สงขลา สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค แจ้งเตือนชาวเรือภาคใต้ระวังฝนตกหนัก คลื่นลมแรง 9-13 พ.ย. 64 วันที่ 9 พ.ย. 64 นางสาวนงลักษณ์ ฤทธิเดช รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา เปิดเผยว่า ตามประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 3 (30/2564) เรื่อง คลื่นลมแรง บริเวณอ่าวไทยและมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่เกิดจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2564 บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบศรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงพลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรเพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินเรือ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา จึงได้ออกประกาศเตือนไปยังผู้ควบคุมเรือ เจ้าของเรือ […]
ฝนตก
พื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ ช่วงวันที่ 7 – 13 พ.ย.นี้ วันที่ 7 พ.ย. 64 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ออกประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ ฉบับที่ 27 หลังกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ช่วงวันที่ 7 – 13 พฤศจิกายนบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก จากนั้นจะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ เบื้องต้น กอนช.ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบมีพื้นที่เฝ้าระวังช่วงวันที่ 7 – 13 พฤศจิกายน คือ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณที่ลาดเชิงเขาในจังหวัด นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส // เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 แล้วมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง และภูเก็ต พร้อมเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำตาปี อำเภอพระแสง อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี , บริเวณคลองท่าดี อำเภอลานสกา อำเภอพระพรหม และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และคลองชะอวด ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช , ทะเลสาบสงขลา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา , แม่น้ำปัตตานี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา และอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี และแม่น้ำโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส อ้างอิง : กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
เทศบาลนครหาดใหญ่ นายกสาครติดตามสถานการณ์น้ำช่วงหน้าฝน พร้อมรับมือ 24 ชม. วันที่ 3 พ.ย. 64 พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ มอบหมาย นายเจษฎาพงศ์ ชูแก้ว รองนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่พร้อมด้วย สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ และส่วนช่างสุขาภิบาล สำนักช่างเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อเข้าตรวจเยี่ยมห้องประเมินสถานการณ์น้ำ พร้อมสอบถามสถานการณ์น้ำ และกำชับการปฏิบัติหน้าที่ให้เคร่งครัด และให้เร่งดำเนินการพร่องน้ำแก้มลิง และกำจัดวัชพืชและขยะคลองส่งน้ำเข้าสถานีสูบน้ำท่าทราย จัดเวรยามติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมรายงานสถานการณ์น้ำ 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ทางพล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ มอบหมายให้ นายเจษฎาพงศ์ ชูแก้ว รองนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ สมาชิกสภาเทศบาล นายยุทธชัย เพชรรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักช่าง นายสง่า กลิ่นหอม ผู้อำนวยการส่วนการโยธา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานบำรุงรักษาทางและสะพานฝ่ายสาธารณูปโภคส่วนการโยธาสำนักช่าง ลงพื้นที่เจาะเปิดฝาคูระบายน้ำเพิ่มจากเดิมจำนวน 8 จุด เพื่อให้สะดวกต่อการลอกคูระบายน้ำบริเวณถนนทุ่งเสา 2 ซอย 4 […]
(สงขลา) อุตุฯ เตือน ฉบับ 2 ฝนตกหนัก ถึงหนักมาก บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง วันที่ 3 พ.ย. 64 นางสาวพะเยาว์ เมืองงาม ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก เปิดเผยว่า ทางศูนย์ฯ ได้ออกประกาศเตือนต่อเนื่องฉบับที่ 2 เรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง” โดยหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งของประเทศมาเลเซียและกำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนทางเหนือ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2564 สำหรับอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี้ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ขอให้ประชาชนติดตามการพยากรณ์อากาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกอย่างใกล้ชิด ได้ที่ www.songkhla.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ขณะที่ นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา ได้กำชับนายอำเภอทุกอำเภอและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์ อ้างอิง : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
สงขลา-หาดใหญ่ พบฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มีพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณประเทศไทยตอนบน และมีลูกเห็บตกบางแห่งในภาคเหนือ ในขณะที่บริเวณภาคเหนือมีอากาศร้อน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ้างอิง : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
หาดใหญ่-สงขลา ได้รับผลกระทบพายุฤดูร้อนคาดฝนตกในวันที่ 23-29 มี.ค. 64 รายงานผลการตรวจอากาศด้วยเรดาร์ จากสถานีตรวจอากาศด้วยเรดาร์สทิงพระ วันที่ 23 มีนาคม 2564 เวลา 15.30 น. พายุฤดูร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า เกิดขึ้นได้น้อยลง แต่ยังคงมีผลกระทบในภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และตาก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ตรวจพบกลุ่มฝนกำลังอ่อน-ปานกลางปกคลุมบริเวณ อ.รัตภูมิ อ.หาดใหญ่ อ.นาทวี อ.เทพา จ.สงขลา ในทะเลอ่าวไทย ในทะเลอันดามัน และบริเวณชายแดนประเทศมาเลเซีย มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ โดยพยากรณ์อากาศ 7 วัน สำหรับบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ระหว่างวันที่ 23-29 มีนาคม 2564 […]