บทวิเคราะห์ โปรเจค MICE City ยกระดับสงขลาทัดเทียมนานาชาติ
การพัฒนาไมซ์ซิตี้ (MICE City) มีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับเมืองต่างๆ ของไทยให้เป็นจุดหมาย ปลายทางแห่งการจัดประชุมองค์กร การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัดประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ และงานแสดงสินค้านานาชาติ (Preferred MICE Destination) และเป็นการเพิ่มทางเลือกแก่ผู้จัดงานเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศ ซึ่งในปัจจุบันสำนักงานส่งเสริมการ จัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ได้ลงนามกับเมืองหลักใน 5 ภูมิภาคของประเทศให้เป็นเมือง ไมซ์ซิตี้ ซึ่งเป็นหัวเมืองในแต่ละภาคได้แก่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น ภูเก็ต เชียงใหม่ และพัทยา เมื่อมองถึงในลักษณะภายจังหวัดสงขลาบ้านเรานั้น เรียกได้ว่ามีความพร้อมอย่างมากสำหรับการเป็น MICE City
จุดสำคัญอย่างนึงในการวัดศักยภาพของจังหวัดในการเป็น MICE City นั้นคือ จังหวัดสงขลาจำเป็นต้องมีองค์ประกอบในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry) จังหวัดจะต้องมีการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (Business Tourism) มีวัตถุประสงค์ของการเดินทาง ครอบคลุมกิจกรรมดังนี้ การประชุมวิชาชีพ หรือการประชุม ในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคและระดับชาติ การเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การฝึกอบรม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล งานแสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติ ในขณะที่คำว่าไมซ์ (MICE) ในเอเชีย โดยทั่วไป มักหมายถึง อุตสาหกรรมการจัดประชุมและงานแสดงสินค้า มักจะมีองค์ประกอบดังนี้
Meetings (ประชุมองค์กร) หมายถึง การจัดประชุมของกลุ่มบุคคลที่มาจากบริษัทเดียวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยไม่จำเป็นต้องมาจากสำนักงานเดียวกัน แต่อาจจะมาจากสำนักงานคนละทวีปก็ได้ โดยการ
ประชุมดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องมีวัตถุประสงค์ร่วมกันภายใต้เวลาและสถานที่ที่กำหนดซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบ
Incentive Travels (การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล) หมายถึง เครื่องมือในการบริหารจัดการรูปแบบหนึ่งที่มอบประสบการณ์ในการท่องเที่ยวที่มีความพิเศษเพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้กับคนในองค์กร
Conventions (การประชุมวิชาชีพ) คือ การรวมตัวของกลุ่มบุคคลต่างองค์กรในสายอาชีพเดียวกันหรือ ใกล้เคียงกันโดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางธุรกิจ ในสถานที่และเวลาที่ถูกเลือกและจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า
โดยผู้เข้าร่วมประชุม แต่ละคนมีปฏิสัมพันธ์ โต้เถียง อภิปราย หรือมีการแข่งขันกันภายใต้หัวข้อที่กำหนดไว้
Exhibitions (งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ) คือ การนำเสนอสินค้าและบริการที่มีการเชิญผู้เข้าร่วมงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้เกิดการขายแก่ผู้ที่เข้าร่วมงาน
หากมองในข้อมูลข้างต้น สงขลาควรจะเป็น MICE City ได้มาอย่างยาวนานแล้ว เพราะสงขลาเป็นจังหวัดที่เรียกได้ว่ามีความพร้อมในรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่จัดประชุมที่มีมาตรฐานในระดับประเทศ แต่ถึงกระนั้นสงขลายังมีข้อจำกัดบางอย่างที่เหมือนเป็นปัญหาคอขวดมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวบางกลุ่มมองว่าสงขลาเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยจริงหรือไม่ รูปแบบการขนส่งสาธารณะ ที่ยังดูเป็นข้อโต้แย้งในปัจจุบันว่าช่วยอำนวยความสะดวกหรือส่งผลกระทบอย่างมากมายในอำเภอหลักของจังหวัดสงขลา รวมถึงปัญหาระหว่างชาวบ้านกับภาครัฐในแง่ของการพัฒนา พื้นที่ชายฝั่งของจังหวัดสงขลาด้วยเช่นกัน
โดยสรุป การก้าวขึ้นมาเป็น MICE City ของจังหวัดสงขลาในอนาคตนั้น จำเป็นต้องได้รับรับความร่วมมือที่สำคัญจากสามไตรภาคีนั้นคือ รัฐ เอกชน และประชาชน สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ให้ทุกคนเห็นตรงกันว่าไมซ์จะสร้างประโยชน์ให้กับเมืองอย่างชัดเจน สามารถเชื่อมโยงไปได้ในทุกอุตสาหกรรม เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้จังหวัดสงขลาเป็น MICE City รองรับงานและกิจกรรมในระดับนานาชาติ
บทวิเคาระห์อื่นๆที่น่าสนใจ
- เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจะนะ Smart Cityในความฝันหรือผลกระทบที่ชาวบ้านต้องได้รับ
- บทวิเคราะห์ ไทยชนะมาตราการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ หรือข้อบังคับที่มีประชาชนต้องแบกรับ
- บทวิเคราะห์ CPTPP ความหวังของประเทศไทย หรือผลกระทบอันโหดร้ายที่เกษตกรต้องได้รับ
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
-MICE Intelligence Center
-Thailand Convention & Exhibition Bureau
-วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวข้อ สงขลาเมืองแห่งไมซ์ เพื่อรองรับกลุ่มการท่องเที่ยว IMT-GT โดยคุณ ณัฐกานต์ รัตนพันธุ์ พัชราภรณ์ บุญเลื่อง และอรทัย พงศ์เชี่ยวบุญ
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์