จังหวัดสงขลา เดินหน้าพัฒนา “สงขลา สู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City)” ในรูปแบบเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน
เมื่อวันนี้ 13 พ.ค. 62 ที่ผ่านมาที่เคยมีการประชุม คณะทำงานการสร้างการรับรู้และเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนสงขลาสู่ “เมืองอัจฉริยะ” (Smart City) โดยมีนายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในการประชุม ต่อมาในวันที่ 20 ก.ค. 63 นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เผยว่า จากนโยบายรัฐบาลที่กำหนดให้ประเทศไทยเดินหน้าพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “Smart City” อย่างเต็มตัว
ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เป็นหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ในระยะแรกได้พัฒนาแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2562และ เตรียมจะขยายไปสู่ 24 จังหวัด 30 พื้นที่จนถึงปี 2565ซึ่งจังหวัดสงขลาได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มดังกล่าวด้วย และสำหรับรูปแบบของเมืองอัจฉริยะ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 ด้าน คือ 1.เศรษฐกิจอัจฉริยะ 2.ขนส่งอัจฉริยะ 3.พลังงานอัจฉริยะ 4.การดำรงชีวิตอัจฉริยะ 5.สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ 6.พลเมืองอัจฉริยะ และ 7.การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ
โดยได้มีการจัดทำแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในปีที่ 1 พ.ศ. 2561 พัฒนาเมืองอัจฉริยะ 10 พื้นที่ใน 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร ปีที่ 2 (พ.ศ. 2562 – 2563) พัฒนาเมืองอัจฉริยะ 30 พื้นที่ ใน 24 จังหวัด อาทิ เชียงราย พิษณุโลก น่าน อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย นครพนม มุกดาหาร กระบี่ พังงา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล นครศรีธรรมราช และระนอง และปีที่ 3 – 4 (พ.ศ. 2563 – 2565) ขยายเมืองอัจฉริยะผ่านการรับสมัครเมืองอัจฉริยะ และคาดว่าจะครอบคลุมการให้บริการเมืองอัจฉริยะ และระบบ City Data Platform 100 พื้นที่ใน 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ตลอดจนการกำหนดเกณฑ์การประเมินเมืองอัจฉริยะและรับสมัครเมืองเพื่อเป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะประเทศไทย และการออกมาตรการกระตุ้นการลงทุนในเมืองอัจฉริยะผ่านกลไกสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปจนถึงการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะสู่อาเซียน
อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงและกรอบความร่วมมือพิเศษ เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำคณะสื่อมวลชนรวมถึงบริษัท Cisco เยี่ยมชมนวัตกรรม และโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะต่างๆที่นำมาใช้จริงในมหาวิทยาลัย (Smart University) อาทิ ฟาร์มอัจฉริยะ PSU Smart Farm และระบบ IOT (internet of things) ของมหาวิทยาลัยที่ใช้ในการควบคุมการปิดเปิดไฟอัจฉริยะ ,จุดชาร์จรถไฟฟ้า ,Data center ,รวมถึงระบบเฝ้าระวังน้ำท่วม (Hatyai City Climate)
ทั้งนี้สำคัญกว่านั้นคือ “Smart People” ที่ไม่ใช่เพียงเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของคน ที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด ไม่เพียงแต่ภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่จะมีการขยายออกไปภายนอกทั้งจังหวัดสงขลา รวมถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้ง 5 วิทยาเขต เพื่อพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้
อ้างอิง : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ , ศาลากลางจังหวัดสงขลา , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่