วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี ครบ 65 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย
การทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก โดยต่อมาได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
Sat Nov 14 , 2020
ศอ.บต. ดันแรงงาน จชต. ให้มีงานทำหลังผลกระทบจาก Covid-19 พร้อมดันอุตสาหกรรมชายแดนใต้รองรับคนว่างงาน พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เผยว่า รัฐบาลและ ศอ.บต. ได้ช่วยกันเพื่อหาที่ยืนให้กับพี่น้องประชาชนมาตลอด มีการนำพี่น้องประชาชนคนไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ที่ว่างงานและที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ไปทำงานยังโรงงานต่างๆเพื่อเยียวยารายได้ ขณะที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศ โดยแรงงานคนไทยในประเทศมาเลเซียต้องเดินทางกลับเข้าประเทศ ภายหลังมาเลเซียประกาศปิดประเทศ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้ในพื้นที่มีเยาวชนและแรงงานว่างงานรวมแรงงานต้มยำกุ้ง มาเลเซีย 39,000 คน ซึ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เองก็กำลัง มีการพัฒนาและส่งเสริมการมีอาชีพของประชาชนในหลายมิติ รวมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.เทพา อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งหากทุกอย่างที่กำลังพัฒนามีความพร้อม ก็จะสามารถกลับมาทำงานในพื้นที่บ้านเกิดได้ […]