“นิพนธ์” มท.2 เร่งติดตามแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ลงพื้นที่คลองสำโรง-หาดเก้าเส้ง จังหวัดสงขลา

“นิพนธ์” มท.2 เร่งติดตามแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ลงพื้นที่คลองสำโรง-หาดเก้าเส้ง จังหวัดสงขลา

วันที่ 14 มิ.ย. 63 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ลงพื้นที่ติดตามและรับฟังแนวทางการแก้ไขคลองสำโรง จากเจ้าหน้าที่องค์การจัดการน้ำเสีย โดยนายชีระ วงศ์บูรณะ ผู้อำนวยการจัดการน้ำเสีย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อจน. พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ ตัณติเศรณี นายกเทศบาลนครสงขลา และนายไชยพร นิยมแก้ว นายอำเภอเมืองสงขลา ณ บริเวณปากคลองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 

หลังจากที่สำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้นำรถแบคโฮคอยาว มาทำการขุดลอกขยายปากร่องน้ำคลองสำโรงให้กว้างขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยังได้ทำการปรับภูมิทัศน์พื้นที่บริเวณชายหาดคลองสำโรงดังกล่าว เพื่อปรับทัศนียภาพความสวยงามของปากคลองสำโรง

โควิด-19

คลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้าง มีจำนวนชุมชนที่เพิ่มมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชนหนาแน่นขึ้น จึงต้องมีการวางแผนเรื่องการบำบัดน้ำเสียโดยน้ำที่ใช้แล้วเมื่อก่อนไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย ฉะนั้นเมื่อบ้านเรือนหนาแน่นมากขึ้นก็เป็นเหตุให้น้ำเสียไหลลงสู่คลองสำโรงมากขึ้นประกอบกับฤดูกาลของต้นน้ำตื้นเขิน เมื่อมีลมมรสุมพัดเข้ามาก็จะเอาทรายมาปิดปากร่องน้ำ จนทำให้น้ำไม่สามารถเข้ามา ระบายหรือถ่ายเทได้ จึงทำให้เกิดน้ำขัง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรามีน้ำเสียมากขึ้น

ทั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูคลองสำโรง ให้กับมาเป็นน้ำใสให้ได้ จึงต้องมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนมากขึ้น ผมจึงมอบนโยบายให้กับองค์การกำจัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทยมาทำการศึกษาออกแบบสำรวจตลอดเส้นทางในคลองสำโรงทั้งหมดว่ามีมาตรการอย่างไรบ้างในการทำให้คลองสำโรงมีคุณภาพน้ำที่ดีและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับเมืองสงขลาและเขารูปช้างในเบื้องต้น จึงต้องขอขอบคุณองค์การจัดการน้ำเสียที่ได้มาสำรวจออกแบบและทราบว่าในปี พ.ศ. 2564 ก็จะมีงบประมาณก้อนแรกเข้ามาดูแลในการที่จะรวบรวมน้ำเสียฝั่งเขตเทศบาลนครสงขลาก่อน ในการที่จะรวบรวมเข้าท่อบำบัดจะไม่ให้ปล่อยลงไปในคลองสำโรง แต่ว่าส่วนหนึ่งบ้านที่อยู่ริมคลองจะเป็นปัญหาอุปสรรคอยู่ จึงต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทั้งสองฝั่งคลองให้ช่วยกันดูแลระบบนิเวศช่วยกันดูแลการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ส่วนไหนที่จะทำให้น้ำเคลื่อนตัวได้ก็จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำส่วนไหนที่ไม่มีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดน้ำเสีย นานไปเข้าก็จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน จึงอยากจะเชิญชวนพี่น้องใครมีมาตรการ หรือจุลินทรีย์อันใดที่ช่วยกำจัดน้ำเสียได้ก็อยากให้ช่วยกันดูแลน้ำเสียในบริเวณชุมชนของแต่ละคน ที่สำคัญไม่ว่าเราจะมีมาตรการอย่างไรในการที่จะดูแลระบบน้ำเสีย ถ้าพี่น้องประชาชนทั้งสองฝั่งคลองไม่ให้ความร่วมมือก็ยากที่จะประสบความสำเร็จจึงถือโอกาสนี้ขอความร่วมมือและช่วยกันดูแลให้คลองสำโรงแห่งนี้เป็นคลองน้ำใสให้ได้”

โควิด-19

นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย กล่าวเสริมว่า” แผนแม่บททั้งหมดที่เทศบาลนครสงขลามีอยู่แล้ว เริ่มตั้งแต่จะหางบประมาณมาล้างท่อน้ำเสีย ซึ่งท่านรัฐมนตรีก็มองเห็นภาพรวมทั้งหมดแล้ว ยังเหลือก็แต่ขั้นตอนปฏิบัติ และความร่วมมือจากประชาชน ซึ่งก็จะเริ่มใน 2564 ส่วนการก่อสร้างส่วนเพิ่มเติม เพราะมีบางส่วนที่ท่อน้ำเสียไหลลงคลองสำโรง ซึ่งเราก็จะไม่ทำให้น้ำเสียไหลลงคลองสำโรง การล้างท่อยังต้องใช้ระยะเวลาทำ เพราะจะคิดในเรื่องของงบประมาณในการล้าง แต่ก็จะพยายามและช่วงนี้ก็อยู่ในจังหวะที่พอดี เราได้รับคำแนะนำจากท่านนายกสมศักดิ์ ว่าเราควรจะมาทำความสะอาดกันสักครั้งหนึ่ง ส่วนนักวิชาการทั้งสองท่านก็มีข้อมูล ซึ่งก็จะนำข้อมูลมาสู่การปฏิบัติ และก็ได้มีการศึกษามาแล้ว ก็จะได้นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ”

ได้นำอุปกรณ์ เครื่องตรวจวัดน้ำมา ทำการตรวจวัดน้ำในบริเวณปากคลองสำโรง พบว่าจากการเปิดปากน้ำให้น้ำทะเลไหลเข้ามาแล้ว ทำให้ค่าอ๊อกซิเจนในน้ำมีปริมาณที่มากกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำสามารถอยู่ได้ พร้อมกันนี้ยังได้นำจุรินทรีย์ มาหย่อนลงในคลองสำโรง เพื่อช่วยบำบัดน้ำเสียและส่งกลิ่นเหม็น ในการแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดือดร้อน อันเนื่องจากน้ำเน่าเสีย ให้แก่พี่น้องประชาชนตลอดคลองสำโรง

โควิด-19

โควิด-19

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : กรมข่าวประชาสัมพันธ์

Next Post

 ผู้ประกอบการโรงแรมยะลาแกรนด์พาเลซ ปรับห้องอาหารโรงแรมในรูปแบบ New Normal

Sun Jun 14 , 2020
 ผู้ประกอบการโรงแรมยะลาแกรนด์พาเลซ ปรับห้องอาหารโรงแรมในรูปแบบ New Normal หลังจากการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และรัฐบาลได้มีมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 4 ใน 3 กลุ่มกิจการ กิจกรรมทั้งนี้ในส่วนของผู้ประกอบการโรงแรมจังหวัดยะลา ได้จัดเตรียมความพร้อมที่จะเปิดรับส่วนราชการ ภาคเอกชน ในการจัดประชุม อบรม สัมมนา ตามมาตรการที่ทางรัฐบาล สาธารณสุขได้กำหนดทั้งการตรวจคัดกรองผู้เข้าร่วมใช้สถานที่ การจัดจุดล้างมือ การกำหนดเส้นทางเข้าออกทางเดียว การเปิดใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” การลงชื่อผู้เข้าใช้ การปรับสถานที่ เว้นระยะห่าง เพื่อรองรับผู้เข้าร่วม ซึ่งมีการจำกัดจำนวนการใช้สถานที่ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมทั้ง ในส่วนของพนักงานที่ทุกคนจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย ตรวจวัดไข้ก่อนปฎิบัติงาน ด้านนายอุปถัมภ์ ศิริไชย ผู้ประกอบการโรงแรมยะลาแกรนด์พาเลซ ระบุว่า หลังจากรัฐบาลได้อนุญาต ให้กลับมาเปิดกิจการได้ ในส่วนของ อาหาร เครื่องดื่ม  เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เกือบ 3 เดือน ก็จะกลับมาเปิดให้บริการเฉพาะ ในส่วนของงานเลี้ยง งานสัมมนาเท่านั้น ในบางส่วนยังปิดให้บริการ […]
โควิด-19