PUI สร้างความเข้าใจสำหรับผู้ติดโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ

PUI สร้างความเข้าใจสำหรับผู้ติดโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ
PUI สร้างความเข้าใจสำหรับผู้ติดโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ

PUI สร้างความเข้าสำหรับผู้ที่เสี่ยงติดโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ

ตามข้อมูล จากนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขจะปรับเกณฑ์ปรับเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรคผู้ต้องสงสัยติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือ PUI เพื่อให้มีการตรวจประชาชนครอบคลุมตามสถานการณ์ปัจจุบัน จากเดิมจะต้องมีประวัติเดินทางในประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือมีประวัติในพื้นที่พบผู้ติดเชื้อ เพิ่มขยายเป็น 3 กรณีที่ต้องอยู่ในข่ายสอบสวนและตรวจหาเชื้อโควิด-19 ประกอบด้วย

กรณีที่ 1 เฝ้าระวังด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ซึ่งเพิ่มขยายให้ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกประเทศ ทุกช่องทางที่มีไข้ 37.3 องศา หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ

กรณีที่ 2 การเฝ้าระวังในสถานพยาบาล แบ่งเป็น 2 ประเภท

2.1 ผู้สงสัยติดเชื้อที่มีอาการ มีไข้ 37.5องศา หรือมีประวัติร่วมอาการระบบทางเดินหายใจ หายใจหอบเหนื่อย มีประวัติไปพื้นที่เกิดโรคโควิด-19 ประกอบอาชีพกี่ยวข้องท่องเที่ยว แออัด ไปสถานที่ชุมนุม สัมผัสผู้ป่วย
2.2 กลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ แม้จะยังหาสาเหตุติดเชื้อไม่ได้ รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นใน 48 ชม. มีอาการรุนแรง ภาพถ่ายรังสีพบเชื้อในปอด

กรณีที่ 3 การเฝ้าระวังในบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยบุคลากรทุกราย แพทย์ตรวจรักษาที่สงสัยว่าตนจะติดเชื้อโควิด-19 จะมีประวัติสัมผัสหรือแค่สงสัย เริ่มมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอฯ จะได้รับสิทธิ์การตรวจ

กรณีที่ 4 การเฝ้าระวังการป่วยเป็นกลุ่มที่มีผลตรวจ Rapid test หรือ PCR มีผลไข้หวัดใหญ่เชื้อเป็นลบ แบ่งเป็น กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ที่ตั้งแต่ 3 รายขึ้นไปในแผนกเดียวกัน และกลุ่มบุคคลในสถานที่เดียวกันตั้งแต่ 5 รายขึ้นไป มีความเชื่อมโยงระบาดวิทยา

นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ได้เพิ่ม ผู้ที่มีความสัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง หรือ High risk contact ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ไม่มีอาการแต่จะเจอในการสอบสวนโรค โดยกลุ่มนี้จะได้รับการตรวจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน โดยรัฐจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกอบด้วย

สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย, ผู้ท่องเที่ยวรวมกลุ่ม, ผู้โดยสารแถวเดียวกัน 2 แถวหน้า 2 แถวหลังผู้ป่วย, พนักงานบนเครื่องบิน โซนผู้ป่วย, เจ้าหน้าที่ด่านตรวจผู้ป่วย, แพทย์ พยาบาล คนมาเยี่ยม ที่ไม่สวม PPE, ผู้ป่วยที่อยู่ห้องเดียวกัน, เจ้าหน้าที่ห้องแล็บ โดยไม่สวมชุด PPE, ผู้ร่วมงาน ร่วมโรงเรียนที่พบปะผู้ป่วย

 

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก: กรมควบคุมโรค

ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์

Next Post

กรอกข้อมูลลงทะเบียนไม่ครบ ก็ไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

Tue Apr 14 , 2020
ย้ำกรอกข้อมูล ลงทะเบียนให้ครบถ้วน  จากที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงการคลัง ร่วมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการ ” เราไม่ทิ้งกัน ” โดยมีนโยบายของโครงการคือการแจกเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการ์ณของการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 เป็นการแจกเงินจำนวน 5,000 บาทให้แก่ผู้ที่ทำการลงทะเบียนใน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ทั้งนี้ก็ได้มีประชาชนทำการลงทะเบียนไปแล้ว 2.6 ล้านคน ซึ่งจะมีทั้งบุคคลที่ได้รับเงินแล้ว บุคคลที่รอการตรวจสอบสิทธิ์ของการจ่ายเงิน จึงทำให้ตอนนี้ต่างมีข้อวิจารณ์กันไปต่างๆ นาๆ ทางด้าน นายสมคิด จิรานันตรัตน์ หนึ่งในทีมทำเว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน” และที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้โพสต์เฟสบุ้ค Chao Jiranuntarat แจงถึงมาตรการเยียวยาเงิน 5,000 บาท ว่า รวบรวมข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง 1. ไม่ต้องใส่คำนำหน้านาม เช่น นาย นาง นส ในช่องชื่อใส่แต่ชื่อ 2. มีหลายกรณีที่ไม่ได้ใส่วันเกิดให้เหมือนบัตรประชาชน […]
โควิด-19