จังหวัดสตูล ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุนำยางพารามาแปรรูปเป็นวัสดุด้านการจราจร

จังหวัดสตูล ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุนำยางพารามาแปรรูปเป็นวัสดุด้านการจราจร

เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 63 ที่ผ่านมานายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการนำร่องการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick off) ณ จังหวัดสตูล บริเวณชุมชนบ้านคลองน้ำเค็ม อ.ละงู จ.สตูล  พร้อมด้วยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นำหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนสหกรณ์ ประชาชน และเกษตรกร ให้การต้อนรับ

ด้านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับการเปิดตัวโครงการฯที่จังหวัดสตูล ได้ Kick off ถนนทางหลวงหมายเลข 404 ละงู – ฉลุง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มุ่งหน้าไปจังหวัดตรัง ที่มีการนำร่องใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต ระยะทางรวม 188 เมตร ซึ่งเป็นโครงการตามนโยบายการส่งเสริมการใช้ยางพาราในภาครัฐ ที่กระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อผลักดันให้สถาบันเกษตรกรเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยการนำยางพารามาแปรรูปเป็นวัสดุด้านการจราจรและเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ได้แก่ แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางจากยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) สำหรับนำไปใช้ในกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2563-2565

จังหวัดสตูล ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุนำยางพารามาแปรรูปเป็นวัสดุด้านการจราจร

โดยทางกระทรวงคมนาคมได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและความปลอดภัยทางท้องถนนที่ผลิตจากยางพารา และได้มีการทดสอบการชนและการกระแทกจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยแล้วว่าวัสดุที่ผลิตจากยางพาราธรรมชาติช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในปี 2563 มีเป้าหมายขยายเส้นทางในพื้นที่จังหวัดสตูลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ด้วยการติดตั้งแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต ให้ได้ระยะทางกว่า 9 กิโลเมตร บนถนนทางหลวงหมายเลข 404 และถนนมุ่งหน้าไปยังท่าเรือปากบารา ซึ่งจังหวัดสตูลเป็นพื้นที่ที่มียางพาราเป็นสินค้าหลัก ประกอบกับมีโรงงานผลิตในพื้นที่ จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ด้านนายอุดม คงสมคิด ประธานชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางสตูล จำกัด กล่าวว่า จังหวัดสตูลมีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 470,000 ไร่ ปริมาณผลผลิตยางพาราเฉลี่ย 120 ล้านกิโลกรัมต่อปี ก่อนที่จะมีโครงการนี้เกษตรกรชาวสวนยางสตูลมีความเป็นอยู่ค่อนข้างยากลำบาก หลังจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศ ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางสตูลจำกัด จึงได้ริเริ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยาพารา โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ ปัจจุบันชุมนุมสหกรณ์มีสมาชิกอยู่ 18 สหกรณ์ รับซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกรมาแปรรูปเป็นแผ่นยางรมควัน และนำนวัตกรรมมาผลิตเป็นแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต ซึ่งเป็นต้นแบบนำร่องแห่งแรกของประเทศ เพื่อนำมาติดตั้งเป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ทำให้พี่น้องเกษตรกรต่างยินดีเพราะราคายางเริ่มขยับสูงขึ้นจากราคายางพารากิโลกรัมละ 40 บาท เป็น 60 บาท ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งได้รับผลประโยชน์มากกว่า 10,000 ครัวเรือน อย่างไรก็ตามอยากให้รัฐบาลมีนโยบายหรือทำโครงการดีๆอย่างนี้ต่อเนื่องช่วยเหลือประชาชนต่อไป

จังหวัดสตูล ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุนำยางพารามาแปรรูปเป็นวัสดุด้านการจราจร

จังหวัดสตูล ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุนำยางพารามาแปรรูปเป็นวัสดุด้านการจราจร

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล

 

 

Next Post

สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 7 กันยายน 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย

Mon Sep 7 , 2020
สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 7 กันยายน 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย วันที่ 1 กันยายน 2563 เวลา 11.00 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือศบค.ได้เสนอข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งในวันนี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) สำหรับรายละเอียดของผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย มีดังนี้ เป็นคนไทย ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ จากประเทศอินเดีย 1 ราย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) โดยสรุปผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,445 ราย หายป่วยแล้ว 3,281 ราย และเสียชีวิตสะสม 58 ราย   […]
สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 7 กันยายน 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย