูมิร่างกายผ่านจุดคัดกรองทุกครั้งก่อนเข้าอาคาร นักศึกษา – บุคลากร ที่ผ่านจุดคัดกรองต้องสแกน QR Code “PSU Care” เพื่อเช็คอิน (Check-in) ก่อนเข้าในอาคาร/ห้องเรียน เช็คเอ้าท์ (Check-out) ก่อนออกจากอาคาร/ห้องเรียนทุกครั้ง สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่ภายในคณะ/หน่วยงาน ล้างทำความสะอาดมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และทีการเว้นระยะห่างตามหลัก Social Distancing ทั้งนี้ […]
ม.อ. ยืนยันปลอดภัย ไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 วันนี้ 25 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้มีการแถลงข่าว “ม.อ. ยืนยันปลอดภัย ไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19” จากการที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส Covid-19 ระลอกใหม่ในประเทศ และโดยเฉพาะในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ทางมหาวิทยาลัยได้ออกมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยใหทุกคณะทุกหน่วยงาน จัดทำ QR Code “PSU Care” ให้แก่บุคลากร นักศึกษาในสังกัด และผู้มาติดต่อหน่วยงาน โดยต้องสแกนเช็คอิน ผ่าน QR Code ทั้งก่อนเข้าในอาคารและออกนอกอาคาร พร้อมทั้งประกาศงดใช้สถานที่ชั่วคราวภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2563 ในพื้นที่ สำนักงานทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง […]
ม.อ. ประกาศยกเลิกการเรียนการสอน เพื่อยับยั้งปัจจัยเสี่ยงไวรัสโควิด-19 เมื่อคืนนี้ 24 ธันวาคม 2563 ตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ระลอก ใหม่ในประเทศ และโดยเฉพาะในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่เพื่อป้องกันและสกัดวงจรการ แพร่กระจายการติดเชื้อ จึงกําหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนและ การสอบ ในภาคการศึกษาที่ 2/2563 งดการเรียนการสอนในชั้นเรียนทั้งหมด ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 จนกว่าจะมี ประกาศกําหนดแนวทางเป็นอย่างอื่น โดยให้ใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์หรือการจัดการเรียนการสอน รูปแบบอื่นที่ไม่มีการรวมกลุ่มกันในชั้นเรียน ในกรณีที่หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนในคลินิก หรือรายวิชาที่ต้องมีการปฏิบัติการ วิทยานิพนธ์ขอให้หลักสูตรบริหารจัดการให้สามารถเรียน หรือปฏิบัติการด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด สําหรับการฝึกงานทุกรูปแบบ รวมถึงการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ (WIL) หรือสหกิจศึกษา ในพื้นที่จังหวัดที่มีการแพร่ระบาดสูง ขอให้ประสานงานกับหน่วยงานที่รับนักศึกษา เพื่อพิจารณา ปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือยกเลิกหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยงสูง หรือจัดกิจกรรมอื่นที่เหมาะสมทดแทน ให้คณะเตรียมห้องเรียนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สําหรับนักศึกษาที่ขาดความพร้อมด้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือมีข้อจํากัดด้านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อันอาจนําไปสู่ความไม่เท่าเทียมในการเข้าเรียน ระบบออนไลน์ และให้ใช้มาตรการที่เข้มงวดในการดูแลและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โดยเฉพาะการจัดการ social […]
เทศบาลนครหาดใหญ่จับมือ สงขลานครินทร์จัดงาน “Eat Pray Love @ Hatyai” ในวันที่ 8-9 มกราคม 2564 นี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่ โดย ดร.กิตติ เรืองเริงกุลฤทธิ์ ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ กำหนดจัดงานกินไหว้เที่ยว Eat Pray Love @ Hat Yai ในวันที่ 8-9 มกราคม 2564 ณ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของนครหาดใหญ่สู่สาธารณชน โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย อาหารมงคล มงคลแห่งศรัทธา เทศกาลมงคล และวิถีมงคล มีการแสดงแสงสีเสียง ยิงแสงเลเซอร์เล่าขานประวัติศาสตร์เมืองหาดใหญ่ เป็นครั้งแรก พร้อมการออกร้านจาก 50 ผู้ประกอบการ และการออกบูธ […]
ศิลปศาสตร์ ม.อ. จับมือ TFT ติดปีก นศ. อุตสาหกรรมการบิน รุ่นแรก พร้อมตอบโจทย์บัณฑิตคุณภาพสู่ตลาด เมื่อวานนี้ (6 พ.ย. 63) ที่ ห้องประชุมรพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ ชั้น 1 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีติดปีกนักศึกษาหลักสูตรอุตสาหกรรมการบิน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานดา จันทร์แย้ม คณบดีคณะศิลปศาสตร์ พร้อมด้วย กัปตัน ดร.ธนะพัฒน์ ศิริจารุอนันต์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บจก. ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ด้าน กัปตัน ดร.ธนะพัฒน์ ศิริจารุอนันต์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บจก. ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด กล่าวว่า โดยปกติแล้วอุตสาหกรรมการบินเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมและถือเป็นความจำเป็นพื้นฐานในยุคปัจจุบัน ทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานในการให้บริการมากกว่า 10 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.4 ของ GDP ทั่วโลก จากข้อมูลปีที่แล้ว มีผู้โดยสารเดินทาง 4.5 พันล้านคน จำนวน 100,000 เที่ยวบินต่อวัน ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) เริ่มขึ้น ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเริ่มลดลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนและจนถึงขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบิน และความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งส่งผลทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบินเปลี่ยนโฉมหน้าในอนาคตอันใกล้ “มีการคาดการณ์ว่าธุรกิจการบินจะมีการปรับตัวอย่างมาก อย่างไรก็ตามการมีสายการบินยังคงมีความจำเป็นต่อการเดินทางภายในและระหว่างประเทศ แต่ก็จะต้องมีการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ซึ่งจะเป็นการลดรายจ่ายอันดับแรกที่ทุกสายการบินจะต้องนำมาพิจารณา โดยให้มีการฝึกอบรมผ่าน Approve Training Organization ซึ่งถือเป็นการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของ ICAO ดังนั้น นักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนผ่าน Approved Training Organization จึงมีมาตรฐานระดับนานาชาติ และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้กับอุตสาหกรรมการบินได้เป็นอย่างดี” กัปตัน ดร.ธนะพัฒน์ กล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานดา จันทร์แย้ม คณบดีคณะศิลปศาสตร์ กล่าวถึงบทบาทคณะฯ ในการตอบโจทย์ตลาดอุตสาหกรรมการบินและการบริการว่าคณะมีความมุ่งมั่นในการจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และได้ร่วมกับ บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัดฯ ในฐานะพันธมิตรทางการศึกษาในการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบโจทย์ คนรุ่นใหม่ มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่เน้นปฏิบัติจริงที่ศูนย์ปฏิบัติการทางการบิน ณ สถานประกอบการที่ทันสมัย เป็นแห่งเดียวในภาคใต้ ตอบโจทย์ภาคการผลิตสู่อุตสาหกรรมอนาคต อีกทั้งยังมีแผนเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรสำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อรองรับการทำงานในอุตสาหกรรมการบินและการบริการอีกด้วยในอนาคต […]