เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ประกาศปกป้องพื้นที่จะนะ เผยรัฐบาลต้องยุติการดำเนินงาน วันที่ 21 มี.ค. 64 นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ด้วยข้อความที่ว่า แถลงการณ์เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา และภาคี#SaveChana รัฐบาลต้องยุติการดำเนินงาน และตรวจสอบโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะอย่างจริงจัง การยอมรับอย่างเปิดเผยของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้านกรณีนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ในลักษณะที่ว่า “หากมีการทำผิดหรือมีการทุจริตในโครงการนี้จริงก็ให้ตรวจสอบกันไป ” ประกอบกับการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่มี ร.อ.ธรรมนัส พรมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เพื่อให้มีการตรวจสอบโครงการนี้ในก่อนหน้านั้น ยิ่งทำให้เห็นได้ชัดว่าโครงการเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมจะนะมีความผิดปกอยู่จริง อันเป็นเหตุผลที่รัฐบาลควรจะต้องทบทวนโครงการนี้ทั้งหมดในทุกมิติ อย่างเช่น หลักการสำคัญภายใต้นโยบายเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนเท่านั้น แต่ประชาชนในพื้นที่จะต้องสูญเสียมากกว่า กลไกการดำเนินงานในพื้นที่ คือ ศอ.บต. ไม่มีความเป็นมืออาชีพและไม่เข้าใจหลักคิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ยิ่งทำยิ่งสร้างความแตกแยกในพื้นที่ชายแดนใต้ โครงการนี้เปิดช่องให้มีการทุจริตอย่างมโหฬารโดยฝ่ายการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ดังกรณีการจัดซื้อจัดหาที่ดินให้กับบริษัททีพีไอพีพี จนศาลปกครองได้รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาแล้ว เป็นต้น ในขณะที่ความผิดปกเหล่านั้นยังไม่ถูกทำให้คลี่หลาย และสร้างความกระจ่างแจ้งให้กับสังคม วันนี้รัฐบาลยังสั่งเดินหน้าโครงการโดยไม่สนใจฟังเสียงประชาชน และไม่สนใจถึงความถูกผิดของโครงการที่เกิดขึ้นทั้งหมด […]
กลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นยื่นหนังสือจึ้คณะกรรมการผังเมืองระดับชาติ ทบทวนและยุติกระบวนการแก้ไขผังเมืองจะนะ กรมโยธานิการและผังเมือง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 นายรุ่งเรือง ระหมันยะ ผู้ประสานงานเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ได้เข้ายื่นหนังสือถึงคณะกรรมการผังเมือง และอธิบดีกรมโยธาธิการจำนวน 2 ฉบับ เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดสงขลาที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ทั้งหมด และอีกฉบับได้ยื่น เพื่อขอให้ทบทวนและยุติกระบวนการแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดสงขลาทุกขั้นตอนที่กำลังดำเนินการในขณะนี้ ที่กรมโยธานิการและผังเมือง ที่ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนายสุเทพ ประเทืองโภคเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ ซึ่งมีสาระ และข้อเรียกร้องตามหนังสือที่ยื่นไปดังนี้คือ การที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองและจังหวัดสงขลา เร่งดำเนินการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินในส่วนพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับแผนเร่งด่วน การลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่ 3 ตำบล (ตำบลนาทับ ตำบลสะกอม และตำบลตลิ่งชัน) ของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน โดยให้เปลี่ยนสีผังเมืองในพื้นที่ดังกล่าวจากสีเขียวเป็นสีม่วง เพื่อให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นบนฐานข้อมูลที่ศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. จัดทำขึ้นในฐานผู้ขับเคลื่อนโครงการ […]
ครั้งแรก..ศอ.บต.และเจ้าของโครงการเปิดเวทีขอเชิญประชาชนรับฟังอีกแง่มุมของโครงการนิคมอุตสาหกรรรมจะนะ วันนี้ 29/10/63 ทางเฟสบุ๊ค นายสมบูรณ์คำแพง ได้ประกาศประชาสัมพันธ์ ในวันที่ 2 พ.ย. 63 เวลา 14.00 – 17.30 น. ขอเชิญชวนประชาชนและชาวบ้านจะนะ มารับฟังข้อมูลอีกมุมของโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ที่ ศอ.บต. และเจ้าของโครงการไม่เคยออกมากล่าวเกี่ยวกับตัวโครงการ ซึ่งตัวโครงการนิคมอุตสาหกรรมนี้เป็นข้อถกเถียงมาเป็นระยะเวลานาน หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน กระทั่งมีกลุ่มคัดค้านและสนับสนุนเวียนกันมายื่นหนังสือถึงนายกฯที่หน้าทำเนียบรัฐบาล จึงทำให้สังคมให้ความสนใจโครงการนี้ขึ้นมา โครงการนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โครงการเมืองต้นแบบที่ 4 อ.จะนะ จ.สงขลา “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” เป็นโครงการที่ต่อยอดจาก “เมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” จำนวน 3 เมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วขยายมาสู่พื้นที่ 4 อำเภอรอยต่อของ จ.สงขลา ซึ่งมีปัญหาความมั่นคงเช่นเดียวกัน จุดหมายปลายทางก็เพื่อทำให้ อ.จะนะ เป็นฐานของอุตสาหกรรมแนวใหม่ มีท่าเรือน้ำลึก ถนน ทางรถไฟ […]
ชาวบ้านเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเดินหน้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ณ ศาลากลางสงขลา จากก่อนหน้าทางเพจหาดใหญ่ทูเดย์นิวส์ได้นำเสนอข่าว ชาวบ้านจะนะ อ่านแถลงการณ์ค้านโครงการ “จะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรม” หน้าโรงแรมบุรีศรีภู และ เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจะนะ Smart Cityในความฝันหรือผลกระทบที่ชาวบ้านต้องได้รับ โดยย้อนความไปในเรื่องของนิคมอุตสาหกรรมจะนะนั้นได้ถูกประกาศลงมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ครม.คชส.นัดสุดท้ายภายใต้เผด็จการทหารโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) ภายใต้ชื่อใหม่ที่สวยหรูดั่งแอปเปิลอาบยาพิษ “อุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” แต่นั่นคือการรับใช้นายทุนอย่างเต็มรูปแบบของทหารและรัฐราชการทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง มีการใช้กำลังพลร่วม 1,000 นาย เพื่อจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อไปสู่ขั้นตอนการขอแก้ไขผังเมืองเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมาและล่าสุดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 ครม.มีมติให้กรมโยธาธิการและผังเมืองแก้ไขผังเมือง รวมทั้งการดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนเพื่อนายทุนโดยไม่ฟังเสียงทัดทานใดของประชาชนเลยแม้แต่น้อย โดยในวันนี้วันที่ 28 กันยายน 2563 ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมือง ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนหน่วยงานราชการ มิได้มีส่วนของภาคประชาชนแต่อย่างใด หนึ่งในขั้นตอนการแก้ไขผังเมืองนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา ซึ่งเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ณ ศาลากลางสงขลา โดยมี […]
กลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเข้ายื่นหนังสือศูนย์ดำรงธรรมชี้ประเด็นปรับปรุงผังเมืองรวมชุมชนจะนะ วันนี้ (วันพุธที่ 10 กันยายน 2563) เวลา 10.30 น. ณ ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังใหม่) นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา ร่วมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น นำโดย นางไซหนับ ยะหมัดยะ กับเครือข่ายร่วม 20 คน มายื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เกี่ยวกับการดำเนินการปรับปรุงผังเมืองรวมชุมชนจะนะ โดย นายผดุงเดช ลือปิยะพาณิชย์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสงขลา พร้อมทีมงาน มารับหนังสือร้องเรียนดังกล่าว สำหรับเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เป็นกลุ่มประชาชนในพื้นที่อำเภอจะนะที่ได้ติดตามและ ใช้สิทธิมีส่วนร่วมในการวางและจัดทำผังเมืองรวมชุมชนจะนะมาโดยตลอด เห็นว่าการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ในที่ดินข้างต้นกระทบต่อสิทธิประชาชนและชุมชนอันเป็นสาระสำคัญ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เขตชนบทเกษตรกรรมและชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ และขอคัดค้านการนำรายงานการประชุมรับฟังความคิดเห็น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ของ ศอ.บต. มาประกอบการปรับปรุงผังเมือง ทั้งนี้ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลาถือโอกาสในการร่วมรับฟังการสะท้อนปัญหา และข้อกังวลเรื่องผลกระทบต่าง ๆ […]