Rapid Test ตรวจโควิด-19 ได้จริงหรือไม่

 Rapid Test ตรวจโควิด-19 ได้จริงหรือไม่

Rapid Test ตรวจโควิด-19 ได้จริงหรือไม่

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในแถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 เรื่อง การเก็บตัวอย่าง / ชุดตรวจ Rapid Test / การพัฒนาศักยภาพขยายแล็บภูมิภาค นพ.โอภาส อธิบายว่าขั้นตอนการตรวจในห้องปฏิบัติการ เริ่มจากเจ้าหน้าที่ซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้น และตรวจทางห้องปฏิบัติการซึ่งมีวิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อที่แตกต่างกันไป ซึ่งก่อนทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนคือธรรมชาติของการเกิดโรคก่อน

“โดยต้องรู้ว่ากระบวนการเกิดโรคนั้นเกิดจากอะไร กรณีโรคโควิด-19 ต้องไล่ย้อนเริ่มจากวันที่รับเชื้อไปจนถึงวันที่เริ่มมีอาการ โดยในช่วงเวลานี้เรียกว่าระยะฟักตัวของโรค เป็นช่วงที่ไม่มีอาการแต่เชื้อกำลังแบ่งตัวในร่างกาย จนถึงขณะหนึ่งที่ร่างกายสู้ไม่ไหวจึงแสดงอาการออกมา เมื่อเริ่มมีอาการผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะหายเองได้ แต่บางรายอาจโชคร้ายถึงขั้นเสียชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ กระบวนการเหล่านี้เป็นธรรมชาติของการเกิดโรคโควิด-19”

สำหรับวิธีการตรวจในห้องปฏิบัติการนั้น หลักๆ มีอยู่ 2 อย่าง คือ

1. ตรวจหาเชื้อไวรัสโดยตรง ซึ่งขณะนี้วิธีการตรวจที่ไวที่สุดคือ “การตรวจสารพันธุกรรม” (RT PCR) เป็นวิธีการหลักในการวินิจฉัยในปัจจุบัน และเป็นวิธีการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เพราะตรวจแล้วยืนยันผลได้ไวที่สุด สามารถตรวจหาเชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการยังไม่มาก

2. ตรวจโดยชุดตรวจ Rapid Test ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญจากแถลงการ์วันนี้ หากจะแปลตรงตัวคือ ชุดการตรวจแบบเร็วนั้นเอง บางแห่งใช้เวลา 5 นาที หรือ 15 นาที โดยชุดตรวจ Rapid Test ที่เป็นข่าวตอนนี้ คือ “การตรวจหาภูมิคุ้มกัน หรือ การตรวจจาก Anti Body จากเม็ดเลือดขาว” เมื่อร่างกายได้รับเชื้อเข้าไป จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรค ซึ่งจะใช้เวลาหลังจากรับเชื้อประมาณ 5 – 7 วัน ฉะนั้น การตรวจแบบนี้จะได้ผลเป็นบวกหรือลบ ต้องตรวจหลังรับเชื้อ 5 -10 วันขึ้นไป กว่าจะรู้ผลยืนยันว่าติดเชื้อหรือไม่ต้องใช้เวลากว่า 10 วัน ที่สำคัญหากไปตรวจหลังเสี่ยงรับเชื้อวันที่ 1 หรือ 3 เมื่อได้ผลเป็นลบก็ยังยืนยันไม่ได้ว่าติดเชื้อหรือไม่

โดยสรุป การตรวจด้วยอุปกรณ์นี้ช่วงเวลาการตรวจจึงมีความสำคัญ ส่วนที่เร็วคือขั้นตอนการตรวจใช้เวลาแค่ 5 นาทีเสร็จ แต่ในแง่ของการวินิจฉัยโรคถือว่าช้า

จึงกล่าวได้ว่า “ Rapid Test เร็วตอนตรวจแต่วินิจฉัยโรค Covid-19 ได้ช้า ”

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก : แถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19

ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์

Next Post

เคอร์ฟิวสกัดโควิด-19 มีผลกระทบต่อพี่น้องสวนยางหรือไม่

Tue Apr 7 , 2020
เคอร์ฟิวสกัดโควิด-19 มีผลกระทบต่อพี่น้องสวนยางหรือไม่      จากสถิติของการยางแห่งประเทศไทยจะพบว่า ปริมาณยาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราปรับตัวลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดกรีด โดยปริมาณยางรวม 6,394.84 ตัน แบ่งเป็นยางแผ่นดิบ1,244.49 ตัน ยางแผ่นรมควัน 5,150.34 ตันลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 3,824.38 ตันคิดเป็นร้อยละ 37.42 ราคายางท้องถิ่นเฉลี่ยอยู่ที่ 39.13 บาท/กก. ปรับตัวลดลง0.59บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ1.49 ราคาน้ำยางสดอยู่ที่ 38.93 บาท/กก. ปรับตัวลดลง2.84 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 6.81 และราคายางก้อนถ้วย 100 เปอร์เซ็น อยู่ที่30.96บาท/กก. ปรับตัวลดลง 2.87 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 8.48 ราคายางโดยภาพรวมปรับตัวลดลง เหตุจากนักลงทุนเทขายสัญญาในตลาดล่วงหน้า หลังจากเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระจายตัวอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ของประเทศไทย อย่างไม่สามารถควบคุมได้       ณ ขณะนี้ผู้ว่าฯประกาศมาตรการเคอร์ฟิวหลายจังหวัดและบางพื้นที่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 […]
เคอร์ฟิวสกัดโควิด-19 มีผลกระทบต่อพี่น้องสวนยางหรือไม่