เรือป.โชคปาริฉัตร์1ปล่อยปลากระเบนราหู 12 ตัวหนักราวครึ่งตัน ทะเลจ.กระบี่ ช่วงเช้าของวันนี้ (1 กรกฏาคม 2563) ไต๋กุ๊กเรือป.โชคปาริฉัตร์1ได้ปล่อยกระเบนราหู 12 ตัว กระเบนราหู ตัวละ300-600 กิโลกรัม ที่หลงเข้ามาติดอวนล้อม บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ประมงประมาณ 7 ไมล์ทะเลของจังหวัดกระบี่ ไต๋และลูกเรือจึงได้ปล่อยปลากระเบนทั้ง 12 ตัว ปล่อยคืนทะเลสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ของโลกกลับคืนสู่ทะเลได้อย่างปลอดภัย ทางไต้ก๋งเรือได้ถ่ายคลิปไว้เพราะหาดูยากที่จะพบปลากกระเบนติดกันในน่านน้ำ ถึง 12 ตัว ในครั้งนี้ เผยตัวสุดท้ายมีขนาดใหญ่มากกว่าครึ่งตัน สาเหตุที่คาดว่าทำให้พบสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธ์ุเยอะขึ้น เพราะช่วงนี้ทะเลสมบูรณ์ปราศจากเรือท่องเที่ยวรบกวนเหมือนช่วงก่อนหน้า ซึ่งปลากระเบนขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของโลกใต้น้ำได้ดี การแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นส่งผลทั้งด้านดีและไม่ดีต่อธรรมชาติ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าเมื่อผู้คนต้องล็อกดาวน์อยู่ในบ้าน และไม่สามารถออกเดินทางไปท่องเที่ยวได้ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่าง ๆ ทั่วโลก ฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน อย่างในประเทศไทยที่แต่ละจังหวัดมีการพบสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์อยู่อย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นข่าวดีของต้นเดือนกรกฏาคมที่พบทั้งฉลามวาฬขนาดใหญ่เป็นครอบครัวและปลากระเบนถึง 12 ตัว เป็นผลมาจากความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทางชีวภาพมีมากขึ้นในช่วงนี้ จากข้อมูลทางทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทำให้ทราบว่าปลากระเบนชนิดนี้ในประเทศไทยถูกจัดสถานะว่ามีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ […]
ทะเลชายฝั่ง
ชาวบ้านคัดค้านการสร้างกำแพงกันคลื่นที่ชายหาดม่วงงาม ชาวบ้านในพื้นที่ออกมาค้านกำแพงกันคลื่น กังวลใจหวั่นยิ่งสร้างยิ่งทำลาย หาดทรายชายฝั่งของทะเล คลื่นซัดแรงกระทบชุมชนสิ่งแวดล้อม เพราะกำแพงกันคลื่นเป็นวิศวกรรมทางชายฝั่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นให้มีความมั่นคงและปลอดภัยจากคลื่นมรสุมต่าง ๆ มีหลายรูปแบบ เช่น หินทิ้ง กำแพงคอนกรีด กระสอบทรายเป็นต้น ซึ่งเพจ Beach for life เป็นตัวแทนของประชาชน เปิดเผยว่าที่ผ่านมามีการดำเนินโครงการสร้างกำแพงกันคลื่นที่ชายหาดอื่น ๆ เช่นกันในบริเวณชายหาดชะอำใต้ จ.เพชรบุรี, หาดทรายแก้ว จ.สงขลา, ชายหาดอ่าวน้อย และชายหาดปราณบุรี จ.ประจวบฯ ซึ่งหลังสร้างกำแพงผลลัพธ์มันกลับตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์การสร้างกำแพงคลื่นเป็นผลให้หาดทรายหายไป การกัดเซาะรุนแรงขึ้น ชุมชนได้รับความเดือดร้อนจากละอองเค็ม ๆ ของน้ำทะเลที่ซัดเข้ากับกำแพงคลื่น รวมทั้งส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป นอกจากนี้การก่อสร้างกำแพงคลื่นเป็นโครงการที่ไม่ต้องรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไทย (EIA) เมื่อปลายปีที่ผ่านมา นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ส่งส่งจดหมายร้องเรียนถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องว่า เขื่อนไม่สามารถยับยั้งความเสียหายของชายฝั่ง แต่กลับให้เกิดการกัดเซาะไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ การสร้างใช้งบประมาณรวมกันหลายหมื่นล้านบาท ให้ทบทวนว่าการใช้เงินลงทุนกับสิ่งนี้นั้นคุ้มค่าต่อการสร้างหรือไม่ แก้ปัญหาได้จริงเท็จอย่างไร ดังนั้นการเข้ามาแก้ปัญหาในดังกล่าวควรศึกษาอย่างละเอียดให้รอบด้าน […]