กรมโยธาธิการและผังเมืองถอนงบประมาณสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามออกจากงบปี 2564 สำเร็จ

กรมโยธาธิการและผังเมืองถอนงบประมาณสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามออกจากงบปี 2564 สำเร็จ

    เมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563 กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เข้ามาชี้แจงงบประมาณในชั้นกรรมาธิการงบฯ 64 กรมนี้เป็นเจ้าของโครงการเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงามโครงการได้รับการนำเสนอตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 เมื่อโครงการเริ่มการก่อสร้างเกิดข้อพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนในพื้นที่ โดยประเด็นที่มีความเห็นต่างกันมีสองประเด็นหลัก

    • ประเด็นแรก เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการที่ออกแบบและคิดมาจากส่วนกลาง กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ไม่เปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน หรือ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอความเห็น  เมื่อเกิดการก่อสร้างขึ้น ประชาชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งจึงต่อต้านไม่ให้มีการก่อสร้างพื้นที่ชายหาด
    • ประเด็นที่สอง เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ของการกัดเซาะชายฝั่ง การกัดเซาะชายฝั่งถูกแบ่งวิธีแก้ออกเป็นหลายระดับ จากระดับที่ต่ำที่สุดคือการปล่อยให้เป็นไปตามสมดุลย์ธรรมชาติ จนถึงระดับที่จะต้องฟื้นฟูชายฝั่ง การเก็บข้อมูลของนักวิชาการ, ภาคประชาสังคม และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าหาดม่วงงามไม่มีการกัดเซาะถาวร มีแต่การกัดเซาะตามฤดูกาลที่ขึ้นอยู่บนความแรงของมรสุม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างแข็งป้องกัน สามารถปล่อยให้มีชายหาดธรรมชาติได้

รวมตัวของประชาชนส่วนหนึ่งจึงร่วมกันฟ้องร้องศาลปกครอง ศาลปกครองดูเอกสารแล้วให้ความเห็นว่าหาดไม่มีการกัดเซาะรุนแรง จึงสั่งคุ้มครองหยุดการก่อสร้างชั่วคราวในต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากนั้นธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและศิริกัญญา ตันสกุล ได้อภิปรายเสนอตัดงบประมาณการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงาม ในชั้นกรรมาธิการงบประมาณโดยอ้างอิงถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงว่าหาดม่วงงามไม่มีการกัดเซาะ เมื่ออภิปรายเสร็จ จึงได้ผลสรุป อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองได้เสนอถอนงบประมาณตัวนี้ออกจากงบปี 2564 หมายความว่าไม่ว่าคำสั่งศาลจะเป็นอย่างไร จะไม่มีการสร้างเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงามอีก หากกรมโยธาธิการและผังเมืองจะสร้าง ต้องของบใหม่ในปีถัดๆ ไป

  ซึ่งการติดตามโครงการและการติดตามสภาพชายหาดของประชาชนชาวม่วงงามนั้น มีเป้าหมายเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้สื่อสารกับสาธารณะเเละยืนยันต่อศาลปกครอง ถึงความไม่จำเป็นของกำเเพงกันคลื่น เนื่องจากหาดไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง ประชาชนชาวม่วงงามฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ยังคงต้องรอให้ศาลพิพากษาถึงที่สุด 

กรมโยธาธิการและผังเมืองถอนงบประมาณสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามออกจากงบปี 2564 สำเร็จ

กรมโยธาธิการและผังเมืองถอนงบประมาณสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามออกจากงบปี 2564 สำเร็จ

กรมโยธาธิการและผังเมืองถอนงบประมาณสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามออกจากงบปี 2564 สำเร็จ

กรมโยธาธิการและผังเมืองถอนงบประมาณสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามออกจากงบปี 2564 สำเร็จ

 

HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : Thanathorn Juangroongruangkit – ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ /

Next Post

เสรีภาพ เสมอภาค และภารดรภาพ จากปฏิวัติฝรั่งเศษ สู่นักเรียนชูสามนิ้วติดโบขาว

Wed Aug 19 , 2020
เสรีภาพ เสมอภาค และภารดรภาพ จากปฏิวัติฝรั่งเศษ สู่นักเรียนชูสามนิ้วติดโบขาว เรื่องราวและความคิดการปลดแอกของเยาวชน ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมานั้นได้เกิดเหตุการณ์การรุกฮือขึ้นเพื่อแสดงออกของภาคเยาวชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรวมตัวกันประท้วงหน้าโรงเรียน การถือแผ่นป้ายแสดงข้อความต่างๆ หรือเหตุการณ์ล่าสุดที่เหล่านักเรียนได้ทำการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ชูสามนิ้วในช่วงของกิจกรรมเคารพธงชาติ หากแต่มองไปถึงบริบททางประวัติศาสตร์ผ่านเรื่องราวของเหตุการณ์สำคัญในแต่ละยุคจะทำให้เราทราบกันว่าเยาวชนมีบทบาทอย่างมากต่อการเรียกร้องทางการเมือง และในวันนี้ทางสำนักข่าว Hatyai Today News จะพาทุกท่านเข้าไปพบเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ต่อการเรียกร้องทางการในภาคเยาวชน ปฏิวัติฝรั่งเศส Do you hear the people sing? ย้อนกลับไปราว 300 กว่าปีก่อนในช่วงเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยจากยุคสมัยระบบศักดินาที่มีการแบ่งฐานันดรอย่างหลากหลาย (Hierarchical System) สู่ยุคสว่างไสวทางปัญญา ยุคที่ผู้คนมีเสรีภาพในความคิด เกิดเป็นแนวคิดนักศึกษาหัวก้าวหน้า โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศสที่ในยุคนั้นเต็มไปด้วยนักศึกษาชนชั้นกระฎุมพีไปจนถึงรากหญ้า ที่ต้องการจะปฏิรูประบบการปกครองโดยให้ประชาชนเข้ามามีอำนาจมากขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นผลมาจากสงคราม 7 ปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ผลพวงจากสงครามฝรั่งเศสได้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ภาษีของประชาชนถูกรีดเนื้ออย่างหนักชนชั้นไหนที่ร่ำรวยก็มีอันจะกินอย่างไม่ขาด ส่วนชนชั้นล่างก็แล้งแค้นเกินกว่าที่จะหาอาหารมาประทังชีวิตในแต่ละวัน จนเกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นของชนชั้นปกครอง กับเหล่าราษฎร ทำให้ในช่วงนั้นเมืองหลวงของฝรั่งเศสอย่างกรุงปารีสเต็มไปด้วยอาชญากรรม การออกปล้นทั้งการวันและกลางคืน ทำให้ในเวลานั้นได้มีการพูดคุยกันระหว่าง ประกอบด้วยนักบวชหรือพระที่เป็นฐานันดรที่ 1 ฐานันดรที่ 2 คือเหล่าขุนนาง […]
ปกข่าวสำหรับเฟส [recovered] 01