สสก.5 สงขลา ขับเคลื่อนเครือข่ายทุเรียนภาคใต้ให้มีคุณภาพเพื่อการค้า

สสก.5 สงขลา ขับเคลื่อนเครือข่ายทุเรียนภาคใต้ให้มีคุณภาพเพื่อการค้า

วันที่ 2 ก.ย. 64 นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า ทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งสถานการณ์ตลาดทุเรียนในอาเซียนช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (2554-2563) อินโดนีเซียครองแชมป์การผลิตทุเรียนมากที่สุดของโลกตามด้วยไทย มาเลเชีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คาดว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ปริมาณการส่งออกทุเรียนไทยจะนำหน้าอินโดนีเซีย ตามมาด้วย มาเลเซีย และเวียดนาม แต่พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อทุเรียนไทย ได้แก่ 

1) จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนจากประเทศอื่น

 2) ไทยขาดระบบตรวจสอบย้อนกลับ 

3) ปัญหาทุเรียนอ่อน และเครื่องมือในการตรวจ 

4) จีนมีความเข้มงวดในการตรวจสินค้ามากขึ้น 

5) มีการสวมสิทธิ์ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน 

 6) ตลาดทุเรียนในประเทศถูกควบคุมโดยกลุ่มล้ง

93bada1fc00291403a26eaff674c6aac Small

ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตและแปรรูปทุเรียนในอนาคต และกรมส่งเสริมการเกษตรได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีนโยบายการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบระบบส่งเสริมเกษตรแบบใหญ่ เป็นการดำเนินงานที่เน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต สร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตร ได้อย่างมั่นคงในอนาคตตามแผนปฏิรูปการเกษตร

ดังนั้น จึงจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุเรียนให้มีคุณภาพเพื่อการค้า (Quick Win ปี 2564) เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตและแปรรูปทุเรียน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการควบคุมคุณภาพทุเรียนเพื่อการค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ของทุเรียนผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาดและส่งเสริมการบริโภคทุเรียนคุณภาพ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียน สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

4a5fdce68dc72f7c35304b0c191fc24a Small

ส่วนทุเรียนนอกฤดูจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ช่วงกลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไป และร่วมหารือประเด็นปุ๋ยเคมีราคาสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นไปตามกลไกราคาตลาด จึงแก้ไขปัญหาโดยเสนอให้เกษตรกรแปลงใหญ่ได้เข้าร่วมโครงการปุ๋ยของกระทรวงพาณิชย์และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยได้ และหาแนวทางการจำหน่ายแบบออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ

นายสุพิท จิตรภักดี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ใน 14 จังหวัดภาคใต้ มีแปลงใหญ่ทุเรียนจำนวน 111 แปลง จังหวัดยะลามีจำนวนมากที่สุด 29 แปลง รองลงมา ได้แก่ จังหวัดชุมพร 24 แปลง และจังหวัดนครศรีธรรราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดละจำนวน 10 แปลง

18172dfed97985f6e8f3b7b81870ce54 Small

ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้ผลักดันให้จัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายแปลงใหญ่ทุเรียนภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนให้แปลงใหญ่ทุเรียนผลิตทุเรียนภาคใต้มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการควบคุมคุณภาพทุเรียนเพื่อการค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ของทุเรียนผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาด

อ้างอิง : สทท.สงขลา

Next Post

สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 254 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 19,699คน

Thu Sep 2 , 2021
สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 254 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 19,699คน วันที่ 2 ก.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 254 ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้ 1.ผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม 8 แห่ง (ศรีตรังโกลฟส์,โชติวัฒน์อุตฯ,ซีเวลท์,เซฟสกิน,ไทยยูเนี่ยน,แปซิฟิค,แมนเอ,CPF) รวมจำนวน 30 ราย (รายใหม่ 27 ราย/สัมผัส 3 ราย) 2.กลุ่มผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ในบริษัท/ร้านค้า ต่าง ๆ รวมจำนวน 15 ราย (รายใหม่ 12 ราย/สัมผัส 3 ราย) 3.กลุ่มผู้ป่วยเดินทางมาจากต่างจังหวัด และผู้สัมผัสผู้ป่วยต่างจังหวัด รวมจำนวน 15 ราย (มาจาก กทม. 1 […]
ปกข่าวโควิด 01