โปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 ก.ค. 2564
วันที่ 28 ก.ค. 64 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2564พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2564
เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษ แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป.สำหรับ พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2564 มีเนื้อหาสำคัญดังนี้
พระราชทานอภัยโทษ ปล่อยตัว ได้แก่
-ผู้ต้องกักขัง
-ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ
-ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับ
-ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง อาทิ โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคเอดส์ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้ป่วยอัมพาต, สมองเสื่อม, สมองพิการ, ปอดอุดกั้น, โลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต, และตับวายเรื้อรัง และผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปี ที่ต้องรักษาพยาบาลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี
-ผู้ต้องราชทัณฑ์ที่ชราภาพง
-ผู้ต้องราชทัณฑ์ที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี
พระราชทานอภัยโทษ ลดโทษ นักโทษทั่วไป ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับขั้นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม 1 ใน 2ชั้นเยี่ยมมาก 1 ใน 3 ชั้นดี 1 ใน 5ชั้นกลาง 1 ใน 5
อ้างอิง : กวาง ไตรศุลี ไตรสรณกุล , ราชกิจจานุเบกษา