จังหวัดสงขลา เตรียมความพร้อมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม

จังหวัดสงขลา เตรียมความพร้อมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม

     นายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จังหวัดสงขลาได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยวาตภัย และดินถล่ม ประจำปี 2563 โดยมีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ด้านอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดสงขลา ให้มีคำสั่งคณะทำงานในส่วนต่างๆ ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังกล่าว อีกทั้งได้แจ้งให้อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมตามแผนเผชิญเหตุ และสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์ขึ้น

นอกจากนี้ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์น้ำจังหวัดสงขลา เพื่อทำการตรวจสอบติดตามภาวะน้ำไว้ด้วยแล้ว ส่วนหนึ่งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้ให้ทางจังหวัดจัดทำแผนเผชิญเหตุด้านอุทกภัยและดินถล่ม พร้อมทั้งสำรวจพื้นที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา ประจำปี 2563 เพื่อนำไปประกอบการปรับปรุงแผนเผชิญเหตุใช้ในการแจ้งเตือนภัย ช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้น ให้เกิดผลสำเร็จ และแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ จังหวัดสงขลา ได้มีการจัดตั้งส่วนสนับสนุนให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ตามแผนเผชิญเหตุแบ่งเป็น 4 เขตประกอบด้วย เขตที่ 1 ตั้งขึ้น ณ กองบัญชาการกองทัพเรือภาคที่ 2 เขตที่ 2 ตั้งขึ้น ณ มณฑลทหารบกที่ 42 เขตที่ 3 ตั้งขึ้น ณ กองบิน 56 และเขตที่ 4 ตั้งขึ้น ณ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4 ซึ่งมีความครอบคลุมทั้ง 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา และขณะนี้ได้มีการสรุปข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดสงขลา รวมพื้นที่เสี่ยง 16 อำเภอ 115 ตำบล 664 หมู่บ้าน 729 ชุมชน

จังหวัดสงขลา เตรียมความพร้อมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม

จังหวัดสงขลา เตรียมความพร้อมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม

จังหวัดสงขลา เตรียมความพร้อมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม

 

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.ประชาสัมพันธ์สงขลา

Next Post

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา เชิญคนไทยชมดาวหางนีโอไวส์ด้วยตาเปล่า ครั้งเดียวในรอบกว่า 6,000 ปี วันที่ 18-23 กรกฎาคมนี้

Sun Jul 19 , 2020
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา 18-23 กรกฎาคมนี้ คนไทยมีลุ้นชมดาวหางนีโอไวส์ด้วยตาเปล่า ครั้งเดียวในรอบกว่า 6,000 ปี นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ได้รับความสนใจจากนักดาราศาสตร์และผู้คนบนโลก เนื่องจากปรากฏสว่างเหนือน่านฟ้าหลายประเทศ ต่างพากันติดตามและบันทึกภาพดาวหางดังกล่าวเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก ส่วนที่ประเทศไทยในช่วงตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป ดาวหางนีโอไวส์จะปรากฏในช่วงหัวค่ำ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ที่ดีสุด คือช่วงวันที่ 18-22 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 21 กรกฎาคม เป็นคืนเดือนมืดไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเป็นโอกาสดีที่จะเฝ้าสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ด้วยตาเปล่า ส่วนวันที่ 23 กรกฎาคม แม้เป็นช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด แต่จากข้อมูลพบว่าดาวหางจะมีค่าความสว่างลดลง รวมทั้งในคืนดังกล่าวตรงกับคืนดวงจันทร์ขึ้น 2 ค่ำ […]
ปกข่าวแบบขนาด เฟสนายก [recovered] 01