ศอ.บต. ขยายโครงการเลี้ยงปูทะเลตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย จะนะ-ยะหริ่ง
พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ลงพื้นที่หารือชาวบ้านปากบาง ที่บ้านคลองควาย ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา เพื่อส่งเสริมเลี้ยงปูทะเลในบ่อนากุ้งร้างและอุโมงค์ป่าโกงกาง เพื่อเป็นอีกหนึ่งอาชีพให้ชาวประมงและเกษตรกรในพื้นที่ ในโครงการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงปูทะเล ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ จชต. ก่อนหน้านี้ ศอ.บต. ได้ดำเนินการส่งเสริมเป็นต้นแบบแล้วที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี สามารถสร้างรายได้แก่พี่น้องกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อ.ยะหริ่ง 50,000-60,000 บาทต่อกลุ่ม
สำหรับพื้นที่บ้านคลองควาย ต.ปากบาง อ.เทพา เป็นพื้นที่ขยายโครงการดังกล่าวเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากชุมชนบ้านคลองควายมีต้นทุนที่สามารถส่งเสริมได้จริง โดยมีบ่อนากุ้งร้าง 12 บ่อ 34 ไร่ และมีป่าโกงกางล้อมรอบ พร้อมกับมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง มีความต้องการเลี้ยงปู และเปิดพื้นที่ชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแห่งใหม่ของ อ.เทพา จ.สงขลา
เลขาธิการ ศอ.บต. เผยว่า ปัญหาปากท้องเป็นปัญหาที่รอไม่ได้ วันนี้เราสามารถทำทุกตารางนิ้วของบ้านให้มีรายได้เลี้ยงชีพ โดย ศอ.บต. หวังส่งเสริมทุกอาชีพ เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีรายได้เข้ากระเป๋าหลายช่องทางทุกบ้านทุกวัน การส่งเสริมการเลี้ยงปูทะเลในพื้นที่นากุ้งร้าง พื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อเพาะเลี้ยงปูจำหน่ายนี้ หวังดำเนินการให้ครบวงจรให้มีความยั่งยืน โดย ศอ.บต. จะดูแลพี่น้องในช่วงแรกให้มีการเพาะเลี้ยง ดูแล และจำหน่ายครบทุกกระบวนการ เพียงแค่พี่น้องเยาวชนรุ่นใหม่และคนในชุมชนขับเคลื่อนกันต่อไปอย่างเป็นระบบตามที่วางไว้ ก็จะสามารถสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ตั้งเป้านำลูกปูมาเพาะเลี้ยงในภายในปลายเดือนสิงหาคมนี้
สำหรับโครงการส่งเสริมเลี้ยงปูทะเลของ ศอ.บต. ดำเนินการหารือและริเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2562 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีเป็นหน่วยงานในการหนุนเสริมอาชีพเลี้ยงปูทะเลจำหน่าย ซึ่ง ศอ.บต. ได้สนับสนุนการดำเนินการสร้างโรงฟักเลี้ยงลูกปู เพื่อหวังให้เป็นศูนย์จำหน่ายลูกปูที่มีคุณภาพและราคาถูกแก่ชาวบ้านในพื้นที่ ให้สามารถซื้อไปเพาะเลี้ยงจำหน่ายในราคาต้นทุนต่ำแต่ได้กำไรดี ให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
อ้างอิง :
Mon Jun 14 , 2021
ผู้ว่าฯ สงขลา ตรวจบ้านพักแรงงานต่างด้าวโรงงานถุงมือยางบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ หลังพนักงานติดโควิด-19 แล้ว 21 ราย วันที่ 14 มิ.ย. 46 นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายวรณัฎฐ์ หนูรอต นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และนายชวกิจจ์ สุวรรณคีรี นายอำเภอหาดใหญ่ ลงพื้นที่ตรวจสอบที่พักแรงงานต่างด้าวของบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หลังมีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 โดยข้อมูลวันที่ 12 มิ.ย.64 มีผู้ติดเชื้อใหม่ 6 ราย สะสม 21 ราย แยกเป็นคนไทย 3 รายและต่างด้าว 18 ราย และมีกักตัวจำนวน 188 ราย แบ่งเป็นโรงแรม /Factory Quarantine และกักตัวเองที่บ้าน ซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์/มารดาให้นมบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า หลังจากพบผู้ติดเชื้อได้สั่งการให้ควบคุมพื้นที่ทันที ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ประกอบการ ซึ่งภายในโรงงานดังกล่าวมีพนักงานประมาณ 4,500 คน ทั้งแรงงานไทยและต่างด้าวกัมพูชาและเมียนมา เมื่อพบการติดเชื้อได้มีการคัดแยกกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงต่ำทันทีโดยตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2564 ได้ปิดแผนกบรรจุ NBR2 และทำความสะอาดฆ่าเชื้อในพื้นที่ทั้งหมดทุกวัน วันนี้เพิ่งเริ่มเปิดสายการผลิตวันแรก และลดจำนวนพนักงานแผนก การติดเชื้อครั้งนี้ บริษัทฯ ยืนยันไม่กระทบต่อการผลิตถุงมือยาง สามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าและคู่ค้า ได้ตามปกติรวมถึงให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย ส่วนที่บ้านพักแห่งนี้เป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวพนักงานบริษัทฯ ที่มีจำนวนกว่า 1,300 คน จากการตรวจสอบได้มีการแบ่งพื้นที่อย่างชัดเจนระหว่างผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อและแยกกลุ่มผู้กักตัวเพื่อรอดูอาการพร้อมมีระบบดูแลป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ขณะนี้ที่พักแห่งนี้ได้ปรับให้เป็น Factory Quarantine เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ เบื้องต้นรองรับได้ 80-120 คน สำหรับมาตรการดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 บริษัทฯได้ส่งตัวไปรักษา ณ โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่ ในส่วนกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง และกลุ่มสัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งผ่านการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในครั้งแรกแล้วมีผลเป็นลบ (ไม่พบเชื้อ) จะต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน เพื่อรอดูอาการ โดยพนักงานที่พักอาศัยอยู่ในบ้านพักพนักงานของบริษัทได้รับการกักตัวที่ Factory Quarantine (FQ) ซึ่งอยู่กายในพื้นที่บ้านพักพนักงานของบริษัท โดยมีการแยกพื้นที่ออกมาอย่างชัดเจน ทั้งตัวห้องพัก และห้องน้ำ พร้อมการดูแลตลอดระยะเวลาการกักตัว 14วัน ส่วนพนักงานที่พักอาศัยอยู่ภายนอกบ้านพักของบริษัทได้รับการกักตัวที่โรงแรมมานอนตะ บัดเจ็ทโฮเทล เป็นสถานที่รองรับการกักกันตัว ระยะเวลาการกักตัว 14 วัน ขณะที่ตลาดนัดบริเวณรอบโรงงานและตลาดที่กลุ่มแรงงานต่างด้าวและประชาชนใกล้เคียงได้มาใช้บริการ ได้สั่งปิดแล้วเช่นกัน และมีการพ่นย้ำยาฆ่าเชื้อ อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine