โควิดทำพิษนักท่องเที่ยวน้อย สงขลาอควาเรียม “หยุด” ให้บริการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง จากเมื่อช่วงต้นปีที่ 2563 โรคระบาดโควิด-19 ได้แพร่ระบาดรุนแรง ส่งผลให้ทางสงขลาอควาเรียม ต้องปิดให้บริการชั่วคราวในครั้งแรก เพื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 นั้น ภายหลังได้เปิดทำการอีกครั้ง เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม 63 ที่ผ่านมา เป็นการเปิดให้ท่องเที่ยวแบบ New Normal ซึ่งตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสงขลาอควาเรียม ลดน้อยลงมาก ยิ่งเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบซ้ำหนักยิ่งขึ้นทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวลดลงมากๆ ผู้บริหารจึงต้องตัดสินใจสั่งนโยบายปิดอควาเลี่ยมสงขลาอีกครั้งเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งผ่านทางหน้าแฟนเพจ สงขลาอควาเรียม ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพตนเอง ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด พร้อมส่งใจไปถึงเหล่าบรรดาสัตว์น้ำในอควาเลี่ยม ไว้พบกันใหม่ในเร็ววัน จงการ์ดอย่าตก HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : สงขลาอควาเรียม
ข่าวเศรษฐกิจ
ภาควิชาการม.อ. รวมตัว5กูรู จาก5วิทยาเขต ถกประเด็น “ความท้าทายและโอกาสจากการปรับตัวของธุรกิจ ช่วง COVID-19” นักวิชาการสงขลานครินทร์ ร่วมเสวนาออนไลน์ ทาง PSUconnext ประเด็น “ความท้าทายและโอกาสจากการปรับตัวของธุรกิจ ช่วง COVID-19” ชี้ผู้ประกอบการหลังโควิดจะเน้นการรักษากระแสเงินสดของตัวเอง และมุ่งใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะมีประสบการณ์จากความไม่แน่นอน และต้องมีการประเมินผลกระทบจากความเสี่ยงนอกเหนือจากมุ่งหาโอกาสและผลกำไรเพียงอย่างเดียว ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย กูรูนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจจาก 5 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เรื่องการลงทุน ประกอบด้วย ดร.พัฒนิจ โกญจนาท คณะวิทยาการจัดการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตติยาพร จารุมณีรัตน์ คณะการบริการและการท่องเที่ยว ดร.นิพัฒน์ โพธิ์วิจิตร คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิทัศน์ เพราแก้ว โครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง ดร.วรพจน์ ปานรอด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินรายการ โดย ดร.พงศกร พิชยดนย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ จากการระบาดของ COVID-19 อันเป็นทั้งวิกฤติ โอกาส และบทเรียนเพื่อการปรับตัวสู่การอยู่รอดเมื่อเกิดสถานการณ์ความไม่แน่นอนเช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต […]
พาณิชย์เตรียมนำไทยขึ้น Top 5 เอเชียการค้าระหว่างประเทศ พร้อมแนวทางการส่งออกสงขลาหลังช่วงโควิด-19 นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ปรับแนวทางการทำงานรองรับยุค “รวมไทยสร้างชาติ” เพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจการค้าโลกชะลอตัว และมีการเปลี่ยนบริบทการค้า พฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้กรมฯ ต้องปรับแผนงาน และกลยุทธ์ในการส่งเสริมผลักดันการค้าระหว่างประเทศให้สามารถดำเนินไปได้ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้ไทยเป็น Top 5 ของเอเชียในด้านการค้าระหว่างประเทศ ภายในปี 2570 ซึ่งจะต้องเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้ได้อีกอย่างน้อยปีละ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2562 มูลค่าการค้าไทยอยู่อันดับที่8ในเอเชีย มีมูลค่า 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ1 ประเทศจีนรวมฮ่องกง มูลค่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ2 ญี่ปุ่น มูลค่า 7 แสนเหรียญสหรัฐอันดับ 3 เกาหลีใต้มูลค่า 5.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ […]
สัมภาษณ์ อาจารย์ม.อ.หาดใหญ่ ผ่านมุมมองแนวคิดเศรษฐศาสตร์ สู่เศรษฐกิจหาดใหญ่-สงขลา นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคมล่วงมาจนถึงปัจจุบัน หาดใหญ่-สงขลา ได้กลายสภาพเป็นเมืองที่อยู่ในสภาวะโคม่าทางเศรษฐกิจอย่างหนัก อย่างที่ทราบกันดีว่าหาดใหญ่-สงขลาบ้านเรานั้นอาศัยเม็ดเงินจากประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นเมืองน้ำหล่อเลี้ยงจนเคยทำให้หาดใหญ่-สงขลาเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศ วันเวลาล่วงเลยผ่านไปหลายๆอย่างไม่เหมือนเดิม เพียงช่วงเวลาเพียง 4 เดือนเศษ ผลกระทบดังกล่าวทำให้หาดใหญ่กลายเป็นเมืองที่ผู้ประกอบการต่างพูดไปทางเดียวกันว่า “ย่ำแย่เหลือเกิน” ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาทางสำนักข่าว Hatyai Today News ได้ลงพื้นที่เพื่อไปพูดคุยกับ ดร. สินาด ตรีวรรณไชย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตหาดใหญ่ ในเรื่องการนำหลักคิดทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเศรษฐกิจพื้นที่ หาดใหญ่-สงขลา ผ่าน 6 คำถามที่จะไขข้อสงสัยเรื่องราวเศรษฐกิจ หาดใหญ่-สงขลา 1.สภาวะเศรษฐกิจในพื้นที่หาดใหญ่ปัจจุบันตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ปัจจุบันจังหวัดสงขลานะครับเป็นจังหวัดที่มีรายได้รวมสูงสุดในภาคใต้ มีรายได้กว่า 240,000 ล้านบาทครับแต่ว่าถ้าเป็นรายได้ต่อหัวในภูเก็ตจะสูงกว่าครับ โดยโครงสร้างส่วนใหญ่ของสงขลา จะมีรายได้ผูกพันกับเรื่องของอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป แล้วก็อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแช่เย็น เมื่อคิดเป็นตัวเลขซึ่งก็จะประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ในภาคของการเกษตรจะอยู่ที่ 14 เปอร์เซ็นต์ และการค้าขายคิดเป็นประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์นะครับ อย่างอื่นก็จะมีรวมๆกันไป จะพบว่าสิ่งที่สำคัญที่จังหวัดสงขลาต้องพึ่งพิงคือทรัพยากรทางธรรมชาติและทรัพยากรในเชิงของการเกษตร รวมถึงความเป็นเมืองเฉพาะของหาดใหญ่ที่มีความเป็นเมืองของการค้าขายอยู่แล้วครับ […]
จุรินทร์ ขอยื่นหนังสือให้มาเลเซียเปิดด่านปาดังเบซาร์-บ้านประกอบ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา ร่วมประชุมติดตามการส่งออกสินค้าเกษตร ที่ต้องผ่านด่านการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ร่วมกับหัวหน้าด่านศุลกากร ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ในช่วงวิกฤติโควิด ความต้องการของตลาดโลกในความต้องการถุงมือยางสูงขึ้นมาก และโรงงานผลิตถุงมือยางจำนวนส่วนใหญ่อยู่ที่ฝั่งของมาเลย์ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าบางชนิดยังอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะว่ามาเลเซียต้องการน้ำยางข้นจากไทยปริมาณมาก เพื่อนำไปผลิตถุงมือยาง การขนส่งสินค้าจึงต้องผ่านด่านของภาคใต้ ทั้งด่านสะเดา ด่านปาดังเบซาร์ รวมทั้งด่านบ้านประกอบ แต่สภาพในวิกฤติครั้งนี้ก็ส่งผลให้การส่งขนออกสินค้าประเภทอื่นๆ เช่น ผลผลิตทางการเกษตรในด่านปาดังเบซาร์ กับด่านบ้านประกอบติดขัดยังไม่สามารถขนส่งออกไปได้ ผลผลิต คือ ผลไม้อีก 1- 2 เดือน ลองกองก็จะออกเพิ่ม มังคุด ผลไม้ทางภาคใต้ จากจันทบุรี ภาคตะวันออกก็อาจจะต้องส่งผ่านด่านเหล่านี้ไปประเทศมาเลเซีย ซึ่งต้องเร่งติดต่อประสานงานทางมาเลเซีย นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของมาเลเซีย ขอให้เร่งผ่อนปรนให้เราส่งสินค้าผ่านด่านปาดังเบซาร์ กับด่านบ้านประกอบไปได้คล่องตัวขึ้น ไม่อยากให้เกิดสภาวะตึงเครียด เพราะทางมาเลเซียก็ตรวจเข้มด่าน รวมทั้งทางไทยเอง […]
ผู้ประกอบการเรือปิดกิจการ โควิด-19 กระทบรุนแรงหนักเกินรับมือ นี่จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับคนทั่วโลกเมื่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดไปแล้วทั่วประเทศและรวมทั้งประเทศไทยเราเอง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ยิ่งเข้าสู่วิกฤติที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง ตั้งแต่วันนี้ 26 มี.ค. ไปจนถึงวันที่ 30 เม.ย. เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 และ “อาจทวีความรุนแรงและเลวร้ายกว่านี้หลายเท่า” ส่งผลเพิ่มมาตรการที่เข้มข้นขึ้นในการควบคุมการเดินทางไปต่างประเทศสำหรับประชาชนในประเทศและการเดินทางเข้าประเทศของชาวต่างชาติจากพื้นที่เสี่ยง รวมถึงมาตรการการท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัดโดยระงับการเดินทางทุกกรณีเป็นการชั่วคราว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในจังหวัดไปสู่ในประเทศ ผู้ประกอบการเรือปิดกิจการ โควิด-19 กระทบรุนแรงหนักเกินรับมือ ผู้ประกอบการเรือจึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวทางเรือหายไปอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยวหยุดกิจการไปแล้วหลายรายและบางรายได้หยุดชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น โดยบริเวณท่าเทียบเรือต่างๆ ทั้งในภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฏธานี ระนอง ระยอง ชลบุรี ทั้งนี้ รัฐบาลจึงออกมาตรการดูแลและเยียวยา “ผู้ประกอบการ” ประกอบด้วย 7 มาตรการ ดังนี้ 1. โครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ของไวรัส COVID-19 เพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจของ […]