อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่ตรวจยึดใบกระท่อมสดจำนวนกว่า 150 กิโลกรัม
วันที่ 31 ต.ค. 63 ช่วงเวลาค่ำกองกำลังเทพสตรี ทำการตรวจยึดของกลางยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ( ใบพืชกระท่อมสด ) บริเวณ บ้านทับโกบ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 6 กระสอบ น้ำหนักของกลางรวม 154 กิโลกรัม หน่วยฯ จึงได้ทำการตรวจยึดของกลางทั้งหมด และทำบันทึกการตรวจยึดไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยพื้นที่ตรวจยึดของกลางดังกล่าวอยู่แนวเขตแดน ไทย – มาเลเซีย
ทั้งนี้พล.ต.ศานติ สกุนตนาค ผบ.หน่วยเฉพาะกิจสงขลา/ ผบ.กองกำลังเทพสตรี พร้อมด้วย พล.ต.ต.ชวลิต สุขสุวรรณ์ ผบก.ตำรวจตระเวนชายแดนภาค4 ได้ลงพื้นที่หลังจากที่พบว่ามีการตัดทำลายแนวรั้วชายแดน ที่มีรั้วแบ่งเขตแดนแบบคู่ระหว่างไทยและมาเลเซียเป็นพื้นที่ล่อแหลมในการลักลอบข้ามแดนและขนสิ่งผิดกฎหมาย รวมถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมือง โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในมาเลเซีย ที่ถูกผลักดันออกจากประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
อ้างอิง : กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
Sun Nov 1 , 2020
เตือนชาวสวนยาง โรคใบร่วงในยางพาราเริ่มระบาดหนักในหลายพื้นที่ การยางแห่งประเทศไทย แนะเกษตรกรชาวสวนยาง เฝ้าระวังโรคใบร่วงหรือไฟทอฟธอราในช่วงหน้าฝน ย้ำเกษตรกรต้องดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ป้องกันการระบาดจากต้นสู่ต้น ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝน ถือเป็นช่วงที่เชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora) หรืออีกชื่อคือโรคใบร่วง มักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะกับสวนยางพารา ซึ่งเชื้อราไฟทอฟธอราจะเข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นยางได้แก่ ฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ และที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลงถ้าเชื้อราไฟทอฟธอราระบาด ทำให้ใบร่วงมากกว่า 20% และหากปล่อยให้โรคระบาดโดยไม่มีการควบคุมใบจะร่วงถึง 75% ส่งผลให้ผลผลิตลดลง 30-50% ด้านลักษณะอาการเกษตรกรสามารถสังเกตุอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ จะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อ มักมีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่ การเข้าทำลายที่ก้านใบนี้เองเป็นผลทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่ เนื่องจากเชื้อสร้างเนื้อเยื่อ abscission layer เมื่อนำมาสะบัดเบา ๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่าย บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบ หรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำ ขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง ทั้งนี้เกิดจากหลายสาเหตุ […]