กรมโยธาธิการและผังเมืองถอนงบประมาณสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามออกจากงบปี 2564 สำเร็จ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563 กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เข้ามาชี้แจงงบประมาณในชั้นกรรมาธิการงบฯ 64 กรมนี้เป็นเจ้าของโครงการเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงามโครงการได้รับการนำเสนอตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 เมื่อโครงการเริ่มการก่อสร้างเกิดข้อพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนในพื้นที่ โดยประเด็นที่มีความเห็นต่างกันมีสองประเด็นหลัก ประเด็นแรก เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการที่ออกแบบและคิดมาจากส่วนกลาง กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ไม่เปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน หรือ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอความเห็น เมื่อเกิดการก่อสร้างขึ้น ประชาชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งจึงต่อต้านไม่ให้มีการก่อสร้างพื้นที่ชายหาด ประเด็นที่สอง เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ของการกัดเซาะชายฝั่ง การกัดเซาะชายฝั่งถูกแบ่งวิธีแก้ออกเป็นหลายระดับ จากระดับที่ต่ำที่สุดคือการปล่อยให้เป็นไปตามสมดุลย์ธรรมชาติ จนถึงระดับที่จะต้องฟื้นฟูชายฝั่ง การเก็บข้อมูลของนักวิชาการ, ภาคประชาสังคม และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าหาดม่วงงามไม่มีการกัดเซาะถาวร มีแต่การกัดเซาะตามฤดูกาลที่ขึ้นอยู่บนความแรงของมรสุม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างแข็งป้องกัน สามารถปล่อยให้มีชายหาดธรรมชาติได้ รวมตัวของประชาชนส่วนหนึ่งจึงร่วมกันฟ้องร้องศาลปกครอง ศาลปกครองดูเอกสารแล้วให้ความเห็นว่าหาดไม่มีการกัดเซาะรุนแรง จึงสั่งคุ้มครองหยุดการก่อสร้างชั่วคราวในต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากนั้นธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและศิริกัญญา ตันสกุล ได้อภิปรายเสนอตัดงบประมาณการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงาม ในชั้นกรรมาธิการงบประมาณโดยอ้างอิงถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงว่าหาดม่วงงามไม่มีการกัดเซาะ เมื่ออภิปรายเสร็จ จึงได้ผลสรุป อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองได้เสนอถอนงบประมาณตัวนี้ออกจากงบปี 2564 หมายความว่าไม่ว่าคำสั่งศาลจะเป็นอย่างไร จะไม่มีการสร้างเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงามอีก […]
ข่าววันนี้
ความหมายรูปแบบ “การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง” ของคนรุ่นใหม่สงขลานั้นคืออะไร..? ที่ผ่านมาแกนนำกลุ่มการเมืองที่มีแนวโน้มต่อต้านการรัฐบาล คสช. มีการเพิ่มบทบาทการเคลื่อนไหวของตัวเองและ มีการนัดเคลื่อนไหวใหญ่ในระดับทั่วประเทศ ไม่ว่าเยาวชนนักเรียนจนถึงวัยผู้ใหญ่ก็ออกมาแสดงความเคลื่อนไหวไปตามกระแสโดยสัญลักษณ์ทางการเมือง ประเด็นที่กำลังที่กำลังร้อนแรงอยู่ในสังคมไทยอยู่ในขณะนี้ สำหรับการออกมาชุมนุมแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองของกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ที่ต่าง “ชู 3 นิ้ว” เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์โดยหวังว่าประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นนั้น และสัญลักษณ์อื่นๆอีกหลายรูปแบบ หาดใหญ่ทูเดย์นิวส์ จึงถือโอกาสรวบรวมสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงออกถึงจุดยืนคัดค้านภาพคู่ขนานไป พร้อมกับการเรียกร้องประชาธิปไตยและ แก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มนักศึกษา รวมทั้งภาคประชาชน ดังนี้ ชูสามนิ้ว: สัญลักษณ์ที่ถูกหยิบใช้และปรับเปลี่ยนความหมายมาตลอด ธรรมเนียมการชูสามนิ้ว หรือ Three Finger Salute ใช้เวลาต้องกล่าวขอบคุณหรือแสดงความชื่นชมและเคารพ หรือบอกลาคนที่รัก กล่าวในหนัง The Hunger Games กลายเป็นสัญลักษณ์ของการขัดขืนต่ออำนาจที่กดขี่ ซึ่งประเทศไทย มันแทนความหมายของ เสรีภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ ผูกโบว์ขาว: สัญลักษณ์รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี การผูกริบบิ้นสีขาวครั้งแรก ในปี 2537 หลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยมอนทรีออล จำนวน 14 […]
สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 19 สิงหาคม 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย วันที่ 19 สิงหาคม 2563 เวลา 11.00 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ได้เสนอข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งในวันนี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ คือประเทศอินเดีย 1 ราย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์
จ.สงขลา ช่วงหน้าฝนประชาชนระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกาที่เกิดจากยุงลาย ฤดูฝนเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายสูงที่สุด เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย ทำให้ยุงลายมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงอื่น ๆ โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคหนึ่งที่ควรให้ความสนใจ แม้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยทั่วไปจะมีอาการไม่รุนแรง แต่จะส่งผลกระทบรุนแรงกับเด็กที่อยู่ในครรภ์ ถือเป็นเรื่องที่ประชาคนควรให้ความสำคัญ สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2563 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้ซิกา สะสมรวม 104 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.16 ต่อประชากรแสนคน โดยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัด ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ด้านนายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในพื้นที่ 7 จังหวัด ภาคใต้ตอนล่าง ว่า มีรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในพื้นที่จังหวัดสงขลาเพียงจังหวัดเดียว จำนวน 17 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต […]
เทศบาลนครหาดใหญ่ ขอเชิญร่วมงานสืบสานศิลป์ถิ่นใต้ ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2563 ขอเชิญร่วมงานสืบสานศิลป์ถิ่นใต้ ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2563 ณ ลานจตุรัสนครหาดใหญ่ (หน้าหอนาฬิกา) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อสืบสานส่งเสริมวัฒนธรรมภาคใต้ และอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เทศบาลนครหาดใหญ่ ตระหนักในภารกิจหน้าที่และความสำคัญต่อการอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงามนี้ไว้ให้คงอยู่คู่กับคนรุ่นหลังต่อไป จึงได้จัดงาน “สืบสานศิลป์ถิ่นใต้” ขึ้น เพื่อเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนทั่วไป ได้มีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ระลึกถึงและยกย่องเชิดชูเกียรติแด่บูรพาจารย์ ศิลปินโนราและหนังตะลุง และส่งเสริมการท่องเที่ยวของนครหาดใหญ่ โดยภายในงานจัดให้มีกิจกรรมการรำโนราจากเยาวชนพื้นบ้าน จำนวน 200 คน รำถวายครู รำโนรา/ทำบท รำหน้าพอก โดย เยาวชนโนราสมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดสงขลา แต่งพอก โดย ราชครูโนราอาวุโสจากสมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดสงขลา รำสิบสองบท สิบสองคำพลัด ตามพิธีโนราโรงครู โดยราชครูโนราและนายพรานรับเชิญ พิธีเชื้อเชิญครูหมอโนรา […]
รมว.ศึกษาธิการ ชี้นักเรียนชู 3 นิ้ว หน้าเสาธง เป็นสิทธิส่วนบุคคล เตือนครู-ผู้บริหารโรงเรียนอย่าโยนเชื้อเข้ากองเพลิง จากเหตุการณ์ 3 วันที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวทางการเมือง และมีการชุมนุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ นักเรียน นักศึกษา ออกมาเรียกร้องเรื่องสิทธิ์เสรีภาพ ความเสมอภาค ต่อต้านระบบอำนาจนิยม กรณีเด็กนักเรียนแสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว ระหว่างเคารพธงชาติ และได้มีเหตุการณ์คุณครูและผอ. เข้ามาห้ามและไม่ได้อนุญาตให้เกิดการแสดงออกต่างๆ กลายเป็นภาพที่ออกไปเป็นเสียงวิจารณ์ในกระแสสังคมดัง นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ จึงรีบออกมากล่าวถึงกรณีนี้ว่า นักเรียนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก แต่ต้องมีขอบเขต และควรระมัดระวังเรื่องการท้าทาย หรือการแสดงออกที่อาจทำให้เกิดความแตกแยก จึงอยากให้ทุกฝ่ายพิจารณาอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันก็พร้อมเป็นตัวแทนรัฐบาลพูดคุยกับนักเรียนและนักศึกษา ทุกฝ่ายต้องทำความเข้าใจกับสถานการณ์และโรงเรียนที่มีความกดดันในการแสดงออกของนักเรียน ทางกระทรวงฯก็ต้องเปิดรับฟังว่าปัญหาต่าง ๆ มีเรื่องอะไรบ้าง ทั้งเรื่องในโรงเรียน และเรื่องของการเมือง เพื่อจะได้รวบรวมความคิดที่เห็นต่าง หรือว่าเห็นตรงกัน หลังจากนั้นต้องมีการเจรจาพูดคุยกันระหว่างครูและนักรียน ส่งผ่านมาที่ผู้บริหารของกระทรวงฯ ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้ความกดดันเบาบางลง เป็นโอกาสดีที่จะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสฟังนักเรียน เช่น “ถ้าหากนักเรียนมีการเรียกร้องแก้รัฐธรรมนูญเราก็ต้องถามว่า […]