ข่าวปลอม อย่าแชร์! ศบค. แจ้งเพิ่มเงินเยียวยา 5,000 บาท ต่ออีก 1 เดือน ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง ศบค. แจ้งเพิ่มเงินเยียวยา 5,000 บาท ต่ออีก 1 เดือน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) พบว่าข้อมูลที่ปรากฏดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีข้อความที่การกล่าวถึงศบค. ว่าได้ออกมาแจ้งเรื่องมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ที่มีการต่ออีก 1 เดือนนั้น ทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ได้ออกมาชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากทางศบค. ไม่เคยกล่าวว่ามีการต่อมาตรการเยียวยาอีก 1 เดือน ตามที่กล่าวอ้าง อีกทั้งปัจจุบันมาตรการเราไม่ทิ้งกัน หรือมาตรการเยียวยา 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือนนั้น ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาถึงเรื่องการต่อมาตรการเยียวยาออกไปอีก […]
ข่าวปลอม
ศบค.ขอความร่วมมืออย่าแชร์ข่าวปลอมของเหตุการณ์ทหารอียิปต์และลูกอุปทูต ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง ศบค. แถลงรัฐบาลเหตุการณ์ทหารอียิปต์และลูกอุปทูต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จทั้งหมด โปรดติดตามข่าวต่างๆที่เป็นจริงที่ เพจ : ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย และวิธีการป้องกันตนเอง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.ddc.moph.go.th หรือโทร. 1422 ได้ตลอด 24 ชม. HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : ศูนย์ข้อมูล COVID-19
ข่าวปลอม อย่าแชร์! ฉีดวิตามินซี 10,000 มิลลิกรัม ช่วยป้องกันโควิด-19 ข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่างๆ ในประเด็นเรื่องชวนเชื่อ อ้างว่าฉีดวิตามินซี 10,000 มิลลิกรัม จะช่วยป้องกันโควิด-19 ป้องกันการเจ็บป่วย และช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ดีได้นั้น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ข้อความดังกล่าวเป็นการโฆษณาเกินจริง เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยที่ยืนยันว่าการฉีดวิตามินซี สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ได้ ซึ่งหากโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกแห่งใดอวดอ้างว่าบริการดังกล่าวช่วยต้านโรคหรือป้องกันโควิด-19 ได้ ถือว่าเป็นการโฆษณาเกินจริง มีโทษความผิดทางกฎหมายทั้งจำ และปรับ ทั้งนี้ประชาชนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยตนเอง เพียงเว้นระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้บ่อย กินอาหารปรุงสุกใหม่ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขย้ำเตือนอย่าแชร์ ข้อมูลที่บิดเบือน ข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ www.hss.moph.go.th หรือโทร […]
โปรดระวัง! LINE ปลอมและมิจฉาชีพแฝงตัวเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวของมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ผ่านช่องทาง LINE มาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3เดือน) ไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนตัวของท่านผ่านช่องทาง LINE หากท่านได้รับสิทธิ์ในมาตรการฯ เงินจะโอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือพร้อมเพย์ ที่มีชื่อตรงกับบัตรประชาชนของผู้ที่ลงทะเบียนเท่านั้น HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก : Krungthai Care
ส่งข่าว! ข่าวปลอม อย่าแชร์! พบผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย จากการติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดสุพรรณบุรี จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความว่า พบผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย จากการติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีมีผู้ส่งต่อข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ว่า “ตอนนี้ที่อำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย” ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ออกมาชี้แจงในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ว่า ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พบผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1 ราย โดยผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ที่สัมผัสโรคจากผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ แล้วมีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นการติดเชื้อนอกพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และได้นำผู้ติดเชื้อดังกล่าวมาพักรักษาในห้องความดันลบของโรงพยาบาลและส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากกรมควบคุมโรค สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/index.php หรือโทร. 1422 ได้ตลอด 24 ชม. HATYAITODAYNEWS ภาพ: […]
ตามที่มีการแชร์รูปภาพ Caption หน้าจอ Smartphone เกี่ยวกับคำแนะนำสุขภาพไวรัส COVID-19 ที่ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์โดยมีการอ้างถึงชื่อโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ในสื่อสังคมออนไลน์นั้น ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่ได้จากจาก Official page : โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ – Songklanagarind Hospital ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์จึงขอความร่วมมือประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อความดังกล่าวและกรุณางดการเผยแพร่ต่อ จะสร้างความเข้าใจผิดให้กับสังคมในวงกว้าง สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องได้จาก Official page : โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ – Songklanagarind Hospital เท่านั้น HATYAITODAYNEWS ภาพ: Freepik.com อ้างอิง: Official page : โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ – Songklanagarind Hospital