แนวทางปฏิบัติในช่วงวิกฤติ covid-19 สำหรับผู้ประกอบกิจการหอพักและผู้พักอาศัย การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกด้านของชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทาง การค้า การท่องเที่ยว อาหารและเศรษฐกิจ เพื่อลดผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ต่อธุรกิจ สิ่งสำคัญต้องวางแผนรับมือCOVID-19 กรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมควบคุมโรคเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบกิจการหอพัก และผู้พักอาศัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม สำหรับผู้ประกอบการกิจการ หอพัก – ทำป้ายแจ้งเตือนและมาตรการป้องกันของคำแนะนำของกรมควบคุมโรค – แจ้งพนักงานผู้พักบุคคลใกล้ชิดที่พักอยู่ด้วยกันในห้องหรือผู้มาเยี่ยม หากมีไข้โอเจ็บคอมีน้ำมูกให้สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆและรีบไปพบแพทย์กรณีที่เพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศกายใน 14 วันให้แจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบด้วย – ติดเครื่องจำยแอลกอฮอล์เจลล้างมือในพื้นที่ส่วนกลาง – ทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้ส่วนรวมบ่อยๆ – วัดอุณหภูมิทุกคนก่อนเข้าอาคารโดยเครื่องวัดอุณหภูมิภายแบบจ่อหน้าผาก หรือจ่อหู – จำหน่ายหน้ากากอนามัยไว้ให้บริการแก่ผู้พัก – แจ้งพนักงานทำความสะอาดถึงความเสี่ยงให้สวมหน้ากากอนามัยแว่นตากันลมกุงมือยางยาวขณะทำงาน – แจ้งพนักงานหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตาจมูกปากรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ – หากพบพนักงานป่วยด้วยอาการปอดอักเสบมากกว่า 2 คนใน 1 สัปดาห์ให้แจ้งแพทย์ทันทีที่ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล สำหรับ […]
ข่าว
พ่อค้า-แม่ค้า ขาดทุนขายไม่ได้ เรียกร้องให้กองสลากซื้อลอตเตอรี่คืน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากที่กองสลากได้เลื่อนการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลออกไป งวด 1 เมษายน 2563 ไปเป็น 16 พฤษภาคม 2563 เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งการออกมาประกาศระบุการเลื่อนออกรางวัลสลากต่อเนื่อง 2 ครั้ง ทำประชาชนขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าซื้อสลาก เป็นการผลักภาระให้ผู้ค้าทั้งเงินลงทุนและความเสี่ยงในการออกไปขายสลากทำให้ขาดรายได้ ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาล คือ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติอ ขอเสนอให้รัฐบาลหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการ แก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลรายย่อย ขอให้กองสลากรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลคืน หรือไม่ก็ขอให้เลื่อนการออกสลากไป จนกว่าจะพ้นวิกฤต ช่วงโควิค-19 โดยผู้ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้ยื่นข้อเสนอให้กับกองสลากให้ช่วยเหลือ 2 ข้อ 1. ขอให้รับซื้อหรือคืนลอตเตอรี่ที่ซื้อมาจําหน่ายในราคา 70.40 ซึ่งยอมขาดทุนดีกว่าจะพากันอดตายและเป็นหนี้ 2. ขอให้กองสลากได้เลื่อนการออกสลากไปจนกว่าจะพ้นวิกฤตช่วงโควิค-19 ยกเลิกสลากงวด 1 เม.ย.-เปิดรับซื้อคืน-รับรองสถานะตัวแทนผู้ค้ารายย่อยเพื่อจะมีเงินใช้จ่ายในยามที่เกิดวิกฤต เมื่อวานนี้ (21/04/63) ทางด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย โฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ออกมากล่าวว่า […]
สถานการณ์ โควิด-19 วันที่ 22 เม.ย. 63 ติดเชื้อสะสม 2,826 ราย เสียชีวิตสะสม 49 ราย วันที่ 22 เม.ย. 2563 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โควิด-19 ศบค. แถลงสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 15 ราย เป็นคนในพื้นที่ 68 จังหวัด ติดเชื้อสะสม 2,826 ราย เสียชีวิตสะสม 49 ราย ผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 15 ราย ตามข้อมูลดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 10 ราย 2. ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวัง จำนวน 5 […]
ตลาดไทช่วยเกษตรกรใต้เร่งรับซื้อผลไม้ฤดูกาลภาคใต้ ฝ่าวิกฤติโควิด-19 จากการประชุมร่วมกับสมาคมค้าส่งค้าปลีกสินค้าเกษตรไทยและ สมาคมตลาดสดในการช่วยระบายผลไม้ไปยังตลาดในประเทศที่ตลาดไท โดยใช้ตลาดในท้องถิ่นพาณิชย์จังหวัดจะประสานกับเกษตรกรเพื่อช่วยระบายผลไม้ในประเทศ ในจังหวัดต่างๆให้ได้มากที่สุด ตลาดไท ฐานะหนึ่งในสมาชิกสมาคมการค้าตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรไทย ขอเป็นส่วนหนึ่งในการรับนโยบายจากสมาคมฯ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้อง เมื่อวานนี้ประกาศเริ่มโครงการเชื่อมโยงและกระจายผลไม้จากภาคตะวันออกและภาคใต้ เข้าสู่ตลาดกลางค้าส่ง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและชาวสวนไทย ซึ่งกำลังประสบปัญหาจากการที่มีผลผลิตพร้อมออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถกระจายผลผลิตและจัดจำหน่ายไปยังผู้บริโภคได้เนื่องจากข้อจำกัดและความยากลำบากต่างๆ ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด ซึ่งจากการจำหน่ายและส่งออกผลไม้สดตามฤดูกาลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในหมู่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติของภาคใต้ 14 จังหวัด อาทิ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ตลาดไทจะรับซื้อจากเกษตรกรแต่ละจังหวัดมาขาย เช่นเดียวกับการซื้อลองกองจากนราธิวาสมาจำหน่ายกระจายไปยังจังหวัดอุบลฯ จะใช้กลไกตลาดกลางค้าส่งทั่วประเทศ 21 แห่ง ในการกระจายสินค้าเกษตรทั้งผักและผลไม้ โดยเร่งผลักดันผลผลิตให้ถึงมือผู้บริโภคให้ได้มากขึ้น พร้อมเสริมแกร่งเครือข่ายรถเร่ตลาดไท ผู้ประกอบการรถเร่ 250 คัน ร่วมขายสินค้าธงฟ้า สำหรับรถเร่หรือรถพุ่มพวงคือช่องทางที่สำคัญช่องทางหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากสามารถเข้าไปถึงตัวผู้บริโภคได้ถึงบริเวณหน้าที่พักอาศัย มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรไทยทั้งประเทศให้มีรายได้ช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อที่จะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไปด้วยกัน HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก : กระทรวงพาณิชย์, สยามรัฐ
น่าชื่นชม เด็กน้อยป.3 นราธิวาส ถอนเงินจุนเจือครอบครัวช่วง โควิด-19 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งหลายครอบครัวได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ จึงขาดรายได้มาดูแลครอบครัว เด็กชาย มูฮำหมัดซุบฮัน ดือราแม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รร.เทพประทานไทยยืนยง ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ได้กลายเป็นฮีโร่น้อยของครอบครัวทันที เมื่อได้นำเงินออมในบัญชีที่ฝากไว้กับโรงเรียน จำนวน 4,800 บาทไปมอบให้กับพ่อแม่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในห้วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งครอบครัวต้องขาดรายได้จากการหยุดทำงาน “น้องซุบฮัน” กล่าวว่า ตนได้เก็บหอมรอบริบเงินค่าขนมที่ได้จากพ่อแม่ และอีกส่วนหนึ่งคือพ่อแม่ฝากมาออมกับทางโรงเรียนเพื่อหวังเก็บเป็นทุนการศึกษาให้ลูก โดยออมวันละ 5 บาทบ้าง 10บาทบ้างหรือบางวันก็ฝากมากถึง20บาทเพราะเป็นเงินที่พ่อแม่ให้พิเศษมา โดยครั้งนี้จากเงินในบัญชีที่มีจำนวน 6,422บาท ก็ได้ขอให้คุณครูช่วยถอนมาจำนวน4,800 บาท เพื่อนำไปให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่ายในครอบครัวในช่วงที่ขาดรายได้ รู้สึกภาคภูมิใจที่เงินก้อนนี้ได้ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระครอบครัว และตนเองจะตั้งใจออมเงินต่อไปเพราะมีเป้าหมายหลายอย่างในชีวิตทั้งเรื่องการศึกษา และการเก็บเงินไว้ใช้จ่ายเมื่อมีโอกาสไปทัศนศึกษากับทางโรงเรียน ทั้งนี้ ต้นเรื่องของการให้เด็กนักเรียนสามารถนำเงินออมไปช่วยเหลือครอบครัว เกิดจากนโยบายของนายสุพจน์ มณีรัตนโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ที่เข้าใจความเดือดร้อนของผู้ปกครอง แต่เนื่องจากตามระเบียบราชการไม่สามารถนำเงินของทางโรงเรียนไปให้ความช่วยเหลือกับครอบครัวของนักเรียนได้ จึงมีแนวคิดให้ผู้บริหารศึกษา เปิดช่องให้ผู้ปกครองสามารถนำเงินออมของบุตรหลานออกมาใช้เพื่อบรรเทาทุกข์ในห้วงนี้ […]
ถือศีลอดอย่างไรให้ปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19 ในช่วงเทศกาลถือศีลอดที่กำลังใกล้เข้ามาถึง ในช่วงเดือนรอมฎอน ประจำปี ฮ.ศ.1441 ของชาวไทยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศและทั่วโลก โดยในปีนี้ (2563) จะเริ่มในช่วงวันที่ 24 หรือ 25 เมษายน ถึงวันที่ 23 หรือ 24 พฤษภาคม 2563 แน่นอนว่าระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่ครอบครัวจะได้อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ทั้งภายในครอบครัวและในชุมชน กรมควบคุมโรค ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงออกคำแนะนำ ในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 โดยขอความร่วมมือให้ผู้ที่ถือศีลอดปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ 1. หลีกเลี่ยงการสลามด้วยการสัมผัสมือ การสวมกอด และการสัมผัสแก้ม โดยให้ยกมือสลามกันเท่านั้น 2. งดการไปร่วมละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด และปฏิบัติตามประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเคร่งครัด โดยแนะนำให้ปฏิบัติศาสนกิจภายในบ้าน 3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน และงดการแบ่งปันอาหารให้แก่กัน หากจำเป็นให้นั่งห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร […]