ม.อ. ชี้ ผลวิจัยพืชกระท่อม ต้านซึมเศร้า สามารถช่วยรักษาอาการพาร์กินสัน

ม.อ. ชี้ ผลวิจัยพืชกระท่อม ต้านซึมเศร้า สามารถช่วยรักษาอาการพาร์กินสัน

วันที่ 6 ก.ย. 64 หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 ปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ทำให้สามารถปลูกพืชกระท่อมเอาไว้ครอบครอง สามารถซื้อ-ขาย หรือนำมาบริโภคได้อย่างเสรี ไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป และเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ นอกจากนี้ ผู้ที่ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานครอบครองพืชกระท่อม ถือว่าไม่ได้ทำความผิด ยกเว้นน้ำต้มใบกระท่อมผสมน้ำอัดลม หรือผสมยาแก้ไอ ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า 4×100 สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ส่วนน้ำอัดลมมีสารคาเฟอีนซึ่งกระตุ้นสมองส่วนกลาง ยาแก้ไอทำให้ง่วงซึม เมื่อนำมาผสมเข้าด้วยกันจะออกฤทธิ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว

73ef4ff88cd67dc2d14f24388df45262 Small

โดยชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้ ใช้ใบกระท่อมในการรักษาอาการและโรคต่าง ๆ หลายชนิด เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง โดยการเคี้ยวใบสด เคี้ยวครั้งละ 1-3 ใบ และมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อให้สามารถทำงานได้ทนนาน และใช้ทดแทนสารเสพติดชนิดอื่น เช่น ยาบ้า เฮโรอีน

สมบัติทางเภสัชวิทยา พบสารมิตรากัยนิน (Mitragynine) ทีมวิจัยพืชกระท่อมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ กำลังดำเนินงานศึกษาวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนมาตรการทางสาธารณสุขและการแพทย์ ทั้งในการป้องกันและดูแลรักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจากการใช้พืชกระท่อมและผู้ใช้สารเสพติดชนิดอื่น รวมทั้งในการพัฒนาศักยภาพของพืชสมุนไพรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์อีกด้วย

164b1010c3a49afb329eeafe910d4bc1 Small

ซึ่งทางรศ. ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทีมงานคณะวิทยาศาสตร์ หนึ่งในทีมที่กำลังศึกษาวิจัยพืชกระท่อม เปิดเผยว่า ได้ใช้เวลาถึง 19 ปีที่ศึกษาวิจัย พืชกระท่อม ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นภาคใต้ เมื่อกฎหมายปลดล็อก จะปลูกกี่ต้นก็ได้ เพราะพืชกระท่อม คือ สมุนไพร ยิ่งทำให้เกิดความสนใจทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับชาวบ้านในภาคใต้จะกินเพื่อให้ตื่นตัว เพื่อให้ร่างกายพร้อมทำงาน แก้อาการปวดเมื่อย และเพื่อรักษาโรคท้องร่วง

9280bdf10dfa47291d32fd30f1a06a2c Small

ผลการวิจัยล่าสุดที่เป็นไฮไลท์ในขณะนี้ คือ ผลการวิจัยในสัตว์ทดลองที่ชี้ว่า พืชกระท่อมช่วยต้านอาการซึมเศร้า บรรเทาอาการโรคพาร์กินสันได้ โรคสมองเสื่อมชนิดนี้มีอัตราการเกิดสูงถึง 1 ใน 3 ของโรคสมองเสื่อมทั้งหมด (อันดับหนึ่งคือโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีจำนวน 2 ใน 3) ผลวิจัยนี้นับว่าเป็นความหวังและโอกาสที่จะนำพืชกระท่อมไปใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าได้อีกมาก

Fdde027f039bdd1d06930cc1b6646470 Small

การวิจัยในหนูทดลองที่ชี้ว่าพืชกระท่อมแก้อาการซึมเศร้าได้ โดยวิเคราะห์จากรูปแบบคลื่นสมองของหนูทดลองและพฤติกรรมของหนูพบว่า เมื่อให้หนูทดลองว่ายน้ำ หนูที่ได้รับสารจากพืชกระท่อม จะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบแอคทีฟ ไม่เซื่องซึม หรือหยุดนิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัดจากใบกระท่อม ซึ่งจะได้มีการศึกษาในมนุษย์ต่อไป

F281f239d26ecc6b12d9fefd8250eb17 Small

อ้างอิง : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา

Next Post

สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 263 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 20,692 คน

Mon Sep 6 , 2021
สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 263 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 20,692 คน วันที่ 6 ก.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 263 ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้ 1.กลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในอำเภอต่าง ๆ และจากต่างจังหวัด จำนวน 171 ราย – อ.คลองหอยโข่ง 2 ราย – อ.จะนะ 27 ราย – อ.เทพา 3 ราย – อ.นาทวี 2 ราย – อ.เมือง 19 ราย – อ.ระโนด 1 ราย – อ.รัตภูมิ […]
ปกข่าวโควิด 01