เชิญประชาชนเข้าร่วมประชุมความคิดเห็น โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา เชื่อมพัทลุง-สงขลา เชิญชวนประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาและพัทลุง เข้าประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา เชื่อมพัทลุง-สงขลา วันที่ 26-27 มกราคม 64 ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงข่ายถนนเชื่อมโยงเมืองจากฝั่งถนนเอเชีย (สาย 41) เข้าสู่ถนนเลียบชายทะเลอ่าวไทยบนถนนนครศรีธรรมราช-สงขลา (สาย 408) จะช่วยลดระยะการเดินทางระหว่าง เมืองทั้ง 2 ด้านของสะพานจาก 90 กิโลเมตรเหลือเพียง 10 กิโลเมตร เชื่อมโยงเมือง ทั้ง 2 ด้านเข้าด้วยกันและส่งเสริมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆ โดยได้กำหนดให้มีการประชุมระหว่างวันที่ 26-27 มกราคม 2564 โดยมีกำหนดการ ดังนี้1. วันอังคารที่ 26 มกราคม 2564 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมแกรนด์ บอลรูม โรงแรมศิวารอยัล โฮเท็ล ตำบลคูหาสวรรค์ […]
กรมทางหลวงชนบท
เชิญชวนชาวสงขลา รับฟังความคิดเห็นถนนสาย สข.4040 เชื่อมโยง สนามบินหาดใหญ่ – ด่านชายแดนสะเดาและด่านชายแดนปาดังเบซาร์ วันนี้ (5 ก.ค. 63) กรมทางหลวงชนบท ลงพื้นที่จังหวัดสงขลารับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการแนะนำโครงการสำรวจออกแบบส่วนต่อขยายถนนสาย สข.4040 แนวใหม่ด้านทิศใต้ แยก ทล.4145-ทล.4054 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชนในพื้นที่ ฯลฯ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางมาตรการคุมเข้ม COVID-19 นายอนุพงค์ จงหวัง ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทสงขลา กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการสำรวจออกแบบส่วนต่อขยายถนนสาย สข.4040 แนวใหม่ด้านทิศใต้ แยก ทล.4145-ทล.4054 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ว่า เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2562 กรมทางหลวงชนบท ได้ว่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการสำรวจออกแบบถนนสาย สข.4040 แยก ทล.4135 (กม.8+300)-ทล.4145 อำเภอสะเดา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร จังหวัดสงขลา ได้ประชุมคณะอนุกรรมการการจัดการระบบการจราจรทางบกจังหวักขลา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 พิจารณาเห็นว่าโครงการสำรวจและออกแบบส่วนต่อขยายทางหลวงชนบท สข.4040 แนวใหม่ด้านทิศใต้ แยก ทล.4145-ทล.4054 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นโครงข่ายที่ช่วยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ เชื่อมต่อไปสู่ชายแดน (ด่านชายแดนสะเดา และชายแดนปาดังเบซาร์) เพื่อรองรับปริมาณจราจรในอนาคตและการ สัญจรให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย ตลอดจนแก้ไขปัญหาด้านการจราจร โดยออกแบบให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล และสนับสนุนการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) จากทางอากาศ ทางบกมุ่งสู่ชายแดนฯ อีกทั้ง ยังส่งเสริม และอำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ให้กับจังหวัดสงขลา และพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวงชนบท จึงได้ว่าจ้าง บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแต้นส์ จำกัด ให้ดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบส่วนต่อขยายถนนสาย สข.4040 แนวใหม่ด้านทิศใต้ แยก ทล.4145-ทล.4054 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ระยะทางรวมประมาณ 18 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และส่งเสริมศักยภาพพื้นที่เศรษฐกิจด่านการค้าชายแดน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาโดยมีกำหนดระยะเวลาศึกษาโครงการ 270 วัน เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 ถึง 9 มกราคม 2564 ทั้งนี้ ในส่วนของวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อศึกษาและคัดเลือกรูปแบบ หรือแนวสายทางที่เหมาะสม พร้อมศึกษาความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการดำเนินโครงการพร้อมประชาสัมพันธ์โครงการ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินโครงการสำรวจออกแบบ และประมาณราคาถนนสาย สข.4040 แนวใหม่ด้านทิศใต้ แยก ทล.4145-ทล.4054 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร และออกแบบทางต่างระดับ 3 แห่ง ประกอบด้วย 1.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 4145 2.จุดตัดข้ามทางรถไฟสายใต้ 3.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 4045 นอกจากนี้ ยังเป็นการศึกษาผลตอบแทนทางต้านการลงทุน และค่าความเสี่ยงในการลงทุนของโครงการเพื่อประสานความร่วมมือจากหน่วยงานในจังหวัดสงขลา และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการอีกด้วย สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการดังกล่าว จะเป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายการเดินทางระหว่างอำเภอหาดใหญ่ บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ และอำเภอสะเดา ต่อเนื่องไปยังด่านชายแดนปาดังเบซาร์ และด่านชายแดนสะเดา เป็นเส้นทางรองรับการขนส่งผลิตผล ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรขยาย และเพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ พร้อมรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต สามารถพัฒนา และยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบทเพื่อเชื่อมโยงต่อเติมโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งด้วยการสร้างทางเชื่อม (Missing Link) ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน รวมทั้งช่วยบรรเทาปริมาณจราจรของถนนทางหลวง แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณทางแยก และพัฒนาเป็นทางลัด (By pass) ทางเลี่ยง (Shortcut) ระหว่างอำเภอ จังหวัด ตลอดจนบรรเทาปริมาณจราจรบนทางหลวงหมายเลข 4 และระบบคมนาคมอื่น ๆ ที่มุ่งสู่ด่านชายแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : สำนักงานและออกแบบกรมทางหลวงชนบท